"ความสุขในทัศนะของประชาชน” พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มุมมองผ่านแนวคิดการครองอำนาจนำ (Hegemony)

Main Article Content

ปิยะ กิจถาวร

บทคัดย่อ

หลังเหตุการณ์ปล้นปืนเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 ผู้คนในสังคมไทยส่วนหนึ่งมีโลกทัศน์ว่าปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาการแบ่งแยกดินแดน ปัญหาการใช้ความรุนแรงสุดโต่ง ปัญหาความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ระหว่างความเป็นซีแย (สยาม) นายู (มลายู) แต่รายงานการพิจารณาศึกษาญัตติด่วนเรื่องการลอบวางระเบิดและก่อความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภาผู้แทนราษฎร (2547) ระบุว่ามูลเหตุที่ลึกที่สุดของของปัญหาความขัดแย้งที่นำไปสู่การเกิดความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีต้นตอจากรากเหง้าทางวัฒนธรรมความคิดที่คนในสังคมไทยส่วนใหญ่มีความคิดที่ยังไม่เห็นคุณค่าของความแตกต่างหลากหลาย บทความนี้ได้นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง การสำรวจความสุขของชุมชนพหุวัฒนธรรมในทัศนะของประชาชนในชุมชน : ศึกษากรณีชุมชนพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (2562) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบเจาะจงในชุมชนพุทธ มุสลิมของจังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาส ทั้งพื้นที่ชายฝั่ง ที่ราบและเชิงเขารวม 4 หมู่บ้าน จากกลุ่มตัวอย่าง 3 ช่วงวัยคือ ผู้สูงอายุ วัยทำงานและเยาวชนมีข้อค้นพบว่า เงื่อนไขสำคัญในการสร้างความสุขของชุมชนทั้งพุทธและมุสลิมในพื้นที่ดังกล่าวคือ การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชุมชน การยอมรับความมีตัวตนของชาวบ้าน การยอมรับคุณค่าของความแตกต่างหลากหลาย และผลการวิเคราะห์ตามแนวคิดการครองอำนาจนำแบบของกรัมชี่ (Gramsciís Hegemony)  ที่แบ่งสังคมออกเป็น 2 ส่วนคือ ชนชั้นปกครอง (State Society) และภาคประชาสังคม (Civil Society) รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งที่นำไปสู่การเกิดความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดจากชนชั้นปกครองใช้อำนาจครอบงำด้วยความสมยอมพร้อมจำนนของประชาชนเท่าๆกับที่ใช้การบีบบังคับทางกายภาพด้วยการปราบปราม ในขณะที่ภายในพื้นที่ประชาสังคมจะมีสถาบันต่างๆที่เป็นแหล่งรวมความสัมพันธ์ของผู้คนเช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา สถาบันสื่อมวลชน ทำหน้าที่สร้างและส่งต่อชุดความคิด ความเชื่อ ที่ทำให้คนในสังคมไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของความแตกต่างหลากหลาย ข้อเสนอแนะจากบทความนี้คือ การสร้างความเข้าใจใหม่ที่เป็นอิสระจากการครอบงำของอำนาจนำจากฝ่ายต่างๆ โดยสร้างความเห็นพ้อง (Consent) ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ การสนับสนุนให้มีกระบวนของการถกเถียง แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประเด็นต่างๆที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่จริงในชีวิตประจำวันของประชาชนทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อันจะนำไปสู่การมีสันติสุขที่ยั่งยืนตลอดไป

Article Details

บท
Special Article
Author Biography

ปิยะ กิจถาวร, อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์, อดีตคณบดีและอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 28/60
ถนนโคกสำโรง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000, kittaworn@gmail.com.

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2526). ลัทธิมาร์กซ์ของกรัมชี่. วารสารธรรมศาสตร์. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2.

คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ(กอส.). (2549). รายงานเอาชนะความรุนแรงด้วยพลังสมานฉันท์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.

คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภาผู้แทนราษฎร. (2547). รายงานการพิจารณาศึกษาญัตติด่วนเรื่อง การลอบวางระเบิดและก่อความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. (2551). ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย. มูลนิธิ โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์. โครงการร่วมศึกษาเสริมสร้างสุขภาวะ กรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้.

ปิยะ กิจถาวร. (2562). โครงการสำรวจความสุขของชุมชนพหุวัฒนธรรมในทัศนะของประชาชนในชุมชนศึกษากรณีชุมชนพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วัชรพล พุทธรักษา. (2557). บทสำรวจความคิดทางการเมืองของ อันโตนิโอ กรัมชี่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมมติ.