ปัญหาการควบคุมตัวผู้ถูกกล่าวหาในพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545

Main Article Content

ธัชพงษ์ วงษ์เหรียญทอง

บทคัดย่อ

ด้วยการยอมรับแนวคิดของนักอาชญาวิทยาสมัยใหม่ที่ว่าผู้ติดยาเสพติดมิใช่อาชญากรแต่เป็นผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูให้หายจากอาการติดยาเสพติดโดยไม่ต้องรับโทษในทางอาญาประเทศต่าง ๆ จึงได้ร่วมกันกำหนดให้มีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ.1988 The United Nation Convention against illicit Traffic in Narcotic Drug and Psychotropic Substance, 1988 ขึ้นโดยมีข้อกำหนดให้ผู้ติดยาเสพติดต้องเข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพให้กลับสู่สังคมตามปกติ โดยใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือ ทั้งนี้ ประเทศต่างๆ เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศมาเลเซีย ได้มีการออกกฎหมายเพื่อบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพื่อรองรับแนวคิดดังกล่าวด้วย


สำหรับประเทศไทยได้มีการออกกฎหมายฉบับหนึ่งที่มีชื่อว่า พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 และได้นำมาตรการแทนการดำเนินคดีอาญา (Diversion) มาบังคับใช้ในชั้นก่อนการพิจารณา โดยให้พนักงานอัยการสั่งชะลอการฟ้องเพื่อควบคุมตัวผู้ติดยาเสพติดไปเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าอำนาจในการสั่งชะลอฟ้องดังกล่าว เป็นการขัดต่อหลักการชะลอฟ้องโดยทั่วไปและหลักการแบ่งแยกอำนาจกล่าวคือ การชะลอฟ้องพนักงานอัยการจะเป็นผู้พิจาณาสำนวนคดี ถ้าการกระทำของผู้ต้องหานั้นครบองค์ประกอบความผิด แต่ว่าการฟ้องคดีไปอาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดี พนักงานอัยการอาจใช้ดุลยพินิจในการสั่งชะลอฟ้องโดยบังคับให้มีการใช้วิธีการคุมประพฤติผู้ต้องหาไว้ก่อนที่จะมีการฟ้องคดีผู้ต้องหาต่อศาลซึ่งหากพิจารณาแล้วจะเห็นว่าการชะลอฟ้องโดยทั่วไปพนักงานอัยการไม่มีอำนาจในการสั่งควบคุมตัวผู้ต้องหาเหมือนกับพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545นอกจากนี้การควบคุมตัวบุคคลถือเป็นการจำกัดเสรีภาพของบุคคลอย่างหนึ่ง ดังนั้นองค์กรที่จะใช้อำนาจในการสั่งควบคุมตัวบุคคลได้ควรจะเป็นองค์กรตุลาการ

Article Details

How to Cite
วงษ์เหรียญทอง ธ. (2018). ปัญหาการควบคุมตัวผู้ถูกกล่าวหาในพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27(2), 41–54. https://doi.org/10.14456/pyuj.2017.22
บท
บทความวิชาการ

References

จิรนิติ หะวานนท์. (2543). สิทธิทางวิธีพิจารณาความอาญาตามรัฐธรรมนูญ. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพมหานคร :บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.

ธัชพงษ์ วงษ์เหรียญทอง. (2560). อำนาจลงโทษความผิดสากลกับการลงโทษซ้ำตามประมวลกฎหมายอาญาไทย วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ. ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2560).

ปรีดี เกษมทรัพย์. (2531). นิติปรัชญา.(พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพ: มิตรนราการพิมพ์.

สมบูรณ์ ประสพเนต. (2525).ปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และไทย. วารสารราชทัณฑ์. ปีที่ 30 (54).

พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเพสติด พ.ศ. 2545

Dangerous Drug (Amendment) 1984

Rebert L. Smith.(1978). Community Correction: Rhetoric in search of Reality. Resources Material Series No. 14(16-18).

Sentencing Act 1991

The Dangerous Ordinance 1952

The Narcotic Addict Rehabilitation Amendments of 1971

The United Nation Convention against illicit Traffic in Narcotic Drug and Psychotropic Substance, 1988