แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ถั่วกรอบแก้วของโรงเรียนวัดโคกป่าแพง จังหวัดปราจีนบุรี

Main Article Content

ชินะนาฏ ทองระอา
ทักษญา สง่าโยธิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ถั่วกรอบแก้วของโรงเรียนวัดโคกป่าแพง จังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ ผู้บริโภคถั่วกรอบแก้วในอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 420 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ one-way ANOVA และ multiple regression


ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ถั่วกรอบแก้ว ราคา 10 บาท ขนาด 50 กรัม และมีความต้องการบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ถั่วกรอบแก้วระดับพรีเมียมเป็นแบบถังพลาสติกใส มีฝาปิด ในด้านองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์นั้นผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งในทุกๆด้าน เรียงตามลำดับ คือ ด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และด้านลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ และมีระดับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ถั่วกรอบแก้วอยู่ในระดับมาก ซึ่งเมื่อทำการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปฏิเสธสมมติฐานหลัก (H0) แสดงว่า รูปแบบบรรจุภัณฑ์และองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ถั่วกรอบแก้ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
ทองระอา ช., & สง่าโยธิน ท. (2018). แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ถั่วกรอบแก้วของโรงเรียนวัดโคกป่าแพง จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27(2), 151–164. https://doi.org/10.14456/pyuj.2017.30
บท
บทความวิจัย

References

เกศวดี จันไข. (2555). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนตามแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำหมากเม่าเพื่อสุขภาพ ในระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนและผลิตภัณฑ์เชิงการค้าของไทย กรณีศึกษาสหกรณ์การเกษตรโนนหัวช้าง อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).

ชลธิศ ดาราวงษ์. (2558). การจัดการผลิตภัณฑ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

สยามรัฐ. (2559). ไทยเบฟ สานพลังขับเคลื่อนประชารัฐ, สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2560. https://www.siamrath.co.th/n/3917

นาวี เปลี่ยวจิตร์, ณัฐชานันท์ สมบัติประธาน และ ปฏิวัติ สุริโย. (2553). การศึกษาและออกแบบตราสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้สัญลักษณ์ของชุมชนเสม็ดงามให้ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านการทอเสื่อ หมู่บ้านเสม็ดงาม. คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ประเทศไทย 4.0 โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจใหม่. (2559). ประเทศไทย 4.0 อะไร ทำไม และอย่างไร, สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2560. จาก https://www.drborworn.com/articledetail.asp?id=16223

ปัทมา วีรชาติยานุกูล. (2555). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์อาหารขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพในระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนและผลิตภัณฑ์เชิงการค้าของไทย กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนบ้านน้ำอ้อม ตำบลน้ำอ้อม อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภาณุพงศ์ ตรงเที่ยงธรรม. (2555). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์อาหารเช้าเพื่อสุขภาพในระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนและผลิตภัณฑ์เชิงการค้าของไทย กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน บ้านน้ำอ้อม ตำบลน้ำอ้อม อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Cochrane, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.