ความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตก่อนการบังคับใช้และ นำนโยบายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาผู้สูงอายุในตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเข้าถึงนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของกลุ่มผู้สูงอายุเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาประเทศให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตก่อนการบังคับใช้และนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยศึกษาผู้สูงอายุในตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุที่คัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง จำนวน 15 คน ตามเกณฑ์การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักที่กำหนด เก็บข้อมูลในช่วงเวลาก่อนการบังคับใช้และนำนโยบายไปปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่าผู้ให้ข้อมูลมีความเข้าใจต่อรายละเอียดของนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตเป็นอย่างดี ไม่เห็นด้วยกับกรอบเวลาในการใช้สิทธิ์ตามนโยบาย และมีความคาดหวังต่อนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น และคาดหวังให้นโยบายมีความต่อเนื่องนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรพิจารณากรอบเวลาในการใช้สิทธิ์ของนโยบายให้มีความยืดหยุ่นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมนโยบายสามารถใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม และหาแนวทางในการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นหากไม่มีนโยบายลักษณะนี้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารออนไลน์เล่มนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวาระการเมืองและสังคม ความคิดเห็นและข้อถกเถียงที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน บรรณาธิการวารสารฯ ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับความคิดเห็นของผู้เขียนและไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้เขียน
References
Dongnadeng, H. A., & Taneerat, W. (2023). A service development model for public hospitals in Thailand characterized by Muslim practices. International Journal of Islamic Thought. 24 (Dec.): 53-70
ขวัญทิพย์ แววสง่า. (2564). การศึกษาการรับรู้ประสิทธิผลของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา. [สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/17218/2/6110521502.pdf
จักรพงษ์ ฟองชัย, พรสวรรค์ สุตะคาน, ไพรัช พื้นชมภู, พระสุริยา หงส์ชุมแพ, และพระวุฒิพงษ์ แก้วแกมดา. (2564). ความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายสาธารณะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. Research Institute Journal, 8(1), 76-85.
จุฑามาศ อนุสุริยา, และอจิรภาส์เพียรขุนท. (2566). การเข้าถึงโครงการคนละครึ่ง: กรณีศึกษา ผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา. Journal of Roi Kaensarn Academ, 8(3), 229-242.
จิตรา ขอผดุง. (2554). ความคิดเห็นของประชาชนจังหวัดปทุมธานีที่มีต่อนโยบายคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรก. [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี].http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/739/1/124318.pdf
นนทพันธ์ สวัสดิ์พาณิชย์ (2566). ประสิทธิผลการนำนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาชุมชน อุทิศอนุสรณ์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(2), 1-10.
ปรมาภรณ์ แสงแก่นสาร และศิวัช ศรีโภคคางกุล. (2566). นโยบายพรรคการเมืองกับการแก้ปัญหาช่องว่างทางดิจิทัลในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งปี 2566. Journal of Modern Learning Development, 8(8), 257 – 266.
พระศิลาศักดิ์ สุเมธี, พระมหาไทยน้อย ญาณเมธี, จาสิบเอก เจนณรงค์ ผานคำ, สถาพร ว่องสถาพงศ์, จิรวรรณ สิทธิศักดิ์, และพระนัฐวุฒิ สิริจนโท. (2564). การเสริมสร้างนโยบายรัฐสวัสดิการส่วนความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 6(2), 109-116.
พลอยไพลิน ต้นเจริญพงศ์, และนัทนิชา โชติพิทยานนท์. (2566). ทัศนคติของประชาชนต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในการกําหนดนโยบายโครงการคนละครึ่งสําหรับประชาชนผู้ได้รับสิทธิในพื้นที่เทศบาลนครอ้อมน้อย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 6(2), 26-39.
ภาสกรณ์ วัฒนพฤกษ์, ดวงรัตน์ เหลืองอ่อน, รัตนชัย เพ็ชรสมบัติ, ปิยะทิพย์ ประดุจพรม, และกนก พานทอง. (2565). การรับรู้และการคาดหวังของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต่อการดําเนินนโยบายร้านสวัสดิการแห่งรัฐ. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 1(2), 115-125.
มนตรี เกิดมีมูล. (2558). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ:การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผู้สูงอายุในเขตเมืองและเขตชนบท. วารสารวิจัยรําไพพรรณี, 9(2), 79-90.
ยุทธนา เศรษฐปราโมทย์. (2566). โครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท กับความยั่งยืนของการเติบโตเศรษฐกิจไทย. สืบค้น 10 มกราคม 2567 จาก https://nida.ac.th/digital-money-of-10000-baht-and-the-sustainability-of-thai-economic-growth/
รัฐศรัณย์ ธนไพศาลกิจ. (2566). นโยบายการคลังกับเงินบาทดิจิทัล: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการมหาวิทยาลัยมหิดล, 9(1), 65 – 96.
วลัยลักษณ์ อมรสิริพงศ์. (2562). การวิเคราะห์สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารจัดการของห้องสมุประชาชน. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 6(2), 98-113.
สำนักข่าวบีบีซี. (2566). ตรวจการบ้านรัฐบาลเศรษฐา (1): ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ยังไร้บทสรุป – ส่อลดผู้ได้รับอานิสงส์. สืบค้น 11 มกราคม 2567 จากhttps://www.bbc.com/thai/articles/cn393rgn2x5ofbclid=IwY2xjawGavMBleHRuA2FlbQIxMAABHb4UXrGK4zvayXtZfWswAmVgYUg0mzEOB5fxORcg1lWgdKQK58F9iZ2KMg_aem_qGn-rZlMX6Xn-kPEiGAUdQ
สำนักข่าวทูเดย์. (2566). เศรษฐาแถลงดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท แจกเงินคนไทย 50 ล้านคน. สืบค้น 11 มกราคม 2567 จาก https://workpointtoday.com/digital-money-srettha/fbclid=IwY2xjawGau59leHRuA2FlbQIxMAABHdBL06aV9UbcpEgcnNytRPYq3PqYiNW6bn2LikDb195TW1a2DbuaIj3vCA_aem_MUkFaO4P9kJJSefSpdrF1Q
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564 ตารางสถิติรายจังหวัด. สืบค้น 20 มกราคม 2567 จากhttps://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/2023/20230731135832_28841.pdf
เอกภาคย์ คงมาลัย, และชาญชัย จิวจินดา. (2564). ความคาดหวังของผู้ใช้บริการโครงการคนละครึ่งผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง. Journal of SaengKhomKham Buddhist Studies, 7(1), 66-79.
อัสมีรา มะเก, จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส และ ชนัดดา แนบเกษร. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในพื้นที่เหตุการณ์รุนแรง จังหวัดปัตตานี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(1), 101-112.
ฮาซันอักริม ดงนะเด็ง, นัฐฐิภา นิ่มเกตุ, ณัฐวดี เที่ยงธรรม, วรรณวิภา รองเดช และ วรรณธิดา รองเดช. (2564). กลไกการจัดการสถานการณ์โควิด-19 ขององค์การบริหารส่วนตำบลควนปริง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง.วารสารบริหารท้องถิ่น, 14(3), 291-308.