การพัฒนาทักษะการใช้ไวยากรณ์ภาษาไทยสำหรับนักศึกษาชาวจีน

Main Article Content

อัจฉราภรณ์ จันทร์สว่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดฝึกการเรียงคำในประโยคภาษาไทยสำหรับนักศึกษาชาวจีนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อศึกษาผลการใช้ชุดฝึกการเรียงคำในประโยคภาษาไทยสำหรับนักศึกษาชาวจีน หลักสูตรประกาศนียบัตรภาษาไทยเพื่อความเป็นครู 8 เดือน จากมหาวิทยาลัยครุศาสตร์ มณฑลยูนนาน ประเทศจีน กำลังศึกษา ณ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มประชากรการวิจัยได้แก่ นักศึกษาชาวจีนที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ หลักสูตรประกาศนียบัตรภาษาไทย เพื่อความเป็นครู 8 เดือน จากมหาวิทยาลัยครุศาสตร์ มณฑลยูนนาน ประเทศจีน กำลังศึกษา ณ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จังหวัดเชียงใหม่ ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยชุดฝึกการเรียงคำในประโยคภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชาวจีน และแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน ชุดการเรียงคำในประโยคภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชาวจีน


ผลการวิจัยพบว่า ชุดฝึกการเรียงคำในประโยคภาษาไทย สำหรับผู้เรียนชาวจีน มีประสิทธิภาพของคะแนนระหว่างเรียนและหลังเรียนเป็น 80.49/86.96  ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ซึ่งหลังจากที่นักศึกษาใช้ชุดฝึกการเรียงคำในประโยคภาษาไทย แล้ว นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ยแตกต่างจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05โดยมีคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนการทดสอบก่อนเรียน

Article Details

How to Cite
จันทร์สว่าง อ. (2018). การพัฒนาทักษะการใช้ไวยากรณ์ภาษาไทยสำหรับนักศึกษาชาวจีน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27(2), 67–79. https://doi.org/10.14456/pyuj.2017.17
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ (2545). หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

เกียรติสุดา บุญส่ง และคณะ. (2553). การใช้ชุดฝึกการอ่าน-เขียนสะกดคำภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีน. มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

กำชัย ทองหล่อ. (2537). หลักภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่10) กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

จันจิรา จิตตะวิริยะพงษ์. (2546). อิทธิพลภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการสอนระดับประถมศึกษาหน่วยที่8-15. (พิมพ์ ครั้งที่20) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เปลื้อง ณ นคร. (2510). วิชาประพันธ์ศาสตร์ว่าด้วยร้อยแก้ว ฉบับที่1-9 คำบรรยายภาษาไทยชั้นสูงของชุมนุมภาษาไทย. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

ทัศนีย์ องค์สรณะคมกุล. (2546). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 โรงเรียนสาธิตแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม: วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ คณะศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ทิพวรรณ นามแก้ว. (2535). แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนคำที่มีพยัญชนะ น ง ด ม ก บ เป็นตัวสะกด สำหรับนักเรียนชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทองพูน จุลเดช. (2544). การพัฒนาแผนการสอนการเขียนคำในมาตราตัวสะกดแม่กนโดยใช้สื่อประสมสำหรับนักเรียนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พัชรธิดา วงศ์ใจหาญ. (2546). กลวิธีการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง-พูด ภาษาอังกฤษและกลวิธีในการสื่อสารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี: วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รัชตพล ชัยเกียรติธรรม. (2551).ประสิทธิผลการเรียนรู้จากแบบฝึกการเขียนสะกดคำภาษาไทยระดับพื้นฐานในวิชาการอ่านและการเขียนเบื้องต้นสำหรับผู้เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ.มหาวิทยาลัยพายัพ.

รัตน์เรขา ฤทธิศร.(2548). การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสนทนาภาษาไทยสำหรับผู้เรียนภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ.วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 17 (2) 109.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2550). การวิเคราะห์ประโยคภาษาไทยใน สารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย๔๓ 10(10).

วราภรณ์ บำรุงกุล. (2539). อ่านถูก สะกดถูก คำ ความหมายประโยค. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.

ศศิธร อินตุ่น. (2535). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 . วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริลักษณ์ สกุลวิทย์. (2545). แบบฝึกการออกเสียงและการเขียนคำที่สะกดด้วยแม่กด สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง. การศึกษาค้นค้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์. (2545). คู่มือการสอนภาษาไทยเบื้องต้นในบริบทไทยศึกษาสำหรับชาวต่างชาติ. กรุงเทพ: โครงการร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาไทยบนฐานของไทยคดีศึกษาทบวงมหาวิทยาลัย.

สมพิศ มาพวง. (2541). การพัฒนาแบบฝึกการเขียนคำภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สนิท สัตโยภาส. (2531). การสร้างแบบฝึกเพื่อช่วยสอนซ่อมเสริมสำหรับนักเรียนชาวเขาชั้นประถมศึกษาปีที่1ที่มีปัญหาด้านการออกเสียงตัวสะกดไม่ชัด. เชียงใหม่:วิทยาลัยครูเชียงใหม่ สหวิทยาลัยล้านนา.

สุนันทา ทองประเสริฐ. (2544). การสร้างแบบฝึก.ชัยนาท: ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย.

โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล (2554). ภาษาไทย1. (พิมพ์ครั้งที่5) กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.

อดุลย์ รัตนมั่นเกษม. (2554). หลักไวยากรณ์จีน ฉบับศึกษาด้วยตนเอง. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: เต๋าประยุกต์.