การวิพากษ์กระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Participation) ของกลุ่มเยาวชนภายใต้การพัฒนาภาครัฐระบบเปิดตามนโยบายรัฐบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีความมุ่งหมายเพื่อวิพากษ์กระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มเยาวชนภายใต้แนวทางการพัฒนาภาครัฐระบบเปิดตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล ซึ่งเป็นวาระสำคัญทางการเมืองและสังคมในปัจจุบันด้วยการวิเคราะห์เอกสารและลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงลึกจากผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร. โดยพบว่ากระบวนการฯ มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อรูปแบบและวิถีดำเนินชีวิตของประชาชน โดยการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนที่รวมถึงกลุ่มเยาวชนผ่านมาการนำนโยบายไปปฏิบัติของสำนักงาน ก.พ.ร. ตามข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีมีการสั่งการจากบนลงล่าง ผสมผสานการทำงานร่วมกับตัวแสดงที่เป็นภาคีและเครือข่ายต่าง ๆ โดยเน้นการผลักดันการเปิดข้อมูลภาครัฐให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมเชิงนโยบายสาธารณะ หากแต่ยังมีความท้าทายจากการดำเนินงานที่ยังไม่ได้จำแนกรูปแบบหรือแนวทางเฉพาะกลุ่มเยาวชนอย่างเหมาะสม รวมทั้งยังขาดความชัดเจนในเป้าหมายระยะยาวที่ควรต้องกำหนดแผนงานและลำดับความสำคัญและมีตัวชี้วัดความสำเร็จที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มเยาวชน ตลอดจนต้องเร่งพัฒนาช่องทางการมีส่วนร่วมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในด้านของฐานข้อมูล การตรวจสอบและแสดงความคิดเห็น การกำหนดนโยบาย รวมถึงการสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจต่อการใช้งานบนเครือข่ายหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารออนไลน์เล่มนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวาระการเมืองและสังคม ความคิดเห็นและข้อถกเถียงที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน บรรณาธิการวารสารฯ ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับความคิดเห็นของผู้เขียนและไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้เขียน
References
ภาษาไทย
กัลยา วินิชย์บัญชา. (2544). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทะนงศักดิ์ เหมือนเตย. (ม.ป.ป.). การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 15 สิงหาคม 2564, จาก https://www.tuct.ac.th/km/article.php?id=16
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. (2548). การศึกษาอำเภอต้นแบบในการจัดการสาธารณะเพื่อการบริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ (Government Gullet). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ (ม.ป.ป.). ตัวแบบในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ (Approaches to Policy Implementation). เอกสารประกอบการสอนวิชา สมนก 579 นโยบายสาธารณะเชิงวิพากษ์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง). (2564, 25 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138. สืบค้น 20 สิงหาคม 2564, จากhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/044/T_0001.PDF
เมธา หริมเทพาธิป. (ม.ป.ป.). ระดับการมีส่วนร่วม. สืบค้น 2 กันยายน 2564, จาก https://www.gotoknow.org/posts/629863
วิศรุต สินพงศพร. (2563). วิเคราะห์สิ่งที่เราเห็น 1 สัปดาห์แห่งการชุมนุม. สืบค้น 14 กันยายน 2564, จาก https://workpointtoday.com/protest/
ศิลปะวิชญ์ น้อยสมมิตร และโชติกา แก่นธิยา. (2562). การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อนโยบายสาธารณะ. วารสารวิจัยวิชาการ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2562). สืบค้น 2 กันยายน 2564, จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/178618
สมคิด พุทธศรี. (2563). Youth Manifesto: นโยบายเยาวชนใหม่เพื่อการเมืองของคนหนุ่มสาว. สืบค้น 14 กันยายน 2564, จาก https://www.the101.world/youth-manifesto/
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2560). การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม: เทคนิคและ การนำไปสู่การปฏิบัติ. สืบค้น 18 สิงหาคม 2564, จาก https://www.opdc.go.th/content/Mjc4Nw
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2564). โครงการวิเคราะห์สภาวการณ์การบริหารงานภาครัฐแบบองค์รวมและการมองภาครัฐแห่งอนาคต (Government at a Glance). สืบค้น 18 สิงหาคม 2564, จาก https://www.opdc.go.th/content/NTc5MA
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2564). หลักการชี้แนะว่าด้วยเรื่องการเป็นรัฐบาลเปิดในประเทศไทย Guiding Principles on Open Government in Thailand. สืบค้น 18 สิงหาคม 2564, จาก https://www.opdc.go.th/content/NzEwOA
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2564). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 –2565. สืบค้น 30 สิงหาคม 2564, จาก https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dga-019/dga-024/
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2550). รายงานของคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน สภานิติบัญญัติ แห่งชาติ พิจารณาศึกษาเรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน พ.ศ. .... . สืบค้น 11 กันยายน 2564, จาก https://www.senate.go.th/document/Ext2197/2197501_0002.PDF
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. สืบค้น 11 กันยายน 2564, จาก https://web.parliament.go.th/assets/portals/1/files/
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). สืบค้น 20 สิงหาคม 2564, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF
สำนักงานเลขาสภาผู้แทนราษฎร. (2562). ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สืบค้น 20 สิงหาคม 2564, จาก https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/253/files/article_20191021103453.pdf
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). สรุปสาระสำคัญแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). สืบค้น 20 สิงหาคม 2564, จาก https://op.chandra.ac.th/plan/images/pdf/Master%20plan%20summary%20under%20the%20national%20strategy.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามอายุ เพศ และจังหวัด พ.ศ. 2563. สืบค้น 5 สิงหาคม 2564, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). มาตรฐานคำจำกัดความ โครงการ: สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ปี 2540. สืบค้น 5 สิงหาคม 2564, จากhttps://statstd.nso.go.th/definition/
ภาษาอังกฤษ
Danish Board of Technology Foundation. (2017). OPIN GUIDELINES Tips and tricks for more and better youth eParticipation. Retrieved August 17, 2021, from https://participationpool.eu/wp-content/uploads/2020/05/OPIN_guidelines_web-3.pdf
European Youth Centre, Strasbourg. (2009). New ways of youth participation based on Information and Communication Technologies. Retrieved August 9, 2021, from https://rm.coe.int/16807037dd
Finnish Youth Research Network and Finnish Youth Research Society (2014). Youth Participation Good Practices in Different Forms of Regional and Local Democracy. Retrieved August 12, 2021, from http://www.nuorisotutkimusseura.fi/images/julkaisuja/youthparticipation_goodpractices.pdf
Noella Edelmann, Robert Krimmer and Peter Parycek. (2008). Engaging youth through deliberative
e-participation: a case study. Retrieved August 17, 2021, from https://www.researchgate.net/publication/236960902_Engaging_youth_through_deliberative_e-participation_A_case_study
Statistics Through Eastern Partnership (2020). Framework and Recommendations for the delivery of
e-Participation with Young People. Retrieved August 19, 2021, from http://step4youth.eu/wp-content/uploads/2018/03/A-Roadmap-for-the-delivery-of-e-Participation-1.pdf