ความคาดหวังต่อนโยบายสร้างชาติ “รัฐนิยม” ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (2481-2487) สู่การเคารพธงชาติที่ส่งผลจนถึงปัจจุบัน กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและเปรียบเทียบความคาดหวังต่อ
นโยบายสร้างชาติของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (2481-2487) สู่การเคารพธงชาติของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ใช้วิธีการศึกษาแบบผสม เชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้แบบสอบถาม และเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกมีกลุ่มตัวอย่าง 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ข้อค้นพบที่ 1 เชิงปริมาณพบว่า ความคาดหวังต่อนโยบายสร้างชาติสู่การเคารพธงชาติของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 67 ข้อค้นพบที่ 2 ความคาดหวังต่อนโยบายสร้างชาติสู่การเคารพธงชาติของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีตามแบบสอบถาม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยรวมและรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน ข้อค้นพบที่ 1 เชิงคุณภาพพบว่า 1) ทัศนคติต่อจอมพล ป. พิบูลสงครามภายใต้แนวคิดการครองอำนาจนำ นักศึกษามีความเห็นว่าจอมพล ป. เป็นผู้สร้างนโยบายสร้างชาติและมีส่วนในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทย ในขณะที่บางส่วนมองว่าเป็นเผด็จการ การยึดครองพื้นที่ทางความคิดมีผลทั้งในแง่บวกและลบจนถึงปัจจุบัน 2) ความพึงพอใจต่อเพลงชาติไทยภายใต้แนวคิดเรื่องวาทกรรม นักศึกษามองว่าการมีเพลงชาติไทยเป็นเรื่องปกติและแสดงถึงความรักชาติ กระบวนการผลิตสร้างความหมายวาทกรรมของชาติไทยผ่านบทเพลงยังมีอิทธิพลจนถึงปัจจุบัน 3) ความคาดหวังต่อนโยบายสร้างชาติสู่การเคารพธงชาติภายใต้แนวคิดรัฐนิยม นักศึกษามองว่านโยบายสร้างชาติมุ่งสร้างพฤติกรรมและค่านิยมใหม่ให้กับประชาชน แต่ในบริบทสังคมปัจจุบันนี้ไม่เป็นที่ยอมรับ ทำให้กระบวนการนโยบายสร้างชาติตามแนวคิดรัฐนิยมไม่เหมาะสมกับสังคมในปัจจุบัน ข้อค้นพบจากการศึกษาพบว่านักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีมีความคาดหวังต่อนโยบายสร้างชาติสู่การเคารพธงชาติในระดับน้อย ทัศนคติต่อจอมพล ป. พิบูลสงครามและเพลงชาติไทยมีผลทั้งบวกและลบ และนโยบายรัฐนิยมในการสร้างชาติในบริบทปัจจุบันไม่เป็นที่ยอมรับในหมู่นักศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารออนไลน์เล่มนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวาระการเมืองและสังคม ความคิดเห็นและข้อถกเถียงที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน บรรณาธิการวารสารฯ ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับความคิดเห็นของผู้เขียนและไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้เขียน
References
ภาษาไทย
งานทะเบียนและรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. (2565). ข้อมูลสถิตินักศึกษา วิทยาเขตปัตตานี. Retrieved from ข้อมูลสถิตินักศึกษา วิทยาเขตปัตตานี: https://sites.google.com/psu.ac.th/regpn-dashboard/std_report?authuser=0
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. ชิษณุพงค์ อินทร์แก้ว. (2563). การจัดวางความคิดทางการเมืองในเพลงชาตินิยมหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2563.
ดีพร้อม ใจน้อย. (2563). การประกาศรัฐนิยมที่ส่งผลต่อหน้าที่พลเมืองในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม The declaration of stateism that affected citizenship in the period of Field Marshal Pibulsongkram . วารสารสันติสุขปริทรรศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่1 (มกราคม-มิถุนายน 2563).
ธีร์จุฑา เมฆิน. (2558). แนวคิดทางการเมืองแบบราชาชาตินิยมที่ปรากฏในนวนิยายของทมยันตี = Political concept of royal nationalism in Tamayanti's novels. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรหมพยัคฆ์, ช. (2543). ธงไตรรงค์กับการสร้างอุดมการณ์รัฐไทย พ.ศ.2459 - 2520. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มติชน. (2563, กันยายน 20). Matichon Online. Retrieved from Matichon Online: https://www.matichon.co.th/politics/news_2356891#
มูลนิธิความฝันของชาวไทย. (2554). จอมพล ป.พิบูลสงคราม : ผู้นำต้นแบบตลอดกาล. กรุงเทพฯ: มูลนิธิความฝันของชาวไทย.
วัชรพล พุทธรักษา. (2557). บทสำรวจความคิดทางการเมืองของ อันโตนิโอ กรัมชี่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมมติ.
สยามรัฐ. (2563, ตุลาคม 21). Retrieved from สยามรัฐ: https://siamrath.co.th/n/191440?fbclid=IwAR2ouPk4FnudGISppRJrgWmYHCAXwiG6zippdMQVPh4nlpoRwIYFHhlYau0
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2550). ร่างพระราชบัญญัติธง (ฉบับที่..) พ.ศ. .... บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 65/2550 เป็นพิเศษ วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
สุรศักดิ์ บุญเรือง. (2560). ปกิณกะกฎหมาย การเคารพเพลงชาติกับแง่มุมทางกฎหมาย. วารสารนิติศาสตร์.
อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2542). รัฐ สังคม และ การเปลี่ยนแปลง: การพิจารณาในเชิงอำนาจ นโยบาย และ เครือข่ายความสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
ภาษาอังกฤษ
Kasidis Satangmongkol. (2562, สิงหาคม 23). DataRockie. Retrieved from DataRockie: https://datarockie.com/blog/yamane-sample-size-calculation/
MGR Online. (2563, กรกฎาคม 23). MGR Online. Retrieved from MGR Online: https://mgronline.com/south/detail/9630000075772