การสื่อสารจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ชายแดนใต้ในชุมชนเชิงกายภาพและชุมชนออนไลน์ภายใต้ภาวการณ์ระบาดของโควิด-19

ผู้แต่ง

  • ยาสมิน ซัตตาร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สมัชชา นิลปัทม์ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • อิมรอน ซาเหาะ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, โควิด-19, พื้นที่ออนไลน์, เยาวชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวในการสื่อสารของกลุ่มคนรุ่นใหม่/เยาวชนชายแดนใต้ใน ชุมชนกายภาพและชุมชนออนไลน์ภายใต้ภาวะกรระบาดของโรคโควิด-19 ตลอดจนเพื่อพัฒนารูปแบบของกลไก การใช้การสื่อสารเชิงรุกในชุมชนและชุมชนออนไลน์ของคนรุ่นใหม่/เยาวชนในพื้นที่ชายแดนใต้ ที่จะสามารถใช้ ในการหนุนเสริมการทำงานของชุมชนในการป้องกันการแพร่ของโรคระบาดและแสวงหาความเป็นไปได้ในการใช้ กลไกนี้ภายใต้ภาวะความปกติแบบใหม่ งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ใช้วิธีการศึกษาผ่านงานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสัมภาษณ์ชิงลึกผู้ให้ข้อมูลจำนวน 9 คน จาก 3 กลุ่ม ประกอบด้วย The Motive, MUSLIMITED และกลุ่มคนรุ่นหม่ในพื้นที่บันนังสตา ประกอบกับการจัดสนทนากลุ่มร่วมกับตัวแทนที่เกี่ยวข้องกับงานสื่อสารใน ระดับพื้นที่ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับตัวอย่างและองค์กรสื่อในพื้นที่ ชายแดนใต้ การวิเคราะห์ข้อมูลได้ดำเนินการตามกรอบแนวคิดการสื่อสารในภาวะวิกฤต ผลการศึกษาพบว่า เยาวชนคนรุ่นใหม่สามารถมีบทบาทหนุนเสริมการสื่อสารในภาวะวิกฤตอย่างเรื่องโรคระบาดได้โดยเฉพาะในรูปแบบ ออนไลน์ รูปแบบการสื่อสารในชุมชนจากกลุ่มคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มจะเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลาย มีการตรวจสอบ ข้อมูลลวงหรือข่าวลือที่เกิดขึ้นในภาวะการเกิดโรคระบาด แล้วนำไปสื่อสารด้วยรูปแบบที่สร้างสรรค์ต่อทั้งในชุมชน เชิงกายภาพและชุมชนออนไลน์ได้ แม้ว่าจะเห็นบทบาทของเยาวชนคนรุ่นใหม่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ปรากฎ อยู่บ้างในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่ยังไม่พบกลไกรองรับที่เป็นระบบเมื่อเกิดภาวะวิกฤต ดังนั้น ชุมชนและองค์กรสื่อในพื้นที่ชายแดนใต้ควรมีมาตรการรับมือในภาวะวิกฤตและมีกลไกที่ชัดเจนในการให้ ทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ ซึ่งจะทำให้มีกลไกเสริมหากกลไกการสื่อสารของรัฐไม่ สามารถทำงานได้ในกรณีเกิดวิกฤต และทำงานหนุนเสริมในกรณีที่กลไกของรัฐในภาวะวิกฤตเริ่มเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งในมิติของชุมชนจำเป็นที่จะต้องผ่านการออกแบบจากคนในชุมชนเอง

References

Bamrungsuk, S., & Sathirathai, S. (2020). The post-covid world, security studies [Booklet]. Bangkok:

Square Print ‘93.

Bank of Thailand. (2021). The impact of a new wave of COVID-19 on Thailand’s economy. Retrieved May 18, 2021, from https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/Activities/

Documents/MediaBriefing2021/MediaBriefing_COVID19.pdf

Center for Conflict Studies and Cultural Diversity (CSCD). (2021). The Public opinion survey on the impact of COVID-19 and Government measures. Pattani: Center for Conflict Studies and Cultural Diversity.

Compact for young people in humanitarian action. (2020). COVID-19: Working with and for young

people. Retrieved May 20, 2022, from https://www.unfpa.org/sites/default/files/resourcepdf/

COMPACTCOVID19-05.pdf

Coronavirus: Ministry of Public Health-MOPH searches for peoples more than 500 who enter

boxing stadium and entertainment place concerned about spreading infection. (2020, March 20). BBC. Retrieved May 18, 2021, from https://www.bbc.com/thai/thailand-51971280

Jobsri, S. (2020). Ministry of Public Health’s communication in the situation of Coronavirus

Disease (COVID-19) pandemic, Journal of Communication Arts of STOU, 11(1), 13-29.

Kaewyasri, K. & Soontaraviratana, B. (2021) The guidelines and impact from Coronavirus Disease

(Covid-19) in Loei Province, Journal of Public Health, 7(1), 16-34.

Open mode: A new wave of COVID-19. (2021, February 4). ThaiPBS. Retrieved May 18, 2021,

from https:// news.thaipbs.or.th/content/30109

Rakngam, N. (2016). The concept of local identity in the context of changes in the era of

globalization, Nakhon Lampang Buddhist College’s Journal, 5(2), 62-74.

Rungrut, S., Maso, S., & Kadem, Y. (2020). The economic and social impacts from the COVID-19

pandemic toward the people in Yala Province. Journal of Social Science and Buddhistic

Anthropology, 6(2), 160-174.

Sa-idi, A., Hathairat, S., Puti, S., & Talek, M. (2020). The Phenomenon of Refusing Vaccination

Amongst Children in Thung Yang Daeng District, Pattani Province, The 4th National Conference on Power Beyond Limit For the Happiness of the Southern Region.

Sheikhul Islam of Thailand Sheikhul Islam Office. (2020). Announcement regarding measurement

to prevent the spread of COVID-19. Retrieved May 18, 2021, from https://skthai.org/th/news/category/3581-ประกาศจุุฬาราชมนตรีี .

Taleh, M. (2021). The Public opinion survey on the impact of Government measures to prevent

the spread of COVID-19. Pattani: Faculty of Nursing, Prince of Songkla University.

Thamprasit, P. (2012). Content Analysis of Communication for Crisis Management: A Cast Study

of Roosuflood Video Clip (Master of Communication Arts), Bangkok University.

The Standard Team. (2020). Thammasat University advices the state communicating One Team

One Voice through Owned Media to increase reliability and reduce critical confusion. Retrieved May 25, 2020, from https://thestandard.co/jc-thammasat-suggests-governmentone-team-one-voice-communication-due-covid-19/

Tworek, H., Beacock, I., & Ojo, E. (2020). Democratic health communications during COVID-19:

A RAPID response. Vancouver: UBC Centre for the Study of Democratic Institution.

UNICEF Kenya. (2020). Practical guidance for risk communication and community engagement

(RCCE) for refugees, Internally Displaced Persons (IDPs), migrants, and host communities

particularly vulnerable to COVID-19 pandemic. Retrieved May 22, 2021, from https://

www.unodc.org/documents/drug-prevention-and-treatment/Practical-Guidance-RCCERefugees-

IDPs-Migrants.pdf

World Health Organization, Country Office for Thailand. (2020). Situation reports the spread of COVID-19 Pandemic in Thailand by World Health Organization, Country Office for Thailand. Retrieved May 20, 2021, from https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/2020-04-28-tha-sitrep-66-covid19-th-final.pdf?sfvrsn=32566b60_0

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30