ปัญหาการออกเสียงและการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยให้นักศึกษาจีน

Main Article Content

เสาวนีย์ ดำรงโรจน์สกุล
สุภา พูนผล

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการเรียนภาษาไทยกำลังเป็นที่นิยมสำหรับนักศึกษาจีน ด้วยเหตุที่ภาษาไทยและภาษาจีนมีเสียงที่แตกต่างกัน ทำให้นักศึกษาจีนประสบปัญหาในการเรียนรู้ภาษาไทย จากประสบการณ์การสอนภาษาไทยให้นักศึกษาจีนในระดับต้นพบว่า นักศึกษาจีนมีปัญหาการเรียนภาษาไทย โดยเฉพาะการออกเสียงภาษาไทยให้ถูกต้องชัดเจน ซึ่งมีผลต่อการเรียนในระดับที่สูงขึ้น ในบทความนี้ผู้เขียนศึกษาความแตกต่างของเสียงในภาษาไทยและภาษาจีนทั้งด้านเสียงพยัญชนะ เสียงสระและเสียงวรรณยุกต์ ที่นำไปสู่ปัญหาการออกเสียงภาษาไทยของนักศึกษาจีน และนำเสนอการจัดการเรียนการสอนการออกเสียงภาษาไทยในแง่มุมที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า และประสบการณ์ในการสอนภาษาไทยระดับต้นให้นักศึกษาจีน เพื่อประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ตลอดจนช่วยให้ผู้เรียนออกเสียงภาษาไทยได้ถูกต้องและชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย

Article Details

How to Cite
ดำรงโรจน์สกุล เ., & พูนผล ส. (2018). ปัญหาการออกเสียงและการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยให้นักศึกษาจีน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27(2), 31–40. https://doi.org/10.14456/pyuj.2017.24
บท
บทความวิชาการ

References

นวลทิพย์ เพิ่มเกสร. (2551). ปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. วรรณวิทัศน์, 1 (8), 146–159.

นิภา กู้พงษ์ศักดิ์. (2555). ปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาต่างชาติ: กรณีศึกษานักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 31 (1), 123-139.

วรพงศ์ ไชยฤกษ์. (2549). ลักษณะการเรียนรู้และกลวิธีการเรียนรู้ภาษาไทยของชาวต่างประเทศที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 18 (1), 74-90.

ศรีวิไล พลมณี (2545). พื้นฐานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. ศูนย์ไทยศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุนีย์ ลีลาพรพินิจ. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบระบบเสียงในภาษาไทยกับภาษาจีน เพื่อประโยชน์ในการสอนภาษาไทยระดับพื้นฐานในฐานะภาษาต่างประเทศ. สุทธิปริทัศน์, 30 (93), 33-46.

สุรีวรรณ เสถียรสุคนธ์. (2554). การสอนภาษาไทยให้แก่นักศึกษาชาวจีน: สภาพ ปัญหา และแนวทางแก้ไข. วารสารมนุษยศาสตร์, 18 (1), 127-140.