จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสาร (Publication Ethics)

          วารสารวาระการเมืองและสังคม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นแหล่งความรู้เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการในสาขาการเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นโยบายสาธารณะ การปกครองท้องถิ่น รัฐประศาสนศาสตร์ การสื่อสารทางการเมือง การเมืองเรื่องชาติพันธุ์ มานุษยวิทยาการเมือง สังคมวิทยาการเมือง ความขัดแย้ง สันติศึกษา และประเด็นทางสังคมศาสตร์ ยึดมั่นในหลักจริยธรรมการตีพิมพ์ โดยใช้หลักจริยธรรมตามแนวทางของ  Committee on Publication Ethics (COPE) โดยมีเนื้อหาสาระต่อไปนี้

บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียน

           1. ผู้เขียนต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งเข้ามาต้องเป็นบทความต้นฉบับที่ไม่เคยเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น ๆ ทั้งนี้ หากเป็นผลงานที่มีเนื้อหาคล้ายกับผลงานอื่นของผู้เขียน ผู้เขียนต้องให้เหตุผลว่าเหตุใดจึงต้องการเผยแพร่ผลงานดังกล่าวเพิ่มเติม

           2. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏต้องเป็นผู้มีส่วนในการศึกษาค้นคว้าและเขียนบทความต้นฉบับจริง

           3. ผู้เขียนต้องไม่ทำการคัดลอกข้อความส่วนหนึ่งส่วนใดจากผลงานของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง หรือผิดมาตรฐานการอ้างอิงในทางวิชาการ หากมีการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในผลงานของผู้เขียนต้องปรากฏอยู่ในบทความ และเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ตามรูปแบบที่วารสารกำหนด

           4. ผู้เขียนต้องระบุที่มาของแหล่งทุนสนับสนุนให้ชัดเจน หากได้รับเงินทุนสนับสนุนในการศึกษาค้นคว้าและตีพิมพ์บทความต้นฉบับในกิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)

           5. ผู้เขียนต้องระบุว่าบทความต้นฉบับเป็นส่วนหนึ่งของงานวิทยานิพนธ์/โครงการวิจัยของผู้เขียน ถ้าหากต้นฉบับเป็นส่วนหนึ่งของงาน/โครงการชิ้นนั้น

           6. ผู้เขียนต้องส่งต้นฉบับที่ถูกต้องครบถ้วนตาม “คำแนะนำผู้เขียน”

           7. ผู้เขียนยินยอมให้บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวาระการเมืองและสังคม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ

บทบาทและหน้าที่ของกองบรรณาธิการ

           1. บรรณาธิการต้องทำหน้าที่พิจารณาบทความต้นฉบับทุกบทความที่ได้รับร่วมกับกองบรรณาธิการเป็นการเบื้องต้น โดยคำนึงถึงความครบถ้วนสมบูรณ์ของต้นฉบับตาม “คำแนะนำผู้เขียน” และไม่พิจารณาจากอคติส่วนตน

           2. บรรณาธิการต้องควบคุมคุณภาพของบทความโดยจัดหาผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญไม่น้อยกว่าสามท่านพิจารณาต้นฉบับ และคำนึงถึงความสำคัญและความถูกต้องในด้านโครงสร้างของบทความ ความทันสมัยของเนื้อหา กรอบทฤษฎี ประโยชน์ต่อวงการวิชาการและการเรียนการสอน องค์ความรู้ใหม่ และการอ้างอิง

           3. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความต้นฉบับ ทั้งนี้ หากมีบทความที่เขียนโดยบุคลากรเดียวกันกับบรรณาธิการ บทความต้นฉบับต้องได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกไม่น้อยกว่าสามคน

           4. บรรณาธิการต้องรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้เขียน และทำการปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เขียนก่อนการส่งต่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา

           5. บรรณาธิการต้องทำหน้าที่ในการตรวจสอบความซ้ำซ้อนและการคัดลอกข้อความในบทความต้นฉบับ

           6. บรรณาธิการมีหน้าที่ในการตอบรับหรือปฏิเสธบทความต้นฉบับ ทั้งนี้ ผลการพิจารณาของบรรณาธิการถือว่าเป็นที่สิ้นสุด