การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยว ตามแผนการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวตามแผนการท่องเที่ยวของ อบต.เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนท้องถิ่นในการพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวตามแผนการท่องเที่ยวของ อบต.เกาะเกร็ด และ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนท้องถิ่นในการพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยว การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม
ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการท่องเที่ยวน้อย ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมน้อย การท่องเที่ยวช่วยให้ประชาชนมีรายได้ การท่องเที่ยวนำความเจริญมาสู่ชุมชน การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น ก่อให้เกิดการจัดระเบียบและรักษาความสะอาดในชุมชน ในการติดตามและประเมินผลจะมีเพียงผู้ใหญ่บ้านและสมาชิกสภา อบต. ของแต่ละหมู่บ้านเท่านั้นที่เข้าไปเป็นกรรมการตรวจรับ ผู้วิจัยพบปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชน คือ ประชาชนให้ความสนใจในการพัฒนาชุมชนส่วนรวมน้อย ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญและไม่สนใจที่จะเข้าร่วมประชาคมหมู่บ้าน อีกทั้งประชาชนไม่ทราบและไม่เข้าใจถึงสิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของ อบต.เกาะเกร็ด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารออนไลน์เล่มนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวาระการเมืองและสังคม ความคิดเห็นและข้อถกเถียงที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน บรรณาธิการวารสารฯ ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับความคิดเห็นของผู้เขียนและไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้เขียน
References
ภาษาไทย
ชวลิต สละ. (2556). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2553). การกระจายอำนาจกับการปฏิรูปประเทศไทย เล่มที่ 4 ว่าด้วยการมีส่วนร่วมและการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนและการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. หน้า 19-21. การประชุมวิชาการเรื่องการกระจายอำนาจกับการปฏิรูปประเทศไทย วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2553 ศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมและธรรมาภิบาลท้องถิ่น คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
นิศา ชัชกุล. (2557). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. 2548. การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ เพ็ญศิริ ศรีคำภา. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: บริษัท ธรรมสาร.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และ ถวิลวดี บุรีกุล. (2550). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ปธาน สุวรรณมงคล. (2554). การกระจายอำนาจ: แนวคิดและประสบการณ์จากเอเชีย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2553). การท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2555). การท่องเที่ยวจากนโยบายสู่รากหญ้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. เชียงใหม่: สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ.
วุฒิสาร ตันไชย. (2547). การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น: ความก้าวหน้าหลังรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540. สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ: บริษัท โรงพิมพ์ คลังวิชา จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. เข้าถึงได้จาก
https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/article/article_20180531155204.pdf เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด. (2562). แผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะเกร็ด ประจำปี พ.ศ. 2562-2565. เข้าถึงได้จาก
https://kohkred-sao.go.th/public/list/data/detail/id/75/menu/1196/page/1/catid/67 เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2563
อรทัย ก๊กผล และ ฉัตรระวี ปริสุทธิญาณ. (2552). เคล็ดลับการจัดบริการสาธารณะท้องถิ่น: บทเรียนจากรางวัลพระปกเกล้า’ 51. สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ: บริษัท ส เจริญการพิมพ์ จำกัด.
ภาษาอังกฤษ
Cohen, J. M. and Uphoff, N. T. (1980). Participation’s Place in Rural Development: Seeking Clarity through Specificity. World Development. 8(3): 213-235.
Creighton, J. L. (1992). Involving Citizens in Community Decision Making: A Guidebook. Washington: Program for Community Problem Solving.
Lacy, T. D.; Batting, M.; Moore, S. and Noakes, S. (2002). Public Private Partnerships for Sustainable Tourism. Delivering a Sustainability Strategy for Tourism Destination. Asia Pacific Economic Cooperation (APEC) Tourism Working Group.
Timothy, D. J. (2002). Tourism and Community Development Issue. In: Sharpley, R. and Telfer, D. J. (eds) Tourism and Development: Concepts and Issues. Channel View Publications, Clevedon, 149-164.
Tosun, C. and Timothy, D. J. (2003). Arguments for Community Participation in the Tourism Development Process. The Journal of Tourism Studies. 14(2): 1-15.
United Nations Environment Programme and World Tourism Organization. (2005). Making Tourism More Sustainable: A Guide for Policy Makers. Retrieved February 2, B.E.2563 from http://www.unep.fr/shared/publications/pdf/DTIx0592xPA-TourismPolicyEN.pdf
World Tourism Organization. (2004). Indicators of Sustainable Development for Tourism Destination: A Guidebook. Retrieved February 2, B.E.2563 from