<b>ยุติธรรมสมานฉันท์โดยชุมชนในคดีข่มขืน</b><br> Community’s Restorative Justice in Rape

ผู้แต่ง

  • กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

community justice, dispute resolution in rape, restorative justice, การระงับข้อพิพาทในคดีข่มขืน, ยุติธรรมชุมชน, ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์

บทคัดย่อ

Rape is an offense which damages the woman in many ways, and it universally occurs. Unfortunately, the state’s mechanism of dispute resolution named “Judicial Process” cannot response effectively to rape case, because the process is not fit for the essence of the offense such as character of rape crime, procedure and also punishment. Restorative justice and Community justice become an alternative mechanism of dispute resolution in rape. This study found that, from the experience of Ban Pang e-ka village, restorative justice by community can directly and effectively deal with the dispute of victim and offender in rape case which the conventional justice never did. Not only the victims proudly and peacefully come back to society, but also the offenders are taught and developed. The most important, both victim and offender are not live in hate to another. However the restorative justice by community is not a convenience “model” to manage the dispute which can be transferred or copied. It can be said that the restorative justice by community is everyday-life practice of community in dealing with their conflict which based on political, cultural and economic structure in Ban Pang e-ka village where has free in working on their community issues, so that the decentralization is the first stone of restorative justice by community.

 

บทคัดย่อ

คดีข่มขืนเป็นคดีที่สร้างเสียหายให้แก่ผู้หญิงมากและเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม กลไกในการจัดการความขัดแย้งโดยรัฐ หรือ “กระบวนการยุติธรรม” นั้น ไม่สามารถตอบสนองกับสภาพปัญหาของคดีข่มขืนได้ทั้งด้วยลักษณะทั่วไปของคดีข่มขืนกระบวนการพิจารณา และกลไกในการลงทัณฑ์ด้วยเหตุนี้ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และกระบวนการยุติธรรมชุมชนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการเจือจางความเสียหายจากการข่มขืนลง ซึ่งพบจากประสบการณ์ของหมู่บ้านปางอีกาว่า กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์โดยชุมชนนั้นสามารถตอบโจทย์ที่กระบวนการยุติธรรมกระแสหลักไม่สามารถทำได้ คือการเยียวยาผู้เสียหายและฟื้นฟูผู้กระทำความผิด ผู้เสียหายสามารถกลับมายืนหยัดในสังคมได้อย่างสง่างาม ส่วนฝ่ายผู้กระทำความผิดก็ได้รับการอบรมและปรับปรุงตัว โดยที่สองฝ่ายไม่ได้เกลียดชังกัน อย่างไรก็ตาม กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์โดยชุมชนที่บ้านปางอีกานั้นไม่ได้เป็น “รูปแบบ” ในการจัดการความขัดแย้งที่สามารถเลียนแบบหรือส่งออกได้ เพราะกลไกการจัดการความขัดแย้งดังกล่าวเป็นวิถีในชีวิตประจำวันของชุมชนที่สรรค์สร้างมาด้วยความลงตัวทางการเมืองวัฒนธรรม และเศรษฐกิจภายในชุมชนที่เป็นอิสระจึงกล่าวได้ว่า การกระจายอำนาจโดยทั่วไปเป็นหินก้อนแรกของยุติธรรมเชิงสมานฉันท์โดยชุมชน

 

Author Biography

กฤษณ์พชร โสมณวัตร, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

น.ม. (นิติศาสตร์) อาจารย์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-01