ริชวะฮ์กับการเลือกตั้ง จากหลักการอิสลามสู่ปรากฏการณ์ในสังคมมลายูมุสลิมชายแดนใต้

Main Article Content

อิมรอน ซาเหาะ
ยาสมิน ซัตตาร์
อับดุลเอาว์วัล สิดิ

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องพลวัตความเคลื่อนไหวของนักการเมืองมลายูมุสลิมท่ามกลางความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยงานชิ้นนี้ต้องการอภิปรายประเด็นริชวะฮ์หรือการให้สินน้ำใจหรือสินบนหรือการซื้อสิทธิขายเสียงกับการเลือกตั้งในพื้นที่ชายแดนใต้/ปาตานี งานชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลผ่านการศึกษาเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องตลอดจนการสัมภาษณ์เชิงลึกนักการเมืองในพื้นที่ชายแดนใต้ หัวคะแนนหรือผู้ช่วยหาเสียงของนักการเมือง ตลอดจนนักวิชาการและผู้นำศาสนา ผลการศึกษาพบว่าในพื้นที่ชายแดนใต้การให้สินบนหรือการซื้อเสียงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการกำหนดผลแพ้ชนะของการเลือกตั้งในแต่ละเขต หลักการศาสนาจึงถูกนำมาอธิบายถึงความชอบธรรมในการให้สินน้ำใจ และพยายามอธิบายว่าไม่เข้าข่ายริชวะฮ์ งานชิ้นนี้ได้ข้อสรุปว่าแม้ว่าในตัวบทของหลักการจะไม่เป็นที่อนุญาต แต่ในการปฏิบัติจริงมักจะมีการเลี่ยงบาลีเพื่ออ้างความชอบธรรมของการจ่ายริชวะฮ์อยู่จนเป็นแนวปฏิบัติทั่วไปในสังคม ด้วยหลักคิดที่ว่าหากสามารถเข้าสู่พื้นที่การเมืองได้แล้วจะเป็นประโยชน์มากกว่า ประกอบกับค่านิยมทั่วไปในสังคมยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

อิมรอน ซาเหาะ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เจ้าหน้าที่/นักวิจัย ประจำสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 181 ถ.เจริญประดิษฐ์ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือ ง จังหวัดปัตตานี 94000
อีเมล: imron.s@psu.ac.th

ยาสมิน ซัตตาร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 181 ถนนเจริญประดิษฐ์ ตำบลรูสะมิแล
อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000 อีเมล: yasmin.s@psu.ac.th

อับดุลเอาว์วัล สิดิ, มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

เจ้าหน้าที่/นักวิจัย ประจำโครงการมะดีนะตุสสลาม มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี เทศบาลเมืองปัตตานี,
จังหวัดปัตตานี 94000 อีเมล: siddiqabdulevvel@gmail.com

References

ดันแคน แม็กคาร์โก. (2555). ฉีกแผ่นดิน อิสลามและปัญหาความชอบธรรมในภาคใต้ ประเทศไทย. [Tearing apart the land: Islam and legitimacy in Southern Thailand] (ณัฐธยาน์ วันอรุณวงศ์, แปล). กรุงเทพฯ: คบไฟ.

บูฆอรี ยีหมะ. 2562. การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562: จังหวัดสงขลา. สถาบันพระปกเกล้า.

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา. (2563, 24 ธันวาคม). คุยกับ 'รอมฎอน ปันจอร์' ผู้ชวนเข้าชื่อถึงสำนักจุฬาฯ วินิจฉัยเรื่อง ซื้อสิทธิ์ ขายเสียง. ประชาไท. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2020/12/90956

ยาสมิน ซัตตาร์ และอิมรอน ซาเหาะ (2563). พื้นที่ทางการเมืองแบบเป็นทางการของผู้หญิงมลายูมุสลิมชายแดนใต้: บทบาท โอกาส และข้อท้าทาย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สามารถ ทองเฝือ และเอกรินทร์ ต่วนศิริ. 2562. การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 : จังหวัดปัตตานี. สถาบันพระปกเกล้า.

อสมา มังกรชัย. (2555). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงสร้างชนชั้นนำและทัศนะของชนชั้นนำมลายูสามจังหวัดชายแดนใต้ที่มีต่อการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ. ปัตตานี: สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้.

อิมรอน ซาเหาะ และยาสมิน ซัตตาร์. (2563). พลวัตการเคลื่อนไหวของนักการเมืองมลายูมุสลิมท่ามกลางความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

อิมรอน ซาเหาะ. (2558). แนวคิดอิสลามการเมืองและสันติภาพของพรรคการเมืองมุสลิมในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

เอกรินทร์ ต่วนศิริ. (2563). การเมืองการเลือกตั้งของนักการเมืองท้องถิ่นชายแดนใต้ท่ามกลางบริบทความรุนแรง. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2563), 31(1), 17-28.

Al-Sadr Al-Shahid, Husam Al-Din Omar b. Abdulaziz b. Maza Al-Bukhari. (1977), Sharh Al-Adab Al-Qadi li Al-Khassaf, Matbaa Al-Irshad, Baghdad.

Al-Zamakhshari. (1989), Asas Al-Balagha. (1 ed.). Dar Al-Kutub Al-Ilmiyya

Ibn Jarir, Al-Tabari. (1999), Tafsir Al-Tabari. (1 ed.). Dar Hajr

Al-Zahabi. (n.d.), Al-Kabair. Dar Ihya Al-Turath Al-Arabi

Al-Ghazali. (2005), Ihya Ulum Al-Din. (1 ed.) Dar Ibn Hazm

Köse, S. (2008), “Rüşvet” TDV İslam Ansiklopedisi. Volume (35), 303-306

Malik b. Anas. (1985), Al-Muwatta, Dar Ihya Al-Turath Al-Arabi, Beirut.

Utarasint, D. (2018). Voices and Votes Amid Violence: Power and Electoral Accountability in Thailand’s Deep South. Doctoral Thesis, The Australian National University.