ทิศทางและโอกาสหลังจากการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับซาอุดิอาระเบีย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องทิศทางและโอกาสหลังจากการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับซาอุดิอาระเบีย มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาโอกาสข้อท้าทายภายหลังจากการรื้อฟื้นและฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับซาอุดิอาระเบีย และศึกษามุมมองของผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการไทยมุสลิมและนักศึกษาต่อการฟื้นฟูความสัมพันธ์ไทยกับซาอุดิอาระเบีย ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (Indepth interview) ครอบคลุมทั้งบทความ หนังสือและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องประกอบกัน โดยใช้ทฤษฎีผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interests Theory) มาอธิบายผ่านกรอบการวิเคราะห์ (PEST Analysist) การกลับมาสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตเป็นขั้นปกตินำมาซึ่งโอกาสในการสร้างความร่วมมือและการพัฒนาร่วมกันเพื่อบรรลุยุทธศาสตร์ชาติของตน ไม่ว่าจะเป็นวิสัยทัศน์ซาอุดิอาระเบีย 2030 (Vision 2030) และ Bio - Circular - Green (BCG) Economy ของไทย ผู้วิจัยค้นพบว่า การรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับซาอุดิอาระเบีย นํามาซึ่งโอกาสในการสร้างความร่วมมือและการพัฒนาร่วมกันโดยเฉพาะประเด็นทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมตลอดจนนวัตกรรมเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยยังค้นพบว่า การพื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับซาอุดิอาระเบียมีข้อท้าทายสำคัญหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านสังคม เพราะความผิดพลาดในอดีตทำให้ชาวซาอุดิอาระเบียจดจำและความกังวลของชาวซาอุดิอาระเบียต่อการเปลี่ยนแปลงที่ขัดกับขนบธรรมเนียมเดิม ดังนั้นการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตในคราวนี้ทั้งสองประเทศจำเป็นที่จะต้องศึกษาระหว่างกันเพื่อทำความเข้าใจใหม่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารออนไลน์เล่มนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวาระการเมืองและสังคม ความคิดเห็นและข้อถกเถียงที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน บรรณาธิการวารสารฯ ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับความคิดเห็นของผู้เขียนและไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้เขียน
References
บรรณานุกรม
ภาษาไทย
กระทรวงการต่างประเทศ .(2565). ไทยและซาอุดีอาระเบียปรับความสัมพันธ์ทางการทูตกลับสู่ระดับปกติในการเยือนซาอุดีอาระเบียครั้งประวัติศาสตร์ของนายกรัฐมนตรี . สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2565,จาก https://mfa.go.th/th/content/thailand-saudi-normalise?cate=5d5bcb4e15e39c306000683b
กรุงเทพธุรกิจ .(2565). ฟื้นสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ ยืนเฉยๆคนจะรักเค้าก็รัก. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/98
ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว. (2566). ซาอุดิอาระเบีย 2566. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2567, จาก https://intelligencecenter.tat.or.th/articles/15949
ศราวุฒิ อารีย์. (2565). “วิสัยทัศน์ซาอุดีอาระเบีย 2030 กับโอกาสของไทย”. คม ชัด ลึก. สืบค้นเมื่อ31สิงหาคม2565
จากhttps://www.komchadluek.net/news/politic/227548
สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2566). การค้าระหว่างประเทศของไทย กับ ซาอุดิอาระเบีย. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2567 , จาก https://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=TradeThSummary
สถาบันเอเชียศึกษา .(2565). ไทย-ซาอุดิอาระเบีย: จากสัมพันธ์แตกร้าวสู่ก้าวย่างแห่งมิตรภาพใหม่. สืบค้นเมื่อ 31สิงหาคม 2565 , จาก http://www.ias.chula.ac.th/article/%E0%B9%84/
อาทิตย์ ทองอินทร์. (2562). การต่างประเทศของซาอุดิอาระเบียในรัชสมัยของกษัตริย์ ซัลมาน อิบนุ อับดุล อะซีส: มุมมองระดับภูมิภาค. ASIA PARIDARSANA, 39(2), 1–35. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2565, จาก https://so01.tcithaijo.org/index.php/asianreview/article/view/227932
อารีฝีน ยามา. (2562). ยุทธศาสตร์การต่างประเทศของไทยต่อตะวันออกกลางและโลกมุสลิม ศูนย์มุสลิมศึกษา. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้น เมื่อ 26 ตุลาคม 2565, จาก http://www.ias.chula.ac.th/ias/en/Article-Detail.php?id=42
เอกกมล เอี่ยมศรี . (2555). PEST Analysis การทำความเข้าใจใน “ภาพรวม” ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2565,
จาก https://eiamsri.wordpress.com/2011/06/03/pest-analysis-
อริสรา อัครพิสิฐ .(2565). วิสัยทัศน์ซาอุดีอาระเบีย 2030: โอกาสและความท้าทายของตลาดแรงงานไทย. วารสารสยามวิชาการ, 23(41), 58-76. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ,จากhttps://so07.tcithaijo.org/index.php/sujba/article/view/958/970
ภาษาอังกฤษ
Blanchard, M. .(2021). Saudi Arabia: Background and U.S. Relations Congressional Research Service, Retrieved March 27, 2023, from https://sgp.fas.org/crs/mideast/
Byman L. (2005). The Implications of Leadership Change in the Arab World , JSTOR.
Retrieved March 27, 2023, from https://www.jstor.org/stable/20202473
Joseph A. Kéchichian. (2019). Saudi Arabia and its new leadership in 2030 (RESEARCH REPORT). the Asan Institute for Policy Studies. Retrieved March 27, 2023, from https://en.asaninst.org/contents/saudi-arabia-and-its-new-leadership-in-2030/
Sanglee, T. (2022). Thai-Saudi relations: Eight months after rapprochement. Retrieved March 27, 2023, from https://thediplomat.com/2022/09/thai-saudi-relations-eight-months-after-rapprochement/
Saudi Arabia - labor force. (2023). TOTAL2023 data 2024 forecast 1990-2021 historical. Retrieved March 27, 2023, from https://tradingeconomics.com/saudi-arabia/labor-force-total-wb-data.html
Kingdom of Saudi. (2022). Arabia.Vision 2030. Retrieved October 18, 2022,
from https://www.vision2030.gov.sa/media/rc0b5oy1/saudi_vision203.pdf