<b>ธรรมวิทยาแห่งพลเมืองมุสลิมไทยในโลกไซเบอร์: วาทกรรมว่าด้วยระบอบอิสลามกับประชาธิปไตย </b><br> Civic Religion of Thai Muslim Cyber Space Society: A Discourse on Islam and Democracy

ผู้แต่ง

  • พัชรธัญรัศม สะละหมัด ศูนยขาวสารสันติภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

คำสำคัญ:

Shura, Democracy, Thai citizens, Thai Muslim, Islam

บทคัดย่อ

Abstract
In the wake of digital world, cyberspace is one main popular channel in dispersing ideology, identity and social interaction. This information technology is quite popular among the educated and Muslim scholars in Thailand who make use of the cyber world in producing their own space in contributing and propagating mutual understanding both with insiders and outsiders. The research questions of this article are thus limited only to how Thai Muslims use cyberspace in creating mutual understanding to narrow down differences and how they live their lives as “Muslim” in Thai political society context. The study analyzes contents and comments on different websites and Muslim web boards during November 2008-April 2009 related to their discourses on Islam and Democracy, in posing and deposing leaders, and how to show their love and respect to the King. The result shows that some Thai Muslims make use of cyberspace in articulating a more accurate information and knowledge on Islam via writing blogged articles and responding to queries in web forums aiming at both reducing bias and misunderstanding and exposing standpoint on “Muslim” citizenship in “Thailand” 

Keywords: Shura; Democracy; Thai citizens; Thai Muslim; Islam 

บทคัดย่อ
ในโลกยุคการสื่อสารไร้พรมแดน ไซเบอร์คือ ช่องทางหนึ่งที่สำคัญและแพร่หลายในการใช้เผยแผ่ แนวคิด ตัวตน อัตลักษณ์หรือการมีปฏิสังสรรค์ของคนในสังคม ผู้รู้และปัญญาชนมุสลิมในประเทศไทยก็ใช้สื่อไซเบอร์เพื่อมีส่วนร่วม หรือสร้างพื้นที่เฉพาะของตนเองขึ้นมารังสรรค์ผลงานและสร้างความเข้าใจ ทั้งภายในและภายนอกสังคม บทความฉบับนี้ กำหนดโจทย์วิจัยที่การใช้สื่อไซเบอร์ในสังคมของพลเมืองมุสลิมไทยต่อประเด็นความต่างในความเป็นไทย ว่ามุสลิมไทยใช้สื่อไซเบอร์ในการสร้างความเข้าใจระหว่างกันเพื่อลดความต่างที่มีอย่างไร และจะดำรงตนเยี่ยงมุสลิมอย่างไรในบริบทสังคม(การเมือง) ไทยที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้ โดยแยกศึกษาทัศนะความคิดเห็นที่แสดงบนหน้าเว็บไซต์และเว็บบอร์ด(มุสลิม)ต่างๆ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2551-เมษายน 2552 ออกเป็น 3กรณีคือ กรณีแนวคิดเรื่องระบอบอิสลามกับประชาธิปไตย กรณีการแต่งตั้งและถอดถอนผู้นำ และกรณีการแสดงความเคารพสักการะองค์พระมหากษัตริย์ ผลการศึกษาพบว่า มุสลิมไทยส่วนหนึ่งใช้สื่อไซเบอร์ในการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับอิสลาม โดยผ่านข้อเขียนบนเว็บบล็อกและการเข้าไปตอบคำถามข้อข้องใจในเว็บบอร์ดต่างๆ ทั้งเพื่อลดอคติและความเข้าใจผิดของสังคมส่วนใหญ่ และแสดงจุดยืนในความเป็นพลเมือง“มุสลิม” ของ “ไทย” 

คำสำคัญ: การ “ชูรอ”, ประชาธิปไตย, พลเมืองไทย, มุสลิมไทย, อิสลาม 

Author Biography

พัชรธัญรัศม สะละหมัด, ศูนยขาวสารสันติภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

ปร.ด. (สาขาวิชาสหวิทยาการ) นักวิชาการ,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-04-01