ลวดลายเรือกอและ: วิถีชีวิตและความเชื่อของชาวประมง ในจังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • จิรัชยา เจียวก๊ก  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สมฤดี สงวนแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ฐาณิดาภัทฐ์ แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

ความเชื่อ, ชาวประมง, เรือกอและ, ลวดลาย, วิถีชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวประมงผ่านลวดลายจิตรกรรมเรือกอและในจังหวัดนราธิวาส โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลเป็นช่างทำเรือกอและ ช่างเขียนลายเรือกอและ และชาวประมงที่ใช้เรือกอและ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในประเด็นความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวประมงผ่านลวดลายจิตรกรรมเรือกอและ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) ความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวประมงที่มีต่อลวดลายเรือกอและ เป็นความเชื่อที่มาจากเรื่องเล่าและตำนานต่าง ๆ ที่มีการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นในชุมชน อย่างเรื่องของนกบุหรงซีงอ นกฆาเฆาะซูรอ นกปักสิงฆ์ มีสัญชาตญาณในการดำน้ำหาปลาที่เก่ง ล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์กับคนในพื้นที่กระทั่งเรื่องราวต่าง ๆ ได้ซึมซับอยู่ภายใต้วิถีการดำรงชีวิต อันสะท้อนสู่ลวดลายจิตรกรรมเรือกอและ 2) ความสัมพันธ์ของลวดลายจิตรกรรมเรือกอและผ่านความเชื่อของชาวประมง จากตำนานความเชื่อและเรื่องเล่าของคนในชุมชนประกอบกับพื้นที่ในชุมชนเป็นพื้นที่แห่งการปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรม ส่งผลต่อการดำเนินวิถีชีวิตที่มีทะเลเป็นต้นทุนภายใต้วัฒนธรรมอันหลากหลาย กระทั่งเกิดเป็นลวดลายอันวิจิตรจากจิตวิญญาณผู้เป็นศิลปิน สู่การบรรจงลงบนผนังเรืออันประจักษ์ตลอดลำเรือกอและ ทั้งนี้ลวดลายต่าง ๆ แฝงไปด้วยความเชื่อ จิตวิญญาณ ความคิดสร้างสรรค์ที่สะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีชีวิตของคนในชุมชน

References

Chea Wae, H. (2022, 8 August). Ko Lae Boat’s painter. Interview.

Chewo, M. (2022, 7 August). Ko Lae Boat’s builder. Interview.

Comin, S. (1996). Belief. Retrieved on 28 May 2023, from http://www.stou.ac.th/Offices/rdec/udon/upload/socities9_10.html#a1

Je So Hoh, J. (2009). Appearance of Pattani locality (Master's Degree Thesis of Thai Art Program). Silpakorn University.

Jeawkok, J., Dhammasaccakarn, W., Laeheem, K., & Sangkaratd, U. (2016). Participatory development model for the community welfare by fishermen on the andaman coast. Journal of Social Development, 2(17), 21-35. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/100906

Jenkins, R. (2004). Social identity. New York: Routledge.

Jemae, T. (2022, 7 August). Fishermen who own the Ko Lae Boat. Interview.

Khantikul, P. (2009). A Study of community life at Pracharabuetham temple, Dusit District, Bangkok (Research report). Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.

Lamae, A. (2022, 7 August). Ko Lae Boat’s painter. Interview.

Narathiwat Provincial Office (2003). History of Kor Lae boats. Narathiwat: Narathiwat Provincial Office.

Natsupha, C. (1997). Thai culture and the social change movement. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Niyomrat, R. (2011). Research report on Thai Benjarong pattern identity. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.

Office of the National Cultural Commission. (1997). Cultural speech of cultural experts. Bangkok: Teachers Council Ladprao Printing House.

Phannarat, N. (2016). Constructing meaning about “Mae Yanang” of local fishermen in Songkhla Province. Academic Journal of Thonburi University, 10(23), 35-39.

Piromkaew, S. (2001). “Social Organization” Humans and Society. Bangkok: Thammasat University.

Pongsapich, A. (1990). Culture, Religion and Ethnicity: An Anthropological Analysis of Thai Society. Bangkok: Chulalongkorn University.

Rakprayoon, T. (2002). The dissemination of Japanese youth culture through media in Thailand. Bangkok: Chulalongkorn University.

Romratanaphan, W. (2005). Social capital. Bangkok: Learning Project for Happy Community.

Salai, A. (2022, 8 August). Fishermen who own the Ko Lae Boat. Interview.

Salai, H. (2022, 7 August). Fishermen who own the Ko Lae Boat. Interview.

Srisatjang, S. (1990). Social integration Thai Buddhist culture and Thai Muslims Appeared in playing casting in Kantang District, Trang Province (Master's Degree Thesis). Srinakharinwirot University, Songkhla.

Supap, S. (1998). Thai society and Thai culture, family values, religion, traditions. Bangkok: Thai Wattana Panich.

Trakulwaranon, P. (2009). Social capital and civil society: From theory to methodology. Bangkok: Sanya Thammasak Institute for Democracy Thammasat University.

Uma, A. (2022, 7 August). Ko Lae Boat’s builder. Interview.

Uma, M. (2022, 8 August). Ko Lae Boat’s builder. Interview.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-22