ชายแดนใต้/ปาตานีกับการเลือกตั้ง 2566 อัตลักษณ์ เงินตรา และการเปลี่ยนผ่าน?
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเด็นสำคัญที่ปรากฏในระหว่างการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2566 ของพื้นที่ชายแดนใต้/ปาตานี การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2566 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการเมืองไทยในระดับชาติโดยเฉพาะการก้าวขึ้นมาของพรรคก้าวไกลในฐานะผู้ที่ได้รับที่นั่งในสภามากที่สุด แม้ว่ากระแสของพรรคก้าวไกลอาจจะไม่สามารถไปสู่พื้นที่ชายแดนใต้/ปาตานีจนมีผู้สมัครได้รับเลือกเข้าสภา แต่พบปรากฏการณ์และพลวัตที่สำคัญของพื้นที่ชายแดนใต้/ปาตานีในห้วงการเลือกตั้งเช่นเดียวกัน จากการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยที่พบว่า มีประเด็นสำคัญเกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนใต้/ปาตานี ประกอบด้วย อัตลักษณ์ของผู้คนชายแดนใต้/ปาตานีกับการหาเสียง ไม่ว่าจะเป็นความเป็นมุสลิม ความเป็นมลายู ความเป็นผู้หญิงหรือความเป็นคนรุ่นใหม่ รวมไปถึงการพบว่าข้อถกเถียงว่าด้วยความสำคัญของเงินกับการเป็นผู้สมัครในพื้นที่ชายแดนใต้/ปาตานี ก็ยังคงเป็นประเด็นถกเถียงที่สำคัญ และพบว่ามีข้อสังเกตความเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการขับเคลื่อนของผู้ที่เคยทำงานในหน่วยงานภาคประชาสังคมในการเมืองเพิ่มขึ้น การเกิดขึ้นของพรรคเป็นธรรม รวมไปถึงการเห็นรูปแบบการหาเสียงที่เน้นนำเสนอนโยบายในเวทีดีเบตต่างๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารออนไลน์เล่มนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวาระการเมืองและสังคม ความคิดเห็นและข้อถกเถียงที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน บรรณาธิการวารสารฯ ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับความคิดเห็นของผู้เขียนและไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้เขียน
References
ภาษาไทย
ดันแคน แม็กคาร์โก (2562). การเมืองปาตานี: หลายโฉมหน้าในการเลือกตั้ง 2562. วารสาร Kyoto Review of Southeast Asia, ISSUE 28.
ทวีลักษณ์ พลราชม และวิลาสินี โสภาพล. (2565). บทบาทของนักการเมืองชายแดนใต้: การต่อสู้เพื่อสันติภาพชายแดนใต้บนพื้นที่การเมืองระดับชาติ. วารสารความขัดแย้งและสันติศึกษาปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน.
ยาสมิน ซัตตาร์ และอิมรอน ซาเหาะ (2563). พื้นที่ทางการเมืองแบบเป็นทางการของผู้หญิงมลายูมุสลิมชายแดนใต้: บทบาท โอกาส และข้อท้าทาย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
ยาสมิน ซัตตาร์, อิมรอน ซาเหาะ และอับดุลเอาว์วัล สิดิ. 2564. ข้อถกเถียงว่าด้วยการเป็นผู้นำทางการเมืองกับผู้หญิงมุสลิมในพื้นที่ชายแดนใต้. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฉบับที่ 12 ลำดับที่ 1: มกราคม – มิถุนายน 2564.
สามารถ ทองเฝือ และเอกรินทร์ ต่วนศิริ. (2562). การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 : จังหวัดปัตตานี. สถาบันพระปกเกล้า.
อิมรอน ซาเหาะ และยาสมิน ซัตตาร์. (2563). พลวัตการเคลื่อนไหวของนักการเมืองมลายูมุสลิมท่ามกลางความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
อิมรอน ซาเหาะ, ยาสมิน ซัตตาร์ และอับดุลเอาว์วัล สิดิ. (2565) ริชวะฮ์กับการเลือกตั้ง: จากหลักการอิสลามสู่ปรากฏการณ์ในสังคมมลายูมุสลิมชายแดนใต้. วารสารวาระการเมืองและสังคม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (2022): มกราคม-มิถุนายน, 39-56.
Faculty of Political Science, Prince of Songkla University (2566). ถอดบทเรียนการเลือกตั้งของประเทศไทยและตุรกี. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.facebook.com/PoliticalSciencepnpsu/videos/282970690853965.
Think Forward Center – ศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต. (2566). นโยบายสำหรับมุสลิมของพรรคก้าวไกล. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=553761130260404&set=a.244439731192547
ภาษาอังกฤษ
Sattar, Y., & Sahoh, I. (2022). Malay Muslim Politicians’ Movements Amid the Deep South Unrest in Thailand. Journal of Muslim Minority Affairs, 42(1), 100-116.
Utarasint, D. (2018). Voices and Votes Amid Violence: Power and Electoral Accountability in Thailand’s Deep South. Doctoral Thesis, The Australian National University.