Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in Microsoft Word file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text in English is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

แนวทางการจัดเตรียมต้นฉบับบทความ

1. ผู้เขียนควรระบุให้ชัดเจนว่าต้นฉบับที่ส่งเข้ามาในระบบนั้นอยู่ในประเภทใดต่อไปนี้

         1.1 บทความวิจัย

         1.2 บทความวิชาการ

         1.3 บทความปริทัศน์

         1.4 บทวิจารณ์หนังสือ

2. บทความวิจัยและบทความวิชาการควรมีความยาวประมาณ 15 – 20 หน้า กระดาษ A4 ไม่รวมรูปภาพและตาราง และสำหรับบทความปริทัศน์และบทวิจารณ์หนังสือ ควรมีความยาวประมาณ 5 – 10 หน้า กระดาษ A4

3. บทความภาษาไทย ใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 บทความภาษาอังกฤษ (English) ใช้ตัวอักษร Times New Roman ขนาด 12 การตั้งค่าระยะขอบของกระดาษ ขอบบน 1.25 นิ้ว (3.17 ซม.) ขอบล่าง 1 นิ้ว (2.54 ซม.) ขอบซ้าย 1.25 นิ้ว (3.17 ซม.) ขอบขวา 1 นิ้ว (2.54 ซม.) และระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 (Single space)

4. บทความต้องประกอบด้วยชื่อเรื่อง/Title ชื่อผู้เขียน/Author (s) บทคัดย่อ/Abstract คำสำคัญ/Keywords บทนำ บทเนื้อหา บทสรุป และบรรณานุกรม แนวทางการจัดเตรียมต้นฉบับบทความ

          4.1 ชื่อเรื่อง/Title วางตรงกึ่งกลางของหน้ากระดาษด้วยตัวหนา ขนาด 18

          4.2 ชื่อผู้เขียน/Author (s) วางชิดขวาของหน้ากระดาษด้วยตัวธรรมดา ขนาด 16

          4.3 บทคัดย่อ/Abstract วางตรงกึ่งกลางของหน้ากระดาษด้วยตัวหนา ขนาด 16

          4.4 บทนำ บทเนื้อหา และบทสรุป วางชิดซ้ายของหน้ากระดาษด้วยตัว หนาขนาด 16

          4.5 บรรณานุกรม/References วางตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษด้วยตัวหนา ขนาด 16

5. ชื่อผู้เขียนต้องระบุชื่อผู้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ต้องระบุตำแหน่งทางวิชาการ คำนำหน้า

6. ชื่อเรื่อง บทคัดย่อ และคำสำคัญต้องเขียนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยคำสำคัญประกอบด้วย 3–5 คำ

7. บทคัดย่อต้องอยู่ในย่อหน้าเดียวและมีความยาวไม่เกิน 250 คำ

8. ต้นฉบับต้องใช้ระบบการอ้างอิงแบบ APA ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 ซึ่งประกอบด้วยการอ้างอิงในบทความและการอ้างอิงท้ายบท ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสาร (Publication Ethics)

          วารสารวาระการเมืองและสังคม คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นแหล่งความรู้เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการในสาขาการเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นโยบายสาธารณะ การปกครองท้องถิ่น รัฐประศาสนศาสตร์ การสื่อสารทางการเมือง การเมืองเรื่องชาติพันธุ์ มานุษยวิทยาการเมือง สังคมวิทยาการเมือง ความขัดแย้ง สันติศึกษา และประเด็นทางสังคมศาสตร์ ยึดมั่นในหลักจริยธรรมการตีพิมพ์ โดยใช้หลักจริยธรรมตามแนวทางของ  Committee on Publication Ethics (COPE) โดยมีเนื้อหาสาระต่อไปนี้

บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียน

  1. ผู้เขียนต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งเข้ามาต้องเป็นบทความต้นฉบับที่ไม่เคยเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น ๆ ทั้งนี้ หากเป็นผลงานที่มีเนื้อหาคล้ายกับผลงานอื่นของผู้เขียน ผู้เขียนต้องให้เหตุผลว่าเหตุใดจึงต้องการเผยแพร่ผลงานดังกล่าวเพิ่มเติม
  2. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏต้องเป็นผู้มีส่วนในการศึกษาค้นคว้าและเขียนบทความต้นฉบับจริง
  3. ผู้เขียนต้องไม่ทำการคัดลอกข้อความส่วนหนึ่งส่วนใดจากผลงานของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง หรือผิดมาตรฐานการอ้างอิงในทางวิชาการ หากมีการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในผลงานของผู้เขียนต้องปรากฏอยู่ในบทความ และเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
  4. ผู้เขียนต้องระบุที่มาของแหล่งทุนสนับสนุนให้ชัดเจน หากได้รับเงินทุนสนับสนุนในการศึกษาค้นคว้าและตีพิมพ์บทความต้นฉบับในกิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
  5. ผู้เขียนต้องระบุว่าบทความต้นฉบับเป็นส่วนหนึ่งของงานวิทยานิพนธ์/โครงการวิจัยของผู้เขียน ถ้าหากต้นฉบับเป็นส่วนหนึ่งของงาน/โครงการชิ้นนั้น
  6. ผู้เขียนต้องส่งต้นฉบับที่ถูกต้องครบถ้วนตาม “คำแนะนำผู้เขียน”
  7. ผู้เขียนยินยอมให้บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวาระการเมืองและสังคม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ

บทบาทและหน้าที่ของกองบรรณาธิการ

  1. บรรณาธิการต้องทำหน้าที่พิจารณาบทความต้นฉบับทุกบทความที่ได้รับร่วมกับกองบรรณาธิการเป็นการเบื้องต้น โดยคำนึงถึงความครบถ้วนสมบูรณ์ของต้นฉบับตาม “คำแนะนำผู้เขียน” และไม่พิจารณาจากอคติส่วนตน
  2. บรรณาธิการต้องควบคุมคุณภาพของบทความโดยจัดหาผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญไม่น้อยกว่าสามท่านพิจารณาต้นฉบับ และคำนึงถึงความสำคัญและความถูกต้องในด้านโครงสร้างของบทความ ความทันสมัยของเนื้อหา กรอบทฤษฎี ประโยชน์ต่อวงการวิชาการและการเรียนการสอน องค์ความรู้ใหม่ และการอ้างอิง
  3. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความต้นฉบับ ทั้งนี้ หากมีบทความที่เขียนโดยบุคลากรเดียวกันกับบรรณาธิการ บทความต้นฉบับต้องได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกไม่น้อยกว่าสามคน
  4. บรรณาธิการต้องรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้เขียน และทำการปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เขียนก่อนการส่งต่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา
  5. บรรณาธิการต้องทำหน้าที่ในการตรวจสอบความซ้ำซ้อนและการคัดลอกข้อความในบทความต้นฉบับ
  6. บรรณาธิการมีหน้าที่ในการตอบรับหรือปฏิเสธบทความต้นฉบับ ทั้งนี้ ผลการพิจารณาของบรรณาธิการถือว่าเป็นที่สิ้นสุด