Development of an Online Learning Activity Series Based on the Concept of MIAP MODEL, a Business Law Course by Microsoft Teams Program that Promotes Academic Achievement of 2nd Year Diploma of Vocational Education

Authors

  • Karintip Rujicheep Faculty of Education, Pibulsongkram Rajabhat University
  • Panumat Mohsin Faculty of Education, Pibulsongkram Rajabhat University

Keywords:

Online learning activity set, MIAP MODEL, Microsoft Team

Abstract

The objective of this research is to 1) Create and find the efficiency of a set of online learning activities according to the MIAP MODEL in the Business Law subject by the Microsoft Team program that promotes the academic achievement of 2nd year Higher Vocational Certificate students at Sukhothai Vocational College to be effective according to the 80/80 criteria. And 2) study the results of using the online learning activity set according to MIAP MODEL in the Business Law subject by the Microsoft Team program as follows: The sample group was 2nd year Higher Vocational Diploma students in the accounting major who were studying Business Law. Semester 1, academic year 2021, number of 30 students, which were purposively selected from students whose academic achievement was below the 80 percent threshold. It took 18 hours to organize learning, divided into 7 sets of activities. Data were analyzed using mean and deviation. Standard and One sample t-test

The results of the research found that 1) a set of online learning activities according to the MIAP MODEL course in business law by the Microsoft Team program, consisting of an introduction Explanation using the online learning process according to MIAP MODEL Table of contents Explanation for teachers Learning management manual using the learning process according to the MIAP MODEL, pre-study test, knowledge sheets, worksheets, post-study test, test answers. The activities and manual are appropriate at a high level ( = 4.49, S.D. = 0.56). and had an efficiency of 82.55/82.93 and 2) students had academic achievement after studying higher than the 80% threshold with statistical significance at the .05 level and had satisfaction with the images. Included at a high level ( = 4.27,S.D.=0.52)

References

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODELรายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา

ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย

Development of an Online Learning Activity Series Based on the Concept of MIAP MODEL, a Business Law Course by Microsoft Teams Program that Promotes Academic Achievement of 2nd Year Diploma of Vocational Education at Sukhothai Vocational College.

ขรินทร์ทิพย์ รุจิชีพ* และ ภานุมาศ หมอสินธ์**

Karintip Rujicheep* and Panumat Mohsin

*,** คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Faculty of Education, Pibulsongkram Rajabhat University

E-mail: karintip.r@psru.ac.th

¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬Received October 2, 2023 Revise July 8, 2024 Accepted August 30,2024

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)สร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2)ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี ที่เรียนวิชา กฎหมายธุรกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจงจากนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 18 ชั่วโมงโดยแบ่งเป็น 7 ชุดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One sample t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม ประกอบด้วยคำนำ คำชี้แจงโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL สารบัญ คำชี้แจงสำหรับครู คู่มือการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ตาม MIAP MODELแบบทดสอบก่อนเรียน ใบความรู้ ใบงาน แบบทดสอบหลังเรียน เฉลยแบบทดสอบ โดยกิจกรรมและคู่มือมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.49,S.D.=0.56) และมีประสิทธิภาพ 82.55/82.93 และ 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีผลความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.27,S.D.=0.52)

คำสำคัญ : ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์, MIAP MODEL, ไมโครซอฟต์ ทีม

Abstract

The objective of this research is to 1) Create and find the efficiency of a set of online learning activities according to the MIAP MODEL in the Business Law subject by the Microsoft Team program that promotes the academic achievement of 2nd year Higher Vocational Certificate students at Sukhothai Vocational College to be effective according to the 80/80 criteria. And 2) study the results of using the online learning activity set according to MIAP MODEL in the Business Law subject by the Microsoft Team program as follows: The sample group was 2nd year Higher Vocational Diploma students in the accounting major who were studying Business Law. Semester 1, academic year 2021, number of 30 students, which were purposively selected from students whose academic achievement was below the 80 percent threshold. It took 18 hours to organize learning, divided into 7 sets of activities. Data were analyzed using mean and deviation. Standard and One sample t-test

The results of the research found that 1) a set of online learning activities according to the MIAP MODEL course in business law by the Microsoft Team program, consisting of an introduction Explanation using the online learning process according to MIAP MODEL Table of contents Explanation for teachers Learning management manual using the learning process according to the MIAP MODEL, pre-study test, knowledge sheets, worksheets, post-study test, test answers. The activities and manual are appropriate at a high level ( = 4.49, S.D. = 0.56). and had an efficiency of 82.55/82.93 and 2) students had academic achievement after studying higher than the 80% threshold with statistical significance at the .05 level and had satisfaction with the images. Included at a high level ( = 4.27,S.D.=0.52)

Keyword: Online learning activity set, MIAP MODEL, Microsoft Team

บทนำ

จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การจัดการเรียนในรูปแบบออนไลน์ (Online Learning) จึงมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาในประเทศมากขึ้นและสามารถกระจายโอกาสทางการศึกษาสู่ท้องถิ่นได้อย่างทั่วถึงเพื่อตอบสนองการเรียนลักษณะทางไกล (Distance learning) ซึ่งวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัยได้มีการปรับจัดการเรียนการสอนในรูปแบบปกติซึ่งเคยเรียนในห้องเรียนมาเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ เพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนในช่วงภาวการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย จึงส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษานำ โปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม มาเป็นสื่อกลางในการทำงาน รวมถึงนำมาเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนอีกด้วย ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยนครพนม (ออนไลน์) ได้กล่าวถึงความสำคัญของโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม ไว้ว่า คือเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นสื่อกลางในการทำงานในด้านต่างๆ เช่น ติดต่อสื่อสาร การนัดหมาย การประชุม การประกาศและติดตามข่าวสาร การติดตามงานหรือโครงการต่างๆ เป็นต้น โดยเป็นเหมือนศูนย์กลางในการเข้าถึงบริการต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวระบบ office 365 เช่น จัดการการสนทนา ไฟล์ และเครื่องมือของผู้ใช้งานทั้งหมดในพื้นที่ทำงานของทีมทีเดียว รวมทั้งสามารถเข้าถึง SharePoint OneNote power BI และPlanner ได้ สร้างและแก้ไข้เอกสารได้โดยตรงจากในแอปพลิเคชัน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงอีเมล์ได้โดยง่าย รวมถึงการค้นหาบุคคล ไฟล์และสนทนาในรูปแบบ Chat หรือการสื่อสารด้านเสียงและวีดีโอ เช่น การ Calls , Video Callsได้เช่นกัน โดยโปรแกรมดังกล่าวมีความเหมาะสมกับองค์กรที่มีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่เนื่องจากสามารถเข้าใช้งานได้ถึง 5,000 คน เพื่อนำเสนอข้อมูลในทีมเดียวกันและยังเป็นการใช้นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 อีกด้วย (อมรรัตน์ เตชะนอก, และคณะ 2563)

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (สำนักข่าวไทยพีบีเอส, 2563) (กระทรวงศึกษาธิการ, 2563) ได้มีนโยบายให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ และจากการสังเกตการณ์สอนประกอบกับผู้วิจัยได้ทำการสอบถามครูผู้สอนที่เคยสอนในรายวิชากฎหมายธุรกิจ พบว่าปัญหาในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชากฎหมายธุรกิจมีดังนี้ 1) พบว่าที่ผ่านมานักศึกษาที่เรียนในรายวิชากฎหมาย ในภาวะโควิด-19 นั้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ และ 2) เมื่อมีการปรับรูปแบบการเรียนรู้จากรูปแบบปกติที่ต้องเรียนในห้องเรียนเป็นการเรียนในรูปแบบออนไลน์ ด้วยวิชากฎหมายธุรกิจนี้เป็นวิชาทฤษฎีและปฏิบัติที่ต้องใช้การคิดวิเคราะห์ที่เรียกว่าการวินิจฉัยหรือเรียกอีกชื่อว่า การเขียนปรับบทกฎหมายโดยจะต้องนำข้อเท็จจริงที่ผู้สอนตั้งเป็นโจทย์ตุ๊กตาไว้มาอธิบายประกอบตัวบทกฎหมายซึ่งไม่มีสื่อการสอนจึงมีความจำเป็นที่จ้องพัฒนาสื่อการสอนในรูปแบบชุดกิจกรรมขึ้นเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา จากสภาพปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้วิจัยต้องการจะพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ในรายวิชากฎหมายธุรกิจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทบทวนบทเรียนซึ่งนอกเหนือจากการเรียนในตารางเรียนและเป็นการส่งเสริมประสิทธิภาพของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนอีกด้วย

สำหรับแนวทางส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในรายวิชากฎหมาย แนวคิดที่ผู้วิจัยนำมาศึกษาร่วมกับการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์นั้นคือ MIAP MODELเนื่องจากผู้วิจัยพบว่ากระบวนการของ MIAP MODELในทุกขั้นตอนมุ่งเน้นการฝึกทักษะด้านสมรรถนะของผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นกระบวนการสอนที่ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอนซึ่งมีความเหมาะสมที่จะนำมาจัดเป็นรูปแบบการสอนในระดับอาชีวศึกษา (สุชาติ ศิริสุขไพบูล, 2554) บุคคลจะมีการเรียนรู้ต้องผ่านกระบวนการ4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นสนใจเรียน (Motivation) เป็นการนําเข้าสู่บทเรียนโดยผู้สอนต้องมีการเตรียมสื่อการสอนเพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้เกิดความอยากรู้ โดยผู้สอนสามารถนำสื่อวีดีทัศน์ รูปภาพ คำถามหรือข่าวที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่มีความเกี่ยวข้องกับกฎหมาย เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่ผู้สอนเตรียมการสอนไว้

ขั้นศึกษาข้อมูล (Information) เป็นขั้นการให้เนื้อหา กล่าวคือ ผู้เรียนได้รับรู้เนื้อหาของบทเรียน โดยทุกครั้งที่มีการเรียนการสอนในรายวิชากฎหมายธุรกิจ ผู้สอนต้องแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าในวันนั้น ผู้เรียนต้องเรียนอะไรบ้างโดยการแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเตรียมความรู้ที่จะนำมาใช้ในรายวิชากฎหมายธุรกิจ ในขั้นตอนนี้ผู้สอนจะต้องบรรยายในเนื้อหารายวิชา ให้แก่ผู้เรียน และสอนหลักการเขียนวินิจฉัยข้อเท็จจริงด้วย ประกอบกับนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ผู้สอนสร้างขึ้นมาใช้ในการประกอบการสอนได้ 3) ขั้นพยายามฝึกหัด (Application) เป็นขั้นที่ใช้ในการตรวจสอบผู้เรียนว่าได้รับความรู้เป็นไปตาม จุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่ โดยการให้แบบฝึกหัดหรือการฝึกปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกแก้ปัญหาจากข้อเท็จจริงในแบบทดสอบที่เรียกว่าแบบทดสอบตุ๊กตาในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนเพื่อนเป็นการวัดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียน และ 4) ขั้นสําเร็จผล (Progress) เป็นขั้นต่อเนื่องมาจากขั้นพยายาม กล่าวคือ เป็นการนำผลจากที่ผู้เรียนทำแบบทดสอบในชุดกิจกรรมการเรียนรู้นั้น มาตรวจสอบว่าผ่านตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ผู้สอนได้ตั้งไว้หรือไม่ หากเป็นไปตามจุดประสงค์ที่ผู้สอนตั้งไว้ ผู้สอนจะต้องให้ข้อมูลย้อนกลับไป แต่ถ้าไม่เป็นไปตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ผู้สอนจะทราบได้ทันทีเลยว่า ผู้เรียนไม่ผ่านตามจุดประสงค์นั้นๆ และขาดความรู้ในเรื่องใดผู้สอนก็จะสามารถทำการแก้ไขได้ทันที และสามารถสรุปผลทำความเข้าใจให้แก่ผู้เรียนได้อีกครั้ง สุชาติ ศิริสุขไพบูล. (2554) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ (ขจรพงษ์ พู่ภมรไกรภพ, 2562) กระบวนการสอนแบบ MIAP เป็นกระบวนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง การที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงนั้น ทำให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เพราะจะทำให้ผู้เรียนจำในสิ่งที่ตนได้ลงมือปฏิบัติไปถึง 75% และเนื่องจากการจัดการเรียนการสอนในสายอาชีพมุ่นเน้นไปที่สมรรถนะทักษะทางอาชีพ กระบวนการสอนแบบ MIAP จึงมีความเหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนในระดับอาชีวศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการเตรียมความพร้อม ผู้เรียนในการไปฝึกงานในสถานประกอบการ จะทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะต่าง ๆ ได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ที่ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานจริง และได้เรียนรู้ชีวิตในวัยทำงานอีกด้วย (กฤช สินธนะกุล, รัชพล กลัดชื่น, กรกฎาคม -ธันวาคม 2562:117) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบผสมผสานตามแผนการสอนฐานสมรรถนะด้วยกระบวนการ MIAP รายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อเว็บช่วยสอนระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์อยู่ในระดับมาก และงานวิจัยของ (เจริญ ขำวารี, 2563) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัติด้วยกระบวนการสอนรูปแบบ MIAP ร่วมกับ ชุดกิจกรรมสะเต็มศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ผลการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะปฏิบัติ วิชางานไฟฟ้ารถยนต์ เรื่อง ระบบสตาร์ตรถยนต์ ด้วยกระบวนการสอนรูปแบบ MIAP ร่วมกับชุดกิจกรรมสะเต็มศึกษา (STEM Education) เรื่องมอเตอร์อย่างง่าย สําหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.84/80.08 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กําหนด 80/80 ส่วนผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7169 หรือคิดเป็นร้อยละ71.69 หมายถึงผู้เรียนมีการพัฒนาด้านความรู้และทักษะปฏิบัติเท่ากับ 0.7169 หรือคิดเป็นร้อยละ71.69 ดังจะเห็นได้ว่าคะแนนทดสอบทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ผลการ และความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะปฏิบัติ วิชางานไฟฟ้ารถยนต์ เรื่อง ระบบสตาร์ตรถยนต์ ด้วยกระบวนการสอนรูปแบบ MIAP ร่วมกับชุดกิจกรรมสะเต็มศึกษา (STEM Education) เรื่อง มอเตอร์อย่างง่าย สําหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 ผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

ด้วยเหตุผลดังกล่าวการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODELรายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย โดยมีความมุ่งหวังที่จะส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโดยพัฒนานวัตกรรมในการเรียนรู้ออนไลน์ในรูปแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ตาม MIAP MODELเพื่อให้ผู้เรียนสามารถทบทวนความรู้ในรายวิชากฎหมายธุรกิจได้ตลอดเวลาและเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมถึงเพื่อให้ผู้เรียน เกิดความพึงพอใจต่อการเรียนในรายวิชากฎหมายธุรกิจที่สูงขึ้น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODELรายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม ดังนี้

1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODELรายวิชากฎหมายธุรกิจ โดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80

2 ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODELรายวิชากฎหมายธุรกิจ โดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

ปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย

สมมุติฐานของการวิจัย

นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี ที่ได้รับการสอนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80

วิธีดำเนินการวิจัย

ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจ โดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย

ชุดกิจกรรมการเรียนออนไลน์ ตาม MIAP MODELรายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย ใช้เวลา 18 ชั่วโมง ประกอบไปด้วยคู่มือการจัดการเรียนรู้ตาม MIAP MODEL 3 แผน

ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ 2563 ในรายวิชากฎหมายธุรกิจตามโครงสร้างสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐาน สมรรถนะที่ 2 หลักการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ วางแผนและแก้ไขปัญหา ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส.2

ศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้องค์ประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ของ ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2545 : 123)

คู่มือการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้จัดการเรียนการสอนตาม MIAP M0DEL ของ สุชาติ ศิริสุขไพบูลย์ (2527 ) มาประยุกต์ใช้ในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีองค์ประกอบตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ 2563 จากการที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์สมรรถนะรายวิชากฎหมายธุรกิจ 3 หน่วยการเรียนรู้นั้น ผู้วิจัยได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 แผนการจัดการเรียนรู้

กำหนดจุดประสงค์ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

กำหนดเนื้อหาของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยยึดตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 ซึ่งผู้สร้างได้นำเนื้อหาทั้ง 3 หน่วยการเรียนรู้ มาสร้างเป็นชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ทั้งหมด 7 ชุดกิจกรรม

คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจ โดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย

คู่มือการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จุดประสงค์ในการใช้ชุดกิจกรรม ค้ำชี้แจง รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล บทบาทของครู บทบาทของผู้เรียน

คู่มือการใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม (มหาวิทยาลัยนครพนม)

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODELรายวิชากฎหมายธุรกิจผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอความอนุเคราะห์ในการประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2

การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผ่านการประเมินคุณภาพ ไปทดลองใช้ (Try out)เพื่อหาประสิทธิภาพ E1/E2 กับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. 2 สาขาวิชาการบัญชี ภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โดยนำขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพของ ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2556 : 11-12)

ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจ โดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย ด้วยวิธีการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดำเนินการดังนี้

ศึกษาโครงสร้าง สมรรถนะ เนื้อหา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี หมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐาน วิชากฎหมายธุรกิจ

ศึกษาทฤษฎี หลักการ และวิธีการสร้างเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์

ออกแบบแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนเป็นรูปแบบข้อสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 90 ข้อ ใช้จริง 60 ข้อ

เสนอแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กฎหมายธุรกิจ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ให้แก่อาจารย์ที่ปรึกษาแล้วนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไข

นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กฎหมายธุรกิจ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และได้ปรับปรุงแก้ไขแล้ว เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ

นําผลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบรายข้อ ประกอบด้วยความยากง่าย (P) และหาค่าอำนาจจำแนก(R)ของแบบทดสอบ (บุญชม ศรีสะอาด, 2545และล้วน สายยศ,2543)

จากนั้นจึงนำผลการทดสอบที่ได้ มาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ, 2543 : 215)

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ติดต่อบัณฑิตวิทยาลัย เพื่อออกหนังสือขอความร่วมมือในการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจ โดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย ถึงผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล

ชี้แจงรายละเอียดและวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการจัดวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัยเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าใจถึงกระบวนการและขั้นตอนการเรียนการสอน

ทดสอบก่อนเรียนออนไลน์ โดยให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์ รายวิชากฎหมายธุรกิจ โดยนักศึกษากลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย ใช้เวลาการสอบ 15 นาที

ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจ โดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้แผนการเรียนรู้ทั้งหมด 3 แผน ใช้เวลาเรียนจำนวน 18 ชั่วโมง

ทดสอบหลังเรียนออนไลน์ โดยให้นักเรียนทำแบบ โดยทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์ รายวิชากฎหมายธุรกิจ จำนวน 20 ข้อใช้เวลา 60 นาที จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ซึ่งแบบวัดผลเป็นข้อสอบชุดเดียวกับที่ใช้สอบก่อนเรียนแต่สลับข้อกัน

ผลการวิจัย

ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ตาม MAIP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2

ได้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย จำนวน 7 ชุดกิจกรรม ประกอบไปด้วย

ชุดกิจกรรมที่ 1 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายลักษณะบุคคล

ชุดกิจกรรมที่ 2 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายนิติบุคคล

ชุดกิจกรรมที่ 3 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายนิติกรรม

ชุดกิจกรรมที่ 4 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายสัญญา

ชุดกิจกรรมที่ 5 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายซื้อขาย

ชุดกิจกรรมที่ 6 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง กฎหมายแลกเปลี่ยน

ชุดกิจกรรมที่ 7 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง กฎหมายให้

ซึ่งมีผลการประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมาก

(x ̅ = 4.49, S.D.= 0.56)

ผลการหารประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 82.55/82.93

ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจ โดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย ด้วยวิธีการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้

ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็มโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบหนึ่งกลุ่มเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (One sample t-test)

ตาราง 1 ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ

การทดสอบหลังเรียน N

คะแนนเต็ม คะแนนเกณฑ์ x̅ S.D. df t p

ชุดกิจกรรมที่ 1 30 20 16 16.38 1.12 139 4.016* .000

ชุดกิจกรรมที่ 2 30 20 16 16.46 1.05 139 5.160* .000

ชุดกิจกรรมที่ 3 30 20 16 16.30 1.02 139 3.573* .000

ชุดกิจกรรมที่ 4 30 20 16 16.53 1.01 139 6.169* .000

ชุดกิจกรรมที่ 5 30 20 16 16.60 1.00 139 1.084* .000

ชุดกิจกรรมที่ 6 30 20 16 16.36 0.99 139 4.351* .000

ชุดกิจกรรมที่ 7 30 20 16 16.40 0.98 139 4.792* .000

*มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

จากตารางที่ 7 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนในทุกชุดกิจกรรมสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 80 (คะแนนเกณฑ์ชุดละ 20 คะแนน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจ โดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย

ตาราง 2 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2

ข้อที่ รายการประเมิน ระดับความพึงพอใจ

(N=140)

x ̅ S.D. แปลผล

มีการชี้แจงการชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯให้เข้าใจง่าย 4.38 0.49 มาก

มีการแบ่งกลุ่มศึกษาโดยคละความสามารถ และเพศชายเพศหญิงอย่างเหมาะสม 4.26 0.49 มาก

มีการให้คำปรึกษา เสริมแรงนักศึกษาตามMIAP MODEL 4.34 0.58 มาก

เนื้อหาในชุดกิจกรรมเหมาะสมกับความสามารถของนักศึกษา 4.35 0.50 มาก

สื่อ เร้าความสนใจของนักศึกษา 4.18 0.50 มาก

การจัดเนื้อหาเหมาะสมกับเวลาเรียน 4.30 0.51 มาก

เนื้อหาเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก 4.35 0.52 มาก

นักศึกษาได้ใช้สื่อการสอนในการเรียนรู้ต่าง ๆ ร่วมกัน 4.26 0.60 มาก

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตามMIAP MODELส่งเสริมผลการเรียนรู้ของนักศึกษา 4.30 0.53 มาก

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตามMIAP MODELทำให้นักศึกษาเข้าใจในสิ่งที่เรียนมากขึ้น 4.24 0.48 มาก

นักศึกษาได้ปฏิบัติกิจกรรมเป็นลำดับขั้นตอนตามMIAP MODEL ไม่สับสน 4.12 0.51 มาก

มีวิธีการประเมินผลการเรียนของนักศึกษาเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม 4.17 0.53 มาก

มีเครื่องมือประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ 4.21 0.59 มาก

มีการประเมินพฤติกรรมการทำงานร่วมกันของนักศึกษา 4.20 0.57 มาก

นักศึกษาสะท้อนการเรียนรู้ให้นักศึกษารู้ตนเองเสมอ 4.36 0.48 มาก

รวม 4.27 0.52 มาก

จากตารางที่ 2 พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์ ตาม MIAP MODELรายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅=4.27,S.D.=0.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจด้านมีการชี้แจงการชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯให้เข้าใจง่าย (x ̅=4.38,S.D.=0.49) รองลงมาเป็น นักศึกษาสะท้อนการเรียนรู้ให้นักศึกษารู้ตนเองเสมอ (x ̅=4.36,S.D.=0.48) และเนื้อหาในชุดกิจกรรมเหมาะสมกับความสามารถของนักศึกษา (x ̅=4.35,S.D.=0.50) ตามลำดับ

สรุปข้อค้นพบการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัยสรุปผลได้ ดังนี้

ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้

ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกอบด้วย 1) คำนำ 2) คำชี้แจงชุดกิจกรรม 3) สารบัญ 4) คำชี้แจงสำหรับครู 5) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP 6) แบบทดสอบก่อนเรียน ใบความรู้ ใบงาน 1.4) แบบทดสอบหลังเรียน 1.5) เครื่องมือวัดและประเมินผลและคู่มือการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจซึ่งมีชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ 7 ชุดกิจกรรม ประกอบด้วย

ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีประสิทธิภาพอยู่ที่

ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนานักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรม อยู่ในระดับมาก ( = 4.27, S.D.=0.52)

อภิปรายผล

จากผลการวิจัยและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ตาม MIAP MODELรายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย อภิปรายผลได้ ดังนี้

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย ประกอบด้วย คำนำ คำชี้แจงชุดกิจกรรม สารบัญ คำชี้แจงสำหรับครู แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบตาม MIAP MODEL แบบทดสอบก่อนเรียน ใบความรู้ ใบงาน แบบทดสอบหลังเรียน เครื่องมือวัดและประเมินผลและคู่มือการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจประกอบด้วย องค์ประกอบของคู่มือ แนวทางการใช้คู่มือ บทบาทผู้สอนและผู้เรียน โครงสร้างการจัดกิจกรรม แผนการจัดกิจกรรม และเครื่องมือวัดและประเมินผลโดยชุดกิจกรรมการเรียนและคู่มือมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างกิจกรรมและคู่มือการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ขึ้นมาผ่านกระบวนการและขั้นตอนในการจัดทำอย่างเป็นระบบ โดยได้มีการศึกษาปัญหาของผู้เรียนและวิเคราะห์หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง พุทธศักราช 2563 วิเคราะห์โครงสร้างหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบัญชี และวิเคราะห์โครงสร้างรายวิชากฎหมายธุรกิจ ศึกษาหลักการและรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม อีกทั้งศึกษาแนวคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการนำกระบวนการสอนในรูปแบบ ตาม MIAP MODEL มาใช้ในการพัฒนาชุดกิจกรรมจัดการเรียนรู้ออนไลน์ โดยผ่านการพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบต่างๆของชุดกิจกรรมและคู่มือจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขจนสมบูรณ์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของ ระพินทร์ โพธิ์ศรี (2545) ได้กล่าวถึงลักษณะของชุดกิจกรรมสำคัญไว้ ดังนี้ 1. มีจุดประสงค์ปลายทางที่ชัดเจน ที่ระบุทั้งเนื้อหา ความรู้ และระดับทักษะ การเรียนรู้ที่ชัดเจนนั่นคือ จะต้องมีจุดประสงค์ประจำชุดกิจกรรมที่ระบุไว้ชัดเจนว่าเมื่อผ่านการเรียนรู้จบชุดกิจกรรมนั้นแล้วนักเรียนต้องทำอะไรเป็นระดับใด 2. ระบุกลุ่มเป้าหมายชัดเจนว่า ชุดกิจกรรมดังกล่าว สร้างขึ้นสำหรับใคร 3. มีองค์ประกอบของจุดประสงค์ที่เป็นระบบเป็นเหตุและผล เชื่อมโยงกันระหว่างจุดประสงค์ประจำหน่วยและจุดประสงค์ย่อย 4. ต้องมีคำชี้แจง เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์แต่ละระดับ 5. กรณีทำเป็นชุดการสอน ต้องมีคู่มือครูที่อธิบายวิธีการ เงื่อนไขการใช้ชุด และการเฉลยข้อคำถามทั้งหมดในกิจกรรม ประเมินผลและสอดคล้องกับแนวคิดของ ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2545) กล่าวว่า ได้ลำดับขั้นตอนในการพัฒนาชุดการสอนที่สำคัญ 10 ขั้นตอน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมซึ่งเป็น แนวทางการเลือกและการผลิตสื่อการเรียนการสอน และเพื่อวัดพฤติกรรมการเรียนรู้หลังเรียนที่เปลี่ยนไปของผู้เรียนและยังกล่าวถึงเรื่องการทดสอบประสิทธิภาพของการจัดชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้มีการนำสื่อไปทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้น (Try out) และทดสอบประสิทธิภาพสอนจริง (Trial Run) เพื่อหาคุณภาพของสื่อ สำหรับงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมาหาประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 พบว่าคะแนนระหว่างเรียน (E1) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 82.55 และผลคะแนนหลังเรียน (E2) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 82.93 ดังนั้นการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัยมีประสิทธิภาพ 82.55/82.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เนื่องจากชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นผ่านขั้นตอนอย่างเป็นระบบจึงทำให้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัยได้

ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนานักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 (คะแนนเกณฑ์ 48 คะแนน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ทั้งนี้เนื่องมาจากการจัดคู่มือการเรียนรู้ตามแนวคิด MIAP สุชาติ ศิริสุขไพบูล ได้ออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนด้วยกระบวนการเรียนรู้ตาม MIAP MODEL โดยมีกระบวนการเรียนรู้ตาม MIAP MODEL แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน โดยได้ประยุกต์การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ตาม MIAP MODEL บนเทคโนโลยีประมวลผลแบบคลาวด์ร่วมกับการใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม ได้ดังนี้ 1) ขั้นสนใจปัญหา (Motivation) ผู้สอนใช้เวลา 45 นาที ใช้โปรแกรม Microsof Team สอนออนไลน์ ผู้สอนเกริ่นถามนำนักศึกษาเพื่อเชื่อมโยงบริบทภายนอกที่ผู้เรียนรู้จักเข้ากับเนื้อหาที่จะเริ่มเรียน พร้อมกับชี้แจงถึงจุดประสงค์ในการเรียนที่ผู้เรียนต้องได้รับเมื่อเรียนเนื้อหานั้นจบลง 2) ขั้นศึกษาข้อมูล (Information) ผู้สอนให้เนื้อหาในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัยที่จะทําการสอนแก่ผู้เรียน โดยใช้เวลา 120 นาที แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา ช่วงเวลาละ 60 นาที ผู้สอนบรรยายเนื้อหาและมีการยกตัวอย่างรวมถึงมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อค้นคว้าคำพิพากษาฎีกาออนไลน์ และผู้เรียนต้องทําหน้าที่ศึกษาตามเนื้อหาที่ผู้สอน จัดเตรียมไว้ พร้อมทั้งค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 3) ขั้นพยายาม (Application) ผู้สอนให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติหรือฝึกหัดแก้ปัญหาด้วยโจทย์ที่ผู้สอนให้ไว้กิจกรรมในขั้นศึกษาข้อมูล (Information) โดยใช้เวลา 120 นาที แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา ช่วงเวลาละ 60 นาที ที่ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้ในคู่มือการจัดการเรียนรู้ตาม MIAP MODEL บนเทคโนโลยีการประมวลผลแบบคลาวด์ เพื่อเป็นการทบทวนด้วยวิธ๊การสร้างแผนภาพโครงเรื่องหรือฝึกหัดการใช้เนื้อหาความรู้ที่ได้รับมาให้เป็นประโยชน์ 4) ขั้นสำเร็จผล (Progress) ผู้สอนใช้โปรแกรม Microsoft teams โดยแบ่งเวลา 120 นาทีเพื่อให้นักเรียนสรุปเนื้อหาที่เรียนผ่านโปรแกรม Microsoft teams จากนั้นให้ทำแบบทดสอบหลังเรียนออนไลน์ในลิงค์ไมโครซอฟต์ ฟอร์ม และส่งคะแนนของแต่ละคนมาที่ไมโครซอฟต์ เอกซ์เซลเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประมวลผลความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน และทําการเฉลยโดยอัตโนมัติ ซึ่งยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิริพล แสนบุญส่ง (2560) ที่ได้นํากระบวนการสอนตาม MIAP MODEL มาจัดกิจกรรมการสอน ผลการวิจัยโดยรวม พบว่าการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการตาม MIAP MODEL นั้น มีค่าเฉลี่ยอยู่ 4.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรที่ 0.55 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพ คือ มากที่สุด

สรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการตาม MIAP MODEL นั้นเป็นกระบวนการสอนที่เน้น ประสิทธิผลของผู้เรียนในการเรียนที่ผู้สอนได้ตั้งกรอบตามแผนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับทักษะของนักเรียนโดยผ่านการสอนที่ผสมผสานกับเทคโนโลยี และยังเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไรวัส (โควิด-19) ได้อีกทางหนึ่งด้วยนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรม อยู่ในระดับมาก พบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักเรียนความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการเรียนรู้ออนไลน์ตาม MIAP MODELรายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม และให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หลังสิ้นสุดการจัดกิจกรรมดังกล่าว พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODELรายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในขณะที่ครูกำลังสอนได้แม้จะไม่ได้อยู่ภายในห้องเรียนและยังสามารถทบทวนความรู้เดิมที่เรียนผ่านไปแล้วโดยผ่านชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ รวมถึงตัวผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างมีระบบโดยผ่านวิธีการจัดการเรียนรู้ตาม MIAP MODELและที่สำคัญตัวผู้เรียนยังสามารถค้นคว่าหาข้อมูลได้อย่างอิสระอีกด้วย ประกอบกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนั้นได้นำกิจกรรมที่หลากหลายมาประกอบการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ อัครวุฒิ จินดานุรักษ์ (2553) ได้ทำการวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ด้วยกระบวนการ MIAP ที่ได้จากการประยุกต์ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ กระบวนการเรียนรู้ แบบMIAP และการบ่มเพาะด้วยCAI ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ด้วยกระบวนการMIAP ที่ พัฒนาขึ้นมี5 ขั้นตอนได้แก่ (1) ขั้นศึกษาวิเคราะห์ และออกแบบ (2)ขั้นเตรียมการสอน (3) ขั้นปฏิบัติการ สอน (4) ขั้นบ่มเพาะและ (5) ขั้นประเมินผลจากการวิจัยพบว่าผู้สอนคณิตศาสตร์ เห็นด้วยกับรูปแบบการ สอนคณิตศาสตร์ ด้วยกระบวนการMIAP อยู่ในระดับมากที่สุด จากการทดลอง ขยายผลการใช้รูปแบบพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ด้วยกระบวนการMIAP สูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนในระดับมาก

ข้อเสนอแนะ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 นำไปใช้และข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้

จากผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 พบว่า มีประสิทธิภาพ 82.55/82.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ดังนั้นครูผู้สอนควรนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์กับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงได้

จากผลการวิจัยพบว่าผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ตาม MIAP MODEL รายวิชากฎหมายธุรกิจโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์ ทีม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 พบว่าความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก ดังนั้นครูผู้สอนควรนำชุดกิจกรรมดังกล่าวไปใช้กับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงได้

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

จากการวิจัยของผู้วิจัยนั้นสามารถเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้กรณีที่อาจเกิดการแพร่ระบาดของโรค เช่น โควิด-19 ที่ไม่สามารถจัดการเรียนรู้ได้ในโรงเรียนตามปกติ หรือนำไปพัฒนาในการจัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาคีเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

จากการวิจัยของผู้วิจัยนั้นสามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาการชุดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ในรายวิชาอื่นๆ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ขึ้นไปได้ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แนวคิดหรือเทคนิคการสอนรูปแบบต่างๆหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้

บรรณานุกรม

ขจรพงษ์ พู่ภมรไกรภพ และคณะ. (2563). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการสอนแบบ MIAP ร่วมกับบทเรียนผ่านเครือข่าย เรื่อง การออกแบบเงื่อนไข ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 110-117.

เจริญ ขำวารี. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัติด้วยกระบวนการสอนรูปแบบ MIAP ร่วมกับชุดกิจกรรมสะเต็มศึกษา. วารสารวิชาการเทพสตรี I-TECH, 60.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการศึกษา หน่วยที่ 1-5. กรุเทพมหานคร: สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบสื่อหรือประสิทธิภาพชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาสาสตร์วิจัย. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2556), 7-20.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุรีวิริยาสาส์น.

ล้วน สายยศ, และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.

อมรรัตน์ เตชะนอก,และคณะ. (2563). การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 7 (9).หน้า1-15

อัครวุฒิ จินดานุรักษ์. (2553). การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ด้วยกระบวนการ MIAP . กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Downloads

Published

2024-08-30

Issue

Section

Research Articles