Ms. Marvel กับการถ่ายทอดประเด็นด้านการเมืองและศาสนาผ่านมุมมองของนักศึกษามุสลิม ชายแดนใต้ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Main Article Content

วรวิทย์ สุวรรณรัตน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของนักศึกษามุสลิมชายแดนใต้ในพื้นที่ม.อ.ปัตตานีต่อ    ซีรี่ย์ Ms. Marvel ภายใต้กรอบความคิดในเรื่องของการเมืองและศาสนา โดยเน้นศึกษาการถ่ายทอดประเด็นการเมืองและศาสนาผ่านซีรี่ย์เนื่องจาก Ms. Marvel เป็นตัวละครที่มี อัตลักษณ์ในประเด็นของการเป็นมุสลิมและชนกลุ่มน้อยของประเทศ คล้ายคลึงกับนักศึกษามุสลิมส่วนใหญ่ของชายแดนใต้และเฉพาะอย่างยิ่งอัตลักษณ์ของ นักศึกษาใน ม.อ.ปัตตานีซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างสำคัญในการทำวิจัย งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม ผลจากการวิจัยพบว่า 1) ซีรี่ย์เรื่องนี้เป็นเครื่องมือในการครอบงำของมหาอำนาจและมีความพยายามจะปรับเปลี่ยนคุณค่าเดิมของศาสนาอิสลามผ่านการนำเสนอมุมมองเสรีเพียงด้านเดียว 2) เนื้อหาบางส่วนอาจสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับหลักการบางมิติของอิสลาม และ3) ซีรี่ย์ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือในการพิสูจน์อำนาจของประเทศมหาอำนาจภายใต้กระแสความหวาดกลัวอิสลาม อย่างไรก็ตามซีรี่ย์เรื่องนี้สามารถมองในมุมมองเชิงบวก อันประกอบด้วยการนำเอาชุดความรู้จากฝั่งตะวันตกเข้ามาสู่คนในพื้นที่ และเป็นพื้นที่ในการแสดงออกของความงามและประเพณีต่าง ๆของอิสลาม รวมไปถึงการลดความเกลียดชังที่มีต่อสังคมมุสลิมได้บางส่วน

Article Details

บท
Research Articles

References

ภาษาไทย

ฐณยศ โล่พัฒนานนท์, et al. มองภาพยนตร์ในมิติความมั่นคงใหม่. 9 Dec. 2020, so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/view/245039/165748.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2556). สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความเป็นสถาบันและการกระทำภายใต้ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม.วารสารสุทธิปริทัศน์, ปีที่ 27 ฉบับที่ 84 (ต.ค.-ธ.ค. 2556) หน้า 77-90.

นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน. ปัตตานี กับโลกมลายูและตำนานปาตานี (Hikayat Patani). 2008, peaceresourcecollaborative.org/deep-south/history/pataniandmelayuworld.

พรพันธุ์ เขมคุณาศัย. “เรียนรู้และเข้าใจคนมลายูมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้จากวรรณกรรมไทยร่วมสมัย (พ.ศ.2516-2552).” Humanities and Social Sciences, so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/32267/27556.

สุกัลยา คงประดิษฐ์. (2564). แนวทางการนำเสนอข่าวการก่อการร้ายในต่างประเทศสำหรับ สื่อมวลชนไทย.วารสารนิเทศศาสตร์, ปีที่39 ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2564) หน้า73-93,

https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcomm/article/download/248189/171041

สุวิมล พิชญไพบูลย์. (2561). วิถีมุสลิมกับความผูกพันต่อหลักศาสนาอิสลามและการบังคับใช้กฎหมายอิสลาม : ชุมชนสวนหลวง 1. Muslim Way of Life and Relationship to the Islamic Principles and Islamic Law Enforcement: Case Study of Suanluang 1 Community. http://www.graduate.ubru.ac.th/ubru-journal/assets/onlinefile/1548061591.pdf

อับดุลเลาะ เจ๊ะหลง, และ เกษตรชัย และหีม. ลักษณะพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องตามวิถีอิสลามของเยาวชนมุสลิมกลุ่มเสี่ยง ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 25 June 2020, so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/243825/165769.

อาดิซีน หนิเร. ทัศนคติของกลุ่มคนรุ่นใหม่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5903011038_7609_6923.pdf.

อภิญญา ดิสสะมาน. นโยบายชาตินิยมและนโยบายการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมที่มีต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง: ผลกระทบจากอดีตสู่ปัจจุบัน. 21 July 2015.

อ้อมใจ วงษ์มณฑา. (2556). อิสลาม-สื่อ-ความรุนแรง : ปฏิสัมพันธ์บนเส้นทางการสร้างภาพลักษณ์ความรุนแรง.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,

https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/article/view/62909/51690

ภาษาอังกฤษ

Damrongphun Jaihowe and Cholthira Satyawadhna. National Security and Neo-Colonialism The Case of Farmland Management in Thailand.2012. http://fs.libarts.psu.ac.th/research/conference/proceedings-4/4/007-National%20Security%20and%20Neo-Colonialism.pdf .

Jesada Buaban. Islamophobia as Represented by Thai Buddhist Organizations. Journal of Social Sciences Facultyof Political Science Vol.50 No.2 (2020): 125 - 147 Chulalongkorn University http://www.library.polsci.chula.ac.th/journal2

Jackson-Preece, Jennifer, and Manmit Bhambra. MS. MARVEL AND THE REPRESENTATION OF YOUNG MUSLIM WOMEN. LSE Middle East Centre Paper Series, 28 Oct. 2022. http://eprints.lse.ac.uk/110724/2/In_Between_Identities_and_Cultures.pdf

“MS. MARVEL AS a REPRESENTATION OF THE STRUGGLE FOR AMERICAN IDENTITY.” Rubikon : Journal of Transnational American Studies, vol. 3, no. 1, July 2019, p. 10. https://doi.org/10.22146/rubikon.v3i1.44368