ผลของการบริหารจัดการผลกระทบที่เกิดจากการปนเปื้อนของสารแคดเมียมในพื้นที่ตำบลแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

Main Article Content

เลิศ อินทะวาฬ
ณรงค์ศักดิ์ จันทร์นวล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบริหารจัดการผลกระทบ ปัญหาและอุปสรรคและแนวทางการบริหารจัดการผลกระทบที่เกิดจากการปนเปื้อนของสารแคดเมียมในพื้นที่ตำบลแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยศึกษาผลของการบริหารจัดการผลกระทบด้านการเกษตร อาชีพ การฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนสารแคดเมียม การป้องกันและควบคุมมลพิษ และสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ และประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ใช้วิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ตำบลแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เดิมทำอาชีพการเกษตรคือ ปลูกข้าว ปลูกกระเทียม ถั่วเหลือง แต่หลังจากบริษัทเอกชนเข้ามาทำเหมืองแร่สังกะสีแล้ว ผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่มีการปนเปื้อนของสารแคดเมียม ทำให้เกิดความเดือดร้อน ซึ่งต่อมาหน่วยงานภาครัฐได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือในด้านสาธารณสุข ด้านการเกษตรให้ปลูกพืชอื่นทดแทนการปลูกข้าว ปลูกข้าวโพด อ้อย และปาล์ม ด้านอาชีพให้เลี้ยงโคขุน เพาะเห็ดนางฟ้า เย็บผ้าสตรี และทำปุ๋ย ซึ่งในระยะต่อมาพบว่า ผลของการบริหารจัดการผลกระทบดังกล่าว ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจครัวเรือนดีขึ้น ผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากการปนเปื้อนของสารแคดเมียมสามารถดูแลตัวเอง มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ อีกทั้งมีกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือสำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการปนเปื้อนของสารแคดเมียม
ปัญหาและอุปสรรค และแนวทางการบริหารจัดการผลกระทบที่เกิดจากการปนเปื้อนของสารแคดเมียมในพื้นที่ตำบลแม่ตาว ได้เขียนบรรยายไว้ในรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

Article Details

How to Cite
อินทะวาฬ เ., & จันทร์นวล ณ. (2018). ผลของการบริหารจัดการผลกระทบที่เกิดจากการปนเปื้อนของสารแคดเมียมในพื้นที่ตำบลแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27(2), 115–132. https://doi.org/10.14456/pyuj.2017.26
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2535). พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล : https://www.pcd.go.th/info_serv/reg_envi.html

ชัชชัย เทพนามวงศ์. (2559). บริบททางสังคมของชุมชนที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองท้องถิ่นส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน.ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท – เชียงใหม่

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ภิญโญ คล้ายบวร. (2559). การพัฒนาหลักสูตรสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูงสำหรับนักศึกษาสังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดเชียงใหม่. ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ นอร์ท – เชียงใหม่

มนัส สุวรรณ. (2549). การจัดการสิ่งแวดล้อม : หลักการและแนวคิด. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

สุรีย์ หน่อโพ. (2550). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหาที่เกิดจากสารแคดเมียมในพื้นที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. การค้นคว้าแบบอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564).กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

อิสราพันธ์ ซูซูกิ. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานสถานประกอบการเอกชนทำอาชีพเสริม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อำไพพรรณ บุพศิริ. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปนเปื้อนสารแคดเมียมของประชาชนในพื้นที่ตำบลแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.