ผลสัมฤทธิ์ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ และศึกษาแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ใช้กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ แบบสอบถาม จำนวน 400 คน จากเจ้าหน้าที่กองร้อยปฏิบัติการพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา โดยการวิเคราะห์แบบสถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ วิเคราะห์เปรียบเทียบและทดสอบความแตกต่าง (One-way ANOVA) วิเคราะห์สหสัมพันธ์(Correlation Analysis) วิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) สำหรับวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 29 คน จากผู้บริหารส่วนกลางและผู้บริหารกองร้อยปฏิบัติการ เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกโดยตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์เนื้อหาและศึกษาเอกสาร (Document Research)
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นชั้นประทวน ในตำแหน่งผู้บังคับหมู่ มีอายุตัว ระหว่าง 41-50 ปี และมีอายุงานมากกว่า 12 ปี ส่วนระดับผลสัมฤทธิ์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านการพัฒนาองค์การมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ยุทธศาสตร์ พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล อายุงานในตำแหน่งปัจจุบัน มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์โดยเฉพาะช่วงอายุงานมากกว่า 12 ปี สอดคล้องเชิงคุณภาพว่า อายุงานที่ยาวนาน มีทักษะและความเชี่ยวชาญในงานมากส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของงานมากที่สุด 2) ปัจจัยกระบวนการบริหารจัดการ การประเมินผล การวางแผน การรายงาน และการควบคุมติดตาม มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ยุทธศาสตร์ 3) ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน ทรัพยากรการบริหาร โครงสร้างองค์กร วัฒนธรรมองค์กร ทรัพยากรบุคคล มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ยุทธศาสตร์ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารจัดการกับผลสัมฤทธิ์ พบว่า ทุกตัวแปรปัจจัยการบริหารจัดการมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ยุทธศาสตร์ทั้งหมด ตลอดจนปัญหาอุปสรรค กำลังพลมีอายุมาก ชอบปฏิบัติงานตามคำสั่งมากกว่าแสดงความคิดเห็น โครงสร้างองค์กรไม่เหมาะสมกับภารกิจในปัจจุบัน และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาร่วมใช้การปฏิบัติภารกิจมีข้อจำกัดด้านความรู้ความเข้าใจ และลักษณะของพื้นที่ไม่เอื้ออำนวย และขาดแคลนทรัพยากรการบริหาร (4 M) แนวทางการพัฒนา ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับปัจจัยการบริหารทุกด้าน โดยให้การสนับสนุนทรัพยากรการบริหารที่เพียงพอและเหมาะสม สอดคล้องกับภารกิจ สถานการณ์และลักษณะพื้นที่ชายแดน
Article Details
References
ณัฐ สิงห์อุดม. (2557). คู่มือการปฏิบัติงานพื้นที่ชายแดน. กรุงเทพฯ: กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน.
เพ็ญรัตน์ วิเศษปรีชา. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การที่ได้รับเลือกเป็นนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทย: กรณีศึกษาบริษัทฟาบริเนท จำกัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วรเดช จันทรศร. (2548). การนำนโยบายไปปฏิบัติ: ต้นแบบและคุณค่า. โครงการเอกสารและตำราคณะรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
(สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2558). คู่มือประชาคมอาเซียน ปี 2558 กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ตำรวจ.
สำนักงานปราบปรามยาเสพติด. (2558). สถานการณ์เฝ้าระวังปัญหายาเสพติด. ส่วนข้อมูลเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด สำนักยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานปราบปรามยาเสพติด.
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). สถิติแรงงานข้ามชาติ. เอกสารประมวลสถิติด้านสังคม กันยายน พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
เสกสิฐ เล้ากิจเจริญ. (2550). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลราชบุรี เขตเหนือ. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
หวน พินธุพันธ์. (2549). นักบริหารมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อัมพร ธำรงลักษณ์. (2553). องค์การ: ทฤษฎีโครงสร้างและการออกแบบ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Erwin, William. (1976). Participation Management: Concept Theory and Implementation. Atlanta: Georgia State University.
Gregg, Russell. (1957). The Administrative Process. In R.F. Campbell and R.T.
Gregg. (ed). Administrative. In Education. New York: Harper and Row.
Gulick, Luther. and L. Urwick. (1939). Notes on the Theory of Organization paper on the Science of Administration. New York: Istitute of public Administration.
Henri Fayol. (1949). General and Industrial Management. London: Sir Issac Pitman and Sons Ltd.
Tead, Ordway. (1951). Art of Administration. New York: McGraw-Hill.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rded. New York : Harper and Row.