โฆษณาเปรียบเทียบที่ห้ามเปรียบเทียบในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
โฆษณาเปรียบเทียบ เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการน่าเสนอโฆษณาโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการของตนเองที่เหนือกว่าคู่แข่ง ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ในต่างประเทศต่างก็มีหลักเกณฑ์ กฎหมายในการควบคุมโฆษณาแตกต่างกันออกไป โดยโฆษณาเปรียบเทียบนั้นต้องเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือกล่าวถึงสินค้ายี่ห้ออื่นๆ อย่างไม่ยุติธรรม ในประเทศไทยนั้นไม่มี กฎหมายโดยตรงห้ามทำโฆษณาเปรียบเทียบทางตรง แต่การโฆษณาเปรียบเทียบได้ถูกควบคุมจากกฎหมายอื่นๆ เข่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 22, กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 มาตรา 427, ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 มาตรา 328 มาตรา 329 มาตรา 330 และจรรยาบรรณของการทำโฆษณาที่กำหนดขึ้นโดยสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย
โฆษณาเปรียบเทียบทางตรงหรือโฆษณาเปรียบเทียบที่มีระดับความเข้มข้นสูง ชิ้นแรกปรากฏสู่สายตาคนไทยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2526 เป็นโฆษณายาสีฟันยี่ห้อหนึ่งที่ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพ ยาสีฟันของตนเองกับยาสีฟันอีก 3 ยี่ห้อ โดยเปิดเผยให้เห็นตราสินค้าทั้ง 3 ยี่ห้อ ชิ้นที่สองคือโฆษณาของ กระเบื้องมุงหลังคาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2528 และชิ้นที่สามคือโฆษณาของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยในปี 2542 โฆษณาเปรียบเทียบทั้งสามชิ้นมีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจำนวน มหาศาล แต่ในที่สุดต่างก็ออมชอมกันได้ สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ไค้ออกมาขอร้องและขอความร่วมมือทุกฝ่ายยุติการทำโฆษณาในลักษณะนี้ หลังจากปีพ.ศ.2542 ไม่ปรากฏโฆษณาเปรียบเทียบทางตรงหรือโฆษณาเปรียบเทียบที่มีระดับความเข้มข้นสูงในประเทศไทยอีกเลย
ในยุคปัจจุบัน กลยุทธ์การทำโฆษณาเปรียบเทียบยังคงมีอยู่ แต่เป็นโฆษณาเปรียบเทียบทางอ้อมหรือโฆษณาเปรียบเทียบที่มีระดับความเข้มข้นตํ่าที่ทำการเปรียบเทียบสินค้าในประเทศเดียวกัน โดยไม่ระบุซื่อผลิตภัณฑ์ที่เป็นคู่แข่ง หรือเปรียบเทียบถึงการพัฒนา การปรับปรุงสินค้าของตนเองให้มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิม การเปรียบเทียบระหว่างรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ หรือการเปรียบเทียบในเซิงลักษณะอุปมาอุปไมย
Article Details
References
ศิรวรรณ เสรีรัตน์. (2539). การบริหารการโฆษณาและการส่งเสริมการตลาด. จำนวนพิมพ์ 1,000 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: วิสิทธิ์พัฒนา จำกัด.
สรุพล หาญเจริญคักดิ์. (2538). โฆษณาเปรียบเทียบ. สารนิพนธ์ปริญญาวารสารบัณฑิต สาขาโฆษณา, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลซน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหนคร.
สุวรรณี สิริเวชซะพันธ์. (2549). การโฆษณาเปรียบเทียบทำได้หรือไม่ตามกฏหมายไทย. เป็นส่วนหนึ่งชองการอบรมหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูงรุ่นที่ 9. วิทยาบัยการยุติธรรม ลำนักงาน ศาลยุติธรรม.
สุษม ศุภนิตย์. (2550). คำอริบายกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณา. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ นิติบรรณการ.
เสรี วงษ์มณฑา. (2549). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. จำนวนพิมพ์ 3,000 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธีระฟิลม์และไซเท็กซ์ จำกัด.
, (2542, เมษายน, 9). กรุงเทพธุรกิจ.
, (2542, เมษายน, 29 - พฤษภาคม, 2). ประซาชาติธุรกิจ. ฉบับที่ 3,057. ปีที่ 13.
, (2542, พฤษภาคม, 13-16). ประซาชาติธุรกิจ. ฉบับที่ 3,061. ปีที่ 14.
, (2542, พฤษภาคม, 18). มติซน. ฉบับที่ 7,770. ปีที่ 8.
, (2542, กันยายน, 22). หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. ฉบับที่ 15,219. ปีที่ 50.
Belch, G. E. & Belch, M. A, (1990). Introduction to Advertising and promotion Management.
Boston, United States of America : Irwin.
Berkman, H. W. & Gilson Christopher. (1987). Advertising Concepts and Strategies. (2nd ed.). New york, United States of America : Random House.
Boddewyn, J. J. & Morton Katherin. (1978). Comparison Advertising. New york, United States of America : Hastings House.
Carey Peter, LL. B., LL. M (1996). Media Law. London : Sweet & Maxwell.
Dunn, S. W., Barban, A. M., Krugman, D. M. & Reid, L. N. (1990). Advertising its role เท modern marketing. (7th ed.). Orlando, United States of America : Saunders.
Govoni, Norman A. (1979). Advertising Procedure. (7th ed.). New Jersey, United States of America: Prentice-Hall.
Kenneth E.Clow and Donald Back (2014) Integrated Advertising, Promotion, and Marketing Communications. (6th ed.). United States of America: Courier.
Lane W. Ronald, King Karen Whitehill and Tom Reichert. Kleppner’s Advertising Procedure. (8th ed.). New Jersey, United States of America: Pearson.
Moriarty Sandra, Mitchell Nancy and Wells William. Advertising Principles & Practice. (8th ed.). New Jersey, United States of America: Pearson.
Nylen, D. W. (1993). Advertising Planning Implementation & Control. (4th ed.). Ohio, United States of America: South - Western.
Lawson, R. G. (1978J Advertising Law. London: MacDonald & Evans.
Semenik J. Richard, Allen T. Chris, O’Guinn c. Thomas and Kaufmann Hans Rudiger (2012). Advertising and Promotions: An integrated Brand Approach. (6thed.). United States of America.
White Roderick. (1993). Advertising What it is and how to do it. Berkshire, England: McGraw- Hill Book Company Europe.
Wells William, Burnett John & Moriarty Sandra. (1989J Advertising Principles and Practice. United States of America: Prentice-Hall.
Woodroffe, Geoffrey M. A. (Cantab.). (1984). Consumer Law in the EEC London: Sweet & Maxwell