การรับรู้การพัฒนาองค์กรสุขภาวะที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน: กรณีศึกษาองค์กรสุขภาวะที่เป็นภาคีเครือข่ายในภาคตะวันออก

Main Article Content

วรรณภา ลือกิตินันท์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้การพัฒนาองค์กรสุขภาวะและระดับคุณภาพ ชีวิตการทำงาน รวมถึงอิทธิพลของการรับรู้การพัฒนาองค์กรสุขภาวะที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานในองค์กรสุขภาวะที่อยู่ในเครือข่ายภาคตะวันออก จำนวน 332 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยเซิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า พนักงานมืการรับรู้การ พัฒนาองค์กรสุขภาวะโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีค่าเฉลี่ยในระดับ มาก ยกเว้นด้านการพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพใจมีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง ส่วนคุณภาพชีวิตในการ ทำงาน พนักงานมีคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก สำหรับการวิเคราะห์อิทธิพล การรับรู้การพัฒนาองค์กรสุขภาวะที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานพบว่า มี 4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การทำงาน ได้แก่ การพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการสร้าง เสริมสุขภาวะ การพัฒนากระบวนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะ และการพัฒนาสุขภาพกายสุขภาพใจของ พนักงานส่งผลเซิงบวกต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน และสามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานโดยมีอำนาจในการทำนายร้อยละ 68.90

Article Details

How to Cite
ลือกิตินันท์ ว. (2017). การรับรู้การพัฒนาองค์กรสุขภาวะที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน: กรณีศึกษาองค์กรสุขภาวะที่เป็นภาคีเครือข่ายในภาคตะวันออก. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27(1), 151–162. https://doi.org/10.14456/pyuj.2017.4
บท
บทความวิจัย

References

กองวิจัยตลาดแรงงาน. (2557). สถานการณ์กำลังแรงงาน การมีงานทำและการว่างงานและแนวโน้มปี 2557. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ จุลัยวรรณ ด้วงโคตะ และนพพร ฑิแก้วศรี. (2556). มาสร้างองค์กรแห่งความสุข กันเถอะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสบุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล. (2553). ลักษณะขององค์กรสุขภาพดี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 9(1), -234.

ดวงเนตร ธรรมกุล. (2555). การสร้างสุขภาวะในองค์กร. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 6(1), 1-10.

ดวงเนตร ธรรมกุล ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และอัจศรา ประเสริฐสิน. (2554). การพัฒนาดัชนีองค์กรสุขภาวะ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(2), 8-19.

นิติพล ภูตะโซติ. (2556). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นฑ์ (1991) จำกัด.

ประพนธ์ ผาสุกยืด. (2549). Happy Workplace-สวรรค์ที่ทำงาน. เข้าถึงได้จาก https://gotoknow.org/blog/beyondkm/58183 สืบด้นเมือวันที 9 ธันวาคม 2557

วิเชียร วิทยอุดม. (2556). พฤติกรรมองค์กร. นนทบุรี: ธนธัชการพิมพ์.

วิภาส ทองสุทธิ์. (2552). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: อินทภาษ.

วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: เพิยร์สัน เอ็ดดูเคซั่น อินโดไซน่า.

สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร. (2556). 123 สู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข. กรุงเทพฯ: บริษัท สองขาครี เอซั่น จำกัด.

Bluestone, I. (1977). Implementing Quality of Work Life Program. Management Review, 66(1), 43-46.

Delamotte, Y. & Takezawa, ร. (1984). Quality of Working Life in International Perspective. Geneva: International Labour Office.

Hackman, R.E. & Shuttle, L.J. (1977). Improving Life at Work: Behavior Science Approach to Organizational Change. California: Goodyear.

Hodgetts, R.M. (1993). Modem Human Relation Work. Florida: Thedrden Press Harcourt Brace Jovanovich College Publishers.

Walton, R.E. (1973). Quality of Working Life: What is it?. Slone Management Review, 15(1), 12-16.