ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพคล่องกับอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ดัชนี SET100 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพคล่องกับผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่อยู่ในดัชนี SET100 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 – 2558 โดยทดสอบกับแบบจำลองสามปัจจัยของ Fama and French (1993) ที่มีการเพิ่มปัจจัยสภาพคล่องเข้าไปในแบบจำลอง โดยใช้อัตราการหมุนของหลักทรัพย์เป็นตัววัดสภาพคล่อง ผลการศึกษาพบว่า อัตราการหมุนของหลักทรัพย์มีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่อยู่ในดัชนี SET100 ในทิศทางตรงกันข้ามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่สามารถอธิบายได้เพียงบางหลักทรัพย์เท่านั้นจากจำนวนทั้งหมด 66 หลักทรัพย์ และเมื่อเปรียบเทียบกับแบบจำลองสามปัจจัย พบว่าความสามารถในการอธิบายผลแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการเพิ่มปัจจัยสภาพคล่องที่ใช้อัตราการหมุนของหลักทรัพย์เป็นตัวแปรเพิ่มในแบบจำลองสามปัจจัยของ Fama-French ยังไม่มีความเหมาะสมพอที่จะนำมาใช้ในการอธิบายอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่อยู่ในดัชนี SET100
Article Details
References
จิราลักษณ์ สุวรรณสิริ. (2545). สภาพคล่องและอัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญ : การศึกษาจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐพงศ์ รู้ซื่อ. (2547). การทดสอบแบบจำลอง Fama-French ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์, วีระพงศ์ อุทธารัตน์. (2558). การเปรียบเทียบแบบจำลอง CAPM และแบบจำลอง 3 ปัจจัย ในการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์. Journal of Management Sciences Vol.32, No.1, January-June 2015.
ภูริวัจน์ อดิเรก. (2558). ผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการและการจัดกิจกรรมบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุนต่อสภาพคล่องของหลักทรัพย์ : กรณีศึกษาจากบริษัทในดัชนี SET50 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วัชระ พันธ์แตง. (2551). การเปรียบเทียบความสามารถของแบบจำลอง CAPM APT และ Fama and French ในการทำนายอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์กลุ่ม SET50. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
อัครพงศ์ อั้นทอง. (2550). คู่มือการใช้โปรแกรม EViews เบื้องต้น : สำหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Amihud, Y. and Mendelson, H. (1986). Asset pricing and bid-ask spread. Journal of Financial Economics 17: 223-249.
Amihud, Y, (2002). Illiquidity and stock returns: cross section and time series effect. Journal of Financial Markets 5: 31-56.
Emmanouil Syniorakis. (2014). Liquidity pricing at the London Stock Exchange. Erasmus School of Economic, Department of Finance, Eramus University Rotterdam.
Fama, E. and French, k. (1993). The cross section of expected stock returns. Journal of Finance 47: 427-465.
Keene Marvin A. and David R. Peterson. (2007). The importance of liquidity as a factor in asset pricing. The Journal of Financial Research 30: 91-109.
Sharp, W.F. (1964). Capital Asset Prices: A theory of market equilibrium under condition of risk. Journal of Finance 19: 425-442.