คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การเตรียมต้นฉบับ
1. ต้นฉบับพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ควรมีความยาว 10 -15 หน้า (รวมบทคัดย่อและบรรณานุกรมแล้ว) ทั้งนี้ให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ตามแบบ (Download Template) ที่กําหนดให้
2. รูปแบบตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษคือ TH SarabunPSK โดยชื่อเรื่องบทความให้ใช้ขนาดตัวอักษร 20 Point (หนา) อยู่กึ่งกลางกระดาษ หัวข้อหลักต่าง ๆ จัดพิมพ์ให้อยู่ชิดซ้ายสุดของกระดาษ ใช้ขนาดตัวอักษร 18 Point (หนา) ส่วนเนื้อเรื่อง/เนื้อหา ใช้ขนาดตัวอักษร 16 Point สําหรับตัวเลขในบทความให้ใช้เลขอารบิกอย่างเดียวโดยตลอด
3. บทความวิจัย และบทความทางวิชาการต้องมีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (Abstract) พร้อมทั้งคําสําคัญ (Keywords)
4. ตาราง แผนภูมิ รูป กราฟ ภาพประกอบ (ถ้ามี) ให้ผู้เขียนแทรกอยู่ในเนื้อเรื่อง โดยชื่อตารางอยู่ด้านบนของตาราง ส่วนชื่อแผนภูมิ รูป กราฟ ภาพประกอบให้อยู่ด้านล่าง ทั้งนี้ ข้อความที่ปรากฏทั้งหมดให้นําเสนอเป็นภาษาอังกฤษ
5. การอ้างอิง ใช้ตามแบบที่วารสารมหาวิทยาลัยพายัพกําหนด ทั้งนี้เอกสารอ้างอิงให้แยกเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (เรียงตามลําดับตัวอักษร)
คำแนะนำในการเขียนบทความ
บทความวิจัย ประกอบด้วย
ส่วนต้น ได้แก่
(1) ชื่อเรื่อง (Title): ใช้เป็นภาษาไทยก่อน จากนั้นเป็นภาษาอังกฤษอยู่ใต้ชื่อภาษาไทย
(2) ชื่อผู้เขียน (Author) และผู้เขียนร่วม (Co-author) (ถ้ามี): ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุล ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนใน Footnote ให้ระบุตำแหน่งทางวิชาการ ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ รวมทั้งอีเมล (e-mail) ด้วย (ถ้ามี) กรณีเป็นนักศึกษา ให้ระบุหลักสูตร และสถาบันการศึกษา
(3) บทคัดย่อภาษาไทยความยาวไม่เกิน 250 คำ และบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) ความยาวไม่เกิน 200 คำ
(4) คำสำคัญ (Keywords): ให้ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใส่ไว้ถัดจากบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรมี 3-4 คำ
ส่วนเนื้อหา ควรประกอบไปด้วย
(1) ความเป็นมา/บทนำ (Background/Introduction): ได้แก่ ประเด็นที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
(2) วัตถุประสงค์การวิจัย (Research objectives)
(3) ปัญหานำการวิจัย/คำถามการวิจัย/สมมติฐานการวิจัย (Researchable problems/ Research questions/Hypothesis)
(4) ขอบเขตการวิจัย (Research scope)
(5) การทบทวนวรรณกรรม (Literature review)
(6) กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual framework)
(7) วิธีดำเนินการวิจัย (Methodology): ได้แก่ การอธิบายถึงประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (Population and samples) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection instruments) และการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล (Data analysis and interpretation)
(8) ผลการวิจัย (Research results)
(9) การอภิปรายผล (Discussion of results)
(10) บทสรุปและข้อเสนอแนะ (Conclusion and suggestions)
(11) เอกสารอ้างอิง (References): ได้แก่ รายชื่อเอกสารที่ใช้ในการค้นคว้าวิจัย เรียงตามลำดับตัวอักษร เริ่มจากเอกสารภาษาไทย เอกสารภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่น และเอกสารจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์
บทความทางวิชาการ ประกอบด้วย
ส่วนต้น ได้แก่
(1) ชื่อเรื่อง (Title): ใช้เป็นภาษาไทยก่อน จากนั้นเป็นภาษาอังกฤษอยู่ใต้ชื่อภาษาไทย
(2) ชื่อผู้เขียน (Author) และผู้เขียนร่วม (Co-author) (ถ้ามี): ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุล ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนใน Footnote ให้ระบุตำแหน่งทางวิชาการ ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ รวมทั้งอีเมล (e-mail) ด้วย (ถ้ามี) กรณีเป็นนักศึกษา ให้ระบุหลักสูตร และสถาบันการศึกษา
(3) บทคัดย่อภาษาไทยความยาวไม่เกิน 250 คำ และบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) ความยาวไม่เกิน 200 คำ
(4) คำสำคัญ (Keywords): ให้ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใส่ไว้ถัดจากบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรมี 3-4 คำ
ส่วนเนื้อหา ควรประกอบไปด้วย
(1) ความเป็นมา/บทนำ (Background/Introduction): ได้แก่ ประเด็นที่มาและความสำคัญของประเด็นที่ต้องการนำเสนอ
(2) เนื้อหา (Content): นำเสนอประเด็นของเรื่องที่น่าสนใจในวงวิชาการ และ/หรือ ในสังคมตามสาขาที่ตนถนัดหรือชำนาญ โดยมีการสำรวจวรรณกรรมที่น่าเชื่อถือ นำความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ จนสามารถสรุปผลและแสดงทัศนะทางวิชาการของผู้เขียนได้อย่างชัดเจน
(3) บทสรุปและข้อเสนอแนะ (Conclusion and suggestions)
(4) เอกสารอ้างอิง (References): ได้แก่ รายชื่อเอกสารที่ใช้ในการค้นคว้า เรียงตามลำดับตัวอักษร เริ่มจากเอกสารภาษาไทย เอกสารภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่น และเอกสารจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ขั้นตอนการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์
1. ผู้เขียนบทความ - ผู้เขียนลงทะเบียนเพื่อใช้งานระบบ Thaijo 2.0 เพื่อดำเนินการ ส่งบทความ และ แบบเสนอบทความ (Download DOC / PDF) ทางออนไลน์ผ่านระบบ ที่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/about/submissions
2. กองบรรณาธิการจะตอบกลับท่านเพื่อแจ้งข้อมูลช่องทางการชำระเงิน ทั้งนี้วารสารมหาวิทยาลัยพายัพขอสงวนสิทธิ์สำหรับบทความทุกบทความที่ส่งและโอนเงินค่าตีพิมพ์มาแล้วไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ไม่ว่ากรณีใดๆ
*การออกใบเสร็จรับเงิน เมื่อท่านโอนเงินผ่านบัญชีดังกล่าวแล้วขอให้ส่งหลักฐานการโอนเงิน ชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนบทความและที่อยู่มายังกองบรรณาธิการทาง Email: journal@payap.ac.th เพื่อจะดำเนินการให้สำนักการเงินมหาวิทยาลัยออกใบเสร็จรับเงินและจัดส่งให้ผู้เขียนบทความต่อไป
3. สมัครสมาชิกวารสารมหาวิทยาลัยพายัพ (Register) *สำหรับผู้แต่งท่านใดที่ยังไม่ได้เป็น สมาชิกวารสารมหาวิทยาลัยพายัพ
4. Login เข้าสู่ระบบวารสารออนไลน์ (Login)
5. การส่งบทความ (Submissions)
6. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้อ่านบทความของท่านแล้ว ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งข้อเสนอแนะกลับไปยังผู้เขียนบทความในระบบวารสารออนไลน์ และทางอีเมล์ให้ท่านทราบ และขอให้ท่านดำเนินการแก้ไขบทความต่อไป
7. ผู้เขียนบทความตรวจสอบความถูกต้องของบทความ
การชำระเงินค่าตีพิมพ์บทความ
หากท่านส่งอีเมล์รายละเอียดมาแล้ว ทางกองบรรณาธิการจะตอบกลับท่านเพื่อแจ้งข้อมูลช่องทางการชำระเงิน ตามรายละเอียด ดังนี้
ให้ท่านชำระเงินค่าตีพิมพ์ (ค่าตรวจประเมินอ่านบทความ)
- บทความภาษาไทย 4,000 บาท (สี่พันบาทถ้วน)
- บทความภาษาอังกฤษ 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)
ชื่อบัญชี (Account Name) “มหาวิทยาลัยพายัพ” (Payap University)
- บัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบิ๊กซี (Big-C) เชียงใหม่ 2 หมายเลขบัญชี (Account No.) 405-027083-7
- บัญชี ธนาคารกรุงเทพ สาขาสันป่าข่อย หมายเลขบัญชี (Account No.) 253-066469-3
- บัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาสันป่าข่อย หมายเลขบัญชี (Account No.) 502-135428-0
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
1. สำนักงานฝ่ายวิชาการและวิจัย 053-851-478-86 ต่อ 344
2. บรรณาธิการ อาจารย์ ดร.ชลธิชา รุ่งสาตรา