0858974740

ผู้แต่ง

  • จันทิมา หัสนีย์ ภาควิชาประเมินผลการวิจัยทางการศึกษา
  • ชิดชนก เชิงเชาว์ Ph.D.(Educational Research and Testing), รองศาสตราจารย์
  • วิธิาดา สินประจักษ์ผล ภาควิชาการกศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

factor analysis, working morale, teacher, Yala province

บทคัดย่อ

Abstract
The purposes of this research were to analyze factors related to working morale of teachers in Yala province and to compare their working morale based on sex, job experience, and risk area. The subjects were 496 teachers in Yala. A questionnaire was used in data collecting while principal component analysis with Varimax rotation, means, standard deviation, and t-test were used in data analysis. The findings discovered 5 factors related to Yala teachers’ working morale, which included community rapports, administrative policies, interpersonal relationships, security and safety, and welfare and career advancement. The comparative analysis discovered that male and female teachers showed no difference in every factor related to their morale. However, teachers with different job experience showed differences in security and safety as well as welfare and career advancement at the significant level of .01, and in community rapports and interpersonal relationships at the level of .05. In similar way, teachers working in different risk areas had differences in security and safety at the significant level of .01, and in welfare and career advancement at the significant level of .05. It was recommended that qualitative research should be conducted to examine model in developing teachers’ morale based on opinions of those really affected by unrest situations in southern border provinces. 

Keywords: factor analysis; working morale; teacher; Yala province 

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและศึกษาความแตกต่างของขวั¬ญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในจังหวัดยะลา โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบ ระหว่าง เพศ และประสบการณ์การทำงานในโรงเรียนพื้นที่เสี่ยงภัยในจังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่างคือ ครูในจังหวัดยะลา จำนวน 496 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การวิเคราะห์ ตัวประกอบสำคัญ¬ แล้วหมุนแกนด้วยวิธีแวริแมกซ์ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่าขวั¬ญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในจังหวัดยะลา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ ความสัมพันธ์กับชุมชน นโยบายการบริหาร ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความมั่นคงปลอดภัย และสวัสดิการที่ได้รับ และความก้าวหน้าในอาชีพ การเปรียบเทียบองค์ประกอบของขวั¬ญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในจังหวัดยะลาพบว่า ครูเพศชายและครูเพศหญิงมีขวั¬ญและกำลังใจในการปฏิบัติงานทุกองค์ประกอบไม่แตกต่างกัน แต่ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีขวั¬ญและกำลังใจในการปฏิบัติงานในองค์ประกอบด้านความมั่นคงปลอดภัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคั¬ญทางสถิติที่ระดับ .01 และองค์ประกอบด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคั¬ญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีพื้นที่เสี่ยงภัยต่างกันมีขวั¬ญและกำลังใจในการปฏิบัติงานในองค์ประกอบด้านความมั่นคงปลอดภัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ¬ทางสถิติที่ระดับ .01 และองค์ประกอบสวัสดิการที่ได้รับและความก้าวหน้าในอาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคั-ญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะของการวิจัยคือ ควรมีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาขวัญ¬และกำลังใจของครูในพื้นที่ตามความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างแท้จริง 

คำสำคัญ ¬: การวิเคราะห์องค์ประกอบ, ขวัญ¬และกำลังใจในการปฏิบัติงาน, ครู, จังหวัดยะลา 

Author Biographies

จันทิมา หัสนีย์, ภาควิชาประเมินผลการวิจัยทางการศึกษา

นักศึกษาปริญญาโท (การวัดผลและวิจัยทางการศึกษา)

ชิดชนก เชิงเชาว์, Ph.D.(Educational Research and Testing), รองศาสตราจารย์

ภาควิชาประเมินผลการวิจัยทางการศึกษา

วิธิาดา สินประจักษ์ผล, ภาควิชาการกศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

Ed.D. (Reading), ผู้ช่วยศาสตราจารย์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-04-01