การพัฒนาพื้นที่ชายแดนเพื่อการค้าการลงทุนและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาพื้นที่ชายแดนของจังหวัดในประเทศไทยที่มีพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิดการพัฒนาเป็นช่องทางในการกระจายสินค้าและบริการมากขึ้น ซึ่งเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล ตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ในส่วนของการพัฒนาประเทศ ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา การสร้างสมรรถนะทางเศรษฐกิจในทุกระดับ และสิ่งที่สำคัญของการพัฒนาพื้นที่ชายแดน คือ การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ชายแดนต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และความมั่นคง ซึ่งปัจจัยการพัฒนาดังกล่าว จะต้องอาศัยข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลความพึงพอใจและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และข้อมูลแนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายแดนจากทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่ชายแดน บนพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนไปพร้อมกัน
Article Details
References
กรมการค้าต่างประเทศ. (2560). ดันการค้าชายแดนโนสวนทางการค้าโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2560. จาก https://www.ditp.go.th/contents_attach/160212/160212.pdf
กาญจนา ศรีพฤทธิ์เกียรติและคณะ. (2551). เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิตที่ดี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จินตนา บุญบงการ. (2552). สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). วี. พริ้นท์ (1991).
เชิญ ไกรนรา. (2555). การศึกษาการพัฒนาและการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในต่างประเทศ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
เชน น้อมศิริ. (2554). ปัญหาการค้าชายแดนไทย-พม่า. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชวินทร์ ลีนะบรรจง. (2554). เศรษฐศาสตร์ติดดิน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัตนา สายคณิตและชลลดา จามรกุล. (2552). เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 6). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560). แผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2560. จากhttps://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/115/1.PDF
บูฆอรี ยีหมะ. (2554). ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่3). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์. (2559). ความเหมาะสมในการเปิดด่านจุดผ่านแดนถาวรไทย-เมียนมา บ้านห้วยต้นนุ่น อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.
สุเทพ นิ่มสาย. (2558). ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนและสังคมเมืองชายแดนในเขตภาคเหนือต่อนโยบายประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : กรณีศึกษาเมืองชายแดนจังหวัดเชียงรายและจังหวัดตาก. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สมชนก ภาสกรจรัส. (2551). หลักการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.
สำนักงานศุลกากรที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่. ข้อมูลการค้าชายแดน. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2560. จาก https://www.customs.go.th/wps/wcm/connect/Library+cus501th/InternetTH/6/
Weidner W. (1962). Development Administration: A New Focus for Research, in Ferrel Heady and Sybil L.Stokes (ed). Papers in Comparative Administration. University of Michigan.
Wayne, P., Smith, P. and Mills, G. (1991). Human Resource Development: The Field. Prentice-Hall.