ความพร้อมของกิจการในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ: กรณีศึกษาผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิ จังหวัดยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพร้อมของกิจการของผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิในจังหวัดยโสธร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการส่งออกข้าวหอมมะลิทั้งหมดในเขตพื้นที่จังหวัดยโสธร จำนวน 49 ราย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำข้อมูลจากแบบสอบถามไปประมวลผลโดยใช้เครื่องมือ CORE™ ในการคำนวณผลลัพธ์ระดับความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการส่งออกข้าวหอมมะลิในจังหวัดยโสธรมีระดับความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศในระดับปานกลาง ( = 3.35) และเมื่อพิจารณาประเด็นย่อยพบว่า ผู้ประกอบการส่งออกข้าวหอมมะลิในจังหวัดยโสธร มีค่าเฉลี่ยปัจจัยด้านแรงจูงใจในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศอยู่ในระดับสูง ( = 3.74) มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลางได้แก่ ความมุ่งมั่นของผู้ประกอบการและผู้บริหารระดับสูง ( = 3.45) ความสามารถในการแข่งขันภายในประเทศ ( = 3.44) ทักษะ ความรู้ และทรัพยากรขององค์กร ( = 3.23) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ( = 3.23) และประสบการณ์และการฝึกอบรม ( = 3.05)
Article Details
References
ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ. (2555).การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Management).กรุงเทพฯ:เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดยโสธร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสาขาการพาณิชย์และสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดยโสธร. ยโสธร: สำนักงาน. (เอกสารอัดสำเนา).
Athanassiou, N., & Night, D. (2000). Internationalization tactic knowledge and the top management team of MNCs. Journal of International Business Studies, 31 (3), 471-478.
Bartlett, C.A. & Ghoshal, S. (2000). Transition management: Text, cases, and reading in cross-border management. 3rded. Singapore: Irwin McGraw-Hill.
Burpitt, W.J., & Rondinelli, D.A. (2000). Small firmsmotivation for exporting: To earn and learn. Journal of Small Business Management, 38 (4), 1-14.
Carpenter,M.A., Sanders, W.G. &Gregerson, H. (2000). International experience at the top makes a bottom lines difference. Human Resource Management, 39(2-3), 277-285.
Cavusgil, T.S., Knight, G. &Riesenburger, J.R. (2008). International Business: the new realities. New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Diminatos, P., & Emmanuella, P. (2003). Theoretical foundations of an International entrepreneurial culture. Journal of International Entrepreneurships, 1 (2),-215.
Holm-Olsen, F. (Ed.). (2009). Best Practices in Determining Export Readiness. Washington, D.C.: United State Agency International Development.
Leonido, L., Katsikeas, C., & Piercy, N. (1998). Identifying managerial Influence on exporting: Past research and Future directions. Journal of International Marketing,6(2), 74-103.
Manolova, S.T., Bruce, C.G., & Piercy, N. (2002). Internationalization of small firm: international Factors revisited. International Small Business Journal,20(1), 9-13.
Mehran, J. &Moini, A.H. (1999). Firm’ export behavior. American Business Review,17 (1),-93.
Simmonds, K., & Smith, H. (1968).The first export order: A marketing Innovation. British Journal of Marketing, 2 (2), 93-100.
Westhead, P., Wright, M., &Ucbasaran, D. (2001). The Internationalization of new and small firms: A resource base view. Journal of Business Venturing, 16 (4), -358.
Yip, G.S., Biscarri, G.,& Monti, J.A. (1999). The role of the internationalization process in the performance of newly internationalizing firms.Journal of International Marketing, 8 (3), 10-35.