ลักษณะปฏิสัมพันธ์การสื่อสารจากพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์ของคนไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสารแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือการปฏิสัมพันธ์แบบผิวเผิน (reactive) การปฏิสัมพันธ์แบบมีบทบาทแลกเปลี่ยน (proactive) และการปฏิสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมและตัดสินใจ (mutual) ในแต่ละรูปแบบ มีระดับการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สื่อมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน โดยแต่ละระดับเหมาะสมสำหรับผู้ใช้สื่อที่มีความแตกต่างกันด้านปัจจัยส่วนบุคคล ทั้งด้านเพศ อายุ การศึกษาและภูมิหลังอื่น ๆ ซึ่งระบบปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสารทั้ง 3 รูปแบบ ถูกใช้ในการออกแบบสื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์
ระบบการปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสารผ่านสื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์ดังกล่าว เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้สื่อมีความรู้สึกได้มีปฏิสัมสัมพันธ์โต้ตอบและมีส่วนร่วมกับสื่อและสมาชิกเครือข่ายรู้สึกได้ใกล้ชิด มีการปฏิสัมพันธ์กับคู่สนทนาแลกเปลี่ยน และรู้สึกได้ควบคุมการสื่อสาร ซึ่งระบบการปฏิสัมพันธ์ที่ถูกออกแบบให้ใช้ในสื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์นั้น ได้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมทั้งในบทบาทของผู้บริโภคข้อมูลในการปฏิสัมพันธ์ระดับผิวเผิน บทบาทในการแลกเปลี่ยนในการปฏิสัมพันธ์ระดับแลกเปลี่ยน และบทบาทในการสร้างสรรค์ในการปฏิสัมพันธ์ระดับมีส่วนร่วมและตัดสินใจ จึงทำให้แต่ละผู้ใช้สื่อที่มีปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ต่างก็มีพื้นที่และจุดที่ตนเองพึงพอใจในโลกสังคมเครือข่ายออนไลน์ จึงเป็นเหตุให้สื่อดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างแพร่ในปัจจุบัน ดังนั้นหากผู้ผลิตสื่อนำแนวคิดเรื่องการปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสารนี้ ไปประยุกต์ใช้ในสื่ออื่น ๆ ที่จะทำให้เกิดประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์หรือการเรียนรู้ ก็จะทำให้ได้รับความสนใจจากผู้ใช้ อันจะส่งผลทำให้เกิดการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนและสร้างสรรค์ในด้านต่าง ๆ เพื่อจะนำพาให้สังคมโดยรวมพัฒนาไปในทิศทางที่ดีมากขึ้น
Article Details
References
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กำรมหาชน). 2559. รายงานผลสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประเทศไทย 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
Gráinne Conole and Karen Fill. 2005. A learning design toolkit to create pedagogically effective learning activities. Journal of Interactive Media in Education (Advances in Learning Design). Special Issue, eds. Colin Tattersall, Rob Koper), 2005/08 ISSN:1365-893X. Retrieved December 23, 2016, from https://jime.open.ac.uk/ 2005/08
Lev Manovich. 2001. The Language of New Media. MIT Press, MA, USA
McLuhan, Marshall. 1964. Understanding Media: The Extensions of Man. Cambridge, MA: MIT Press.
Rod Sims. 1997. Interactivity: A Forgotten Art? In Computers in Human Behavior, 13(2), May 1997, 157-180
Schwier, R.A. & Misanchuk, E. 1993. Interactive Multimedia Instruction. Englewood Cliffs, NJ.: Educational Technology Publications.
Vorderer Peter, Knobloch Silvia and Schramm Holger. 2001. Interactivity? The Impact of Watching an Interactive TV Movie on Viewers’ Experience of Entertainment. Media Psychology. NJ.: Lawrence Erlbaum Associates, Inc.
William J. Schroer. 2015. “Generations X, Y, Z and the others”. Retrieved January 10, 2017 from https://socialmarketing.org/archives/generations-xy-z-and-the-others