เพลง “ปูไข่ไก่หลง” : วิเคราะห์เชิงจิตวิทยาและสุนทรียภาพ

ผู้แต่ง

  • ประภาศ ปานเจี้ยง คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

คำสำคัญ:

การรับรู้อารมณ์, จิตวิทยา, เพลงลูกทุ่ง, สุนทรียภาพ

บทคัดย่อ

เพลง "ปูไข่ไก่หลง" เป็นเพลงลูกทุ่งอมตะของไทย มีอายุครบ 52 ปี ในปี 2567 ผู้ประพันธ์คำร้องคือฉลอง ภู่สว่าง ผู้ขับร้องครั้งแรกคือชายธง ทรงพล ขับร้องครั้งแรกเมื่อปี 2515 เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเยาะเย้ยผู้หญิงคนหนึ่งที่จากคนรักเก่าไปมีคนรักใหม่ที่มีฐานะทางสังคมดีกว่า เมื่อมีท้องกับคนรักใหม่และ ถูกทอดทิ้งจึงกลับมาหาคนรักเดิม แต่ไม่ได้รับความเมตตาปรานี ที่สำคัญคือถูกเยาะเย้ย ซ้ำเติม เพลงได้ความนิยมในระดับต้น ๆ ของบรรดาเพลงลูกทุ่งไทย ได้รับความนิยมยาวนานมาก และได้รับกปรยกย่องให้เป็นเพลงลูกทุ่ง ดีเด่นในโอกาสกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทยเมื่อปี 2534 มีนักร้องอื่นนำไปร้องอีก 9 คน ที่สำคัญเพลงนี้ได้รับการตอบรับในลักษณะความบันเทิงอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การรำวงของชาวบ้าน การเต้นของนักศึกษาที่ใช้เป็นเพลงเชียร์การเต้นของกิจกรรมการรับน้องใหม่ การร้องเพื่อความบันเทิงในขณะเดินทางแบบทัศนศึกษา ผู้เขียนบทความพบว่า 1) ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เพลงนีเกิดการรับรู้ กระตุ้นอารมณ์บันเทิง และอารมณ์การมีส่วนร่วมของคนในสังคมไทยจนโด่งดังและเป็นที่นิยมอย่างยาวนานเกินกึ่งศตวรรษนั้น เป็นเพราะทำนองเพลง ทำนองดนตรี และดนตรีสร้อยของเพลง ผู้ฟังและผู้มีส่วนร่วมในลักษณะอื่น ๆ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเยาะเย้ย ถากถางเสียดสี และซำเติม ตามเนื้อหาคำร้องของเพลง และไม่ได้ใช้เพลงนี้ไปเพื่อเยาะเย้ย ถากถาง เสียดสี และซ้ำเติม ผู้หญิงที่พลาดพลั้งเรื่องความรักแต่อย่างใด 2) เนื้อหาของเพลงเป็นการเยาะเย้ย ทั้งการแฝงนัย และการแฝงนัยเชิงโชคล้อ กล่าวคือผู้หญิงคนรักกลับมาในวันที่เธอไม่อยู่ในสภาพที่ชายคนรักเดิมจะกลับมารักใหม่ได้อีกแล้ว

References

Benjakul. (2024, January 2). The sweetness and fun of the song “Pu Khai Kai Long” Interview.

Bunmas. (2024, January 2). The sweetness and fun of the song “Pu Khai Kai Long”. Interview.

Jame, W. (1950). The principles of psychology. New York: Dover.

Jobkrabounwan, J. (2016). 2nd half-century of Thai country music. Retrieved from https://www.facebook.com/131078776961675/photos/a.172341949502024/1144853775584165/?type=3&locale=th_TH

Jitjumnong, D. (1998). Aesthetics in Thai language (3rd ed.). Bangkok: Sayam.

Kaewtaen, S. (2024, January 2). The sweetness and fun of the song “Pu Khai Kai Long”. Interview.

Kaewsataya. (2024, January 3). The sweetness and fun of the song “Pu Khai Kai Long”. Interview.

Nakavajara, C. (1972). Critical literature and literature studies. In Wanvaidayakon (Literature) (pp. 1–53). Bangkok: Textbook Project on Social Sciences and Humanities Society of Social Sciences of Thailand.

Phusawang, C. (2009). In Wikipedia, the free encyclopedia. Retrieved July 13, 2021, from https://en.wikipedia.org/wiki/Chalong,_Phuket

Royal Academy. (1996). Dictionary of literary terms: Figurative, rhetorical, and composing techniques. Bangkok: Royal Institute.

Schachter, S., & Singer, J. E. (1962). Cognitive, social, and psychological determinants of emotional state. Psychological Review, 69(5), 379–399.

Sompong. (2024, January 4). The sweetness and fun of the song “Pu Khai Kai Long”. Interview.

Wichawut, C. (1982). Fundamentals of psychology (1st ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Youth Encyclopedia Project Foundation. (2018). “Origin of country music” in Thai encyclopedia for youth, Volume 33. Retrieved from https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=33&chap=2&page=t33-2-infodetail01.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28