การใช้แนวปฏิบัติทางการบัญชีบริหารของกิจการนิติบุคคลในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อโนชา โรจนพานิช คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางการบัญชีบริหาร, ผลการดำเนินงาน, กิจการนิติบุคคล

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้แนวปฏิบัติทางการบัญชีบริหารของกิจการนิติบุคคลในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานของกิจการนิติบุคคลในกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาการใช้แนวปฏิบัติทางการบัญชีบริหารที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของกิจการนิติบุคคลในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารของกิจการนิติบุคคลในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์

          ผลการศึกษาพบว่า 1) กิจการนิติบุคคลในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ใช้แนวปฏิบัติทางการบัญชีบริหาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการดำเนินงานของกิจการนิติบุคคลในกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) การใช้แนวปฏิบัติทางการบัญชีบริหาร ด้านการวางแผน การควบคุม และการปฏิบัติงาน และด้านการตัดสินใจ ส่งผลต่อผลการดำเนินงานด้านตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินและด้านตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงินของกิจการนิติบุคคลในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

คมกฤช ภาวศุทธินนท์ และสุภาภรณ์ คงสวัสดิ์. (2554). การบัญชีบริหาร บทบาทสำคัญในฐานะเครื่องมือสำหรับผู้นำองค์กรยุคใหม่. วารสารนักบริหาร, 31(3), 125-129.

ฐิฏิกานต์ สุริยะสาร. (2559). ผลกระทบของการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(2), 127-140. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2564. จาก http://www.acc.msu.ac.th/newsEventAcc-biz/Event/Up_journal/ Journal36_id397.pdf

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 17). นนทบุรี: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง. แมสโปรดักส์.

ปานแก้วตา ลัคนาวานิช และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2547). วิธีปฏิบัติทางการบัญชีบริหารของธุรกิจโรงแรมในภาคใต้. วารสารสงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 10(3), 2.

วรดร ลิ้มสุวรรณนนท์. (2564). กลยุทธ์การใช้บัญชีบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(12), 231-243.

วราภรณ์ นาคใหม่ และสมยศ อวเกียรติ. (2558). การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจในเขตภาคกลาง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 7(1), 39-53. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2564. จาก http://rdi.rmutsv.ac.th/rmutsvrj/download/year7-issue1-2558/p_39.pdf.

วีระวรรณ ศิริพงษ์. (2560). การใช้บัญชีบริหารของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จังหวัดสงขลา. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 15(1), 59-72.

สุชาติ ธีระศรีสมบัติ, กิตติชัย ถาวรธรรมฤทธิ์, กิตติศักดิ์ สรแพทย์, อิทธิศักดิ์ รัตนกิจยนต์ และอาภรณ์ นุชาชาติพงศ์. (2562). ตัวชี้วัดทางการเงินที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจการเงิน. การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระดับชาติ ครั้งที่ 2 “มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม” (181-193). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

สุวิมล บัวทอง และศิริลักษณ์ บางโชคดี. (2558). การใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินและไม่ใช่ทางการเงินภายใต้ทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์. วารสารวิชาชีพบัญชี, 11(31), 63-79.

อัจฉรา คงสมมาตย์. (2557). การใช้ข้อมูลบัญชีบริหารเพื่อการจัดการธุรกิจของโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค). การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Bai, C., & Sarkis, J. (2013). A grey-based DEMATEL model for evaluating business process management critical success factors. International Journal of Production Economics, 146(1), 281-292.

Bartol, K. Martin, D., Tein, M., & Matthews, G. (1998). Management: A Pacific Rim Focus. (2nd ed.) Roseville NSW: McGraw-Hill.

Cascio, W. E. (1989). Managing Human Resources. New York: McGraw-Hill.

Cronbach, Lee. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers Inc.

Dean. J., & Bowen, D. (1994). Management Theory and Total Quality: Improving Research and Practice through Theory Development. Academy of Management Review, 19(3), 392-418.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1992). The balanced scorecard-measures that drive performance. Harvard Business Review, 71–79.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). Linking the balanced scorecard to strategy. California Management Review, 39 (1), 53–79.

Maziriri, E. T., & Mapuranga, M. (2017). The Impact of Management Accounting Practices (Maps) on the BusinessPerformance of Small and Medium Enterprises within the Gauteng Province of South Africa. Journal of Accounting and Management, 7(2), 11-25.

Mohrman, A.M., et al. (1989). Designing Performance Appraisal Systems. San Francisco: Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-28