<b>การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงที่บูรณาการเครื่องมือทางปัญญาโดยใช้การเรียนร่วมกันและใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดและการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ</b><br> An Integrated e-Learning Instructional Model Using Co

ผู้แต่ง

  • พิชามญชุ์ สุรียพรรณ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อนิรุทธ์ สติมั่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

Cognitive Tool, Instructional e-Learning model, Problem-Based Learning, การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก, เครื่องมือทางปัญญา, รูปแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง

บทคัดย่อ

The study objectives were to develop e-Learning model study the score of the critical thinking skill, problem solving thinking skill and team work skill. The samples were 33 undergraduate students registering the Innovation and Information Technology in Education course, in the first semester of 2016 academic year. Sample were selected by using sample random sampling. The research instruments were teaching model, lesson plans, learning management system. The results of the study revealed the e-Learning Instructional Model comprised 4 element and 5 stages and the operational stage which contained 5 steps. The skill of critical thinking and the problem solving thinking was statistically significant higher than before the implementation at .05. 3. The skill of team work was at high level ( X= 4.44, S.D. = 0.05).

  

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนการสอน ศึกษาผลคะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการคิดแก้ปัญหา และทักษะการทำงานเป็นทีม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ที่ลงทะเบียนเรียนวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ในภาคการศึกษาต้นปีการศึกษา 2559 จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนการสอน 2) บทเรียนอีเลิร์นนิง 3) แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหา 5) แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t-testและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี 4 องค์ประกอบ 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอนกิจกรรมการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงมี 5 ขั้นตอนและพบว่าทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมทั้งทักษะการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.44, S.D. = 0.05) 

Author Biographies

พิชามญชุ์ สุรียพรรณ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ค.อ.ม. (ครุศาสตร์เทคโนโลยี), อาจารย์

อนิรุทธ์ สติมั่น, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

กศ.ด. (เทคโนโลยีทางการศึกษา), ผู้ช่วยศาสตราจารย์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-05