การเพิกถอนสิทธิอาศัย

Main Article Content

นิโลบล แหลมคม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงข้อจำกัดของกฎหมายว่าด้วยการเพิกถอนสิทธิอาศัยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มิได้บัญญัติให้ครอบคลุมถึงปัญหาที่เกิดจากการให้สิทธิอาศัย เปรียบเทียบกับเพิกถอนสิทธิอาศัยตามประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสและเยอรมัน


จากการศึกษาเรื่องการเพิกถอนสิทธิอาศัยนั้น พบว่า บทบัญญัติของกฎหมายลักษณะอาศัยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในมาตรา 1402 ถึงมาตรา 1409 ได้กล่าวถึงเฉพาะการสิ้นสุดชองสิทธิอาศัยในกรณีทั่วไป แต่ไม่ได้บัญญัติถึงการเพิกถอนอาศัยในกรณีที่ระยะเวลาในการให้อาศัยยังไม่สิ้นสุดลง ไม่ว่าการให้สิทธิอาศัยนั้นเป็นแบบมีกำหนดระยะเวลาหรือตลอดชีวิตของผู้อาศัยแล้วเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น เช่น กรณีผู้อาศัยกระทำการเป็นปฏิปักษ์หรือประพฤติเนรคุณต่อผู้ให้อาศัย หรือกรณีผู้อาศัยสามารถหาที่อยู่ใหม่ได้ด้วยทุนทรัพย์ของผู้อาศัยเอง แต่ยังใช้สิทธิอาศัยในโรงเรือนของผู้อาศัย โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้ให้อาศัย หรือกรณีผู้ให้อาศัยมีความจำเป็นในอันที่จะต้องใช้ประโยชน์ในโรงเรือนที่ให้อาศัย ไม่ว่าจะเนื่องจาก ความจำเป็นในทางเศรษฐกิจหรือมีความจำเป็นอื่นใดที่จะต้องใช้ประโยซน่ในโรงเรือนนั้น หรือกรณีผู้อาศัยไม่ใช้ประโยชน์ในโรงเรือนนั้นแล้ว แต่ไม่ยอมสละสิทธิในการอาศัย หรือกรณีที่ผู้ให้อาศัยพลั้งเผลอมิได้ระบุไว้ในสัญญาให้สิทธิอาศัยว่า ให้เป็นการเฉพาะตัวของผู้อาศัยแล้วผู้อาศัยนำบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลในครัวเรือนมาอาศัยอยู่ด้วย แต่บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ไม่ได้บัญญัติถึงการแกัปัญหาในกรณีดังกล่าวไว้ แต่ในประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศสและเยอรมัน ซึ่งไทยได้น่ามาเป็นแม่แบบในการร่างกฎหมาย รวมทั้งกฎหมายลักษณะอาศัยนั้น ได้บัญญัติถึงวิธีการแกัปัญหาในลักษณะดังกล่าวไว้ โดยประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ได้บัญญัติให้การได้มาหรือสูญสิ้นไปของสิทธิอาศัยเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับสิทธิเก็บกิน โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 625 มีใจความว่า สิทธิในการใช้และสิทธิอาศัย จะได้มาหรือสูญสิ้นไปในลักษณะเดียวกับสิทธิเก็บกิน ซึ่งบทบัญญัติของสิทธิเก็บกินบัญญัติไวิในมาตรา 618 วรรคสุดท้ายว่า “ไม่ว่ากรณีใดๆ ในกรณีที่เกิดเหตุร้ายแรงแห่งกรณี ศาลอาจมีคำสั่งให้การใช้สิทธิเก็บกินสิ้นสุดลงอย่างสมบูรณ์ หรือให้เจ้าของทรัพย์เรียกคืนซึ่งสิทธิในทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งสิทธิ โดยผู้ให้ใช้สิทธิทำการชดเชยสิ่งที่ผู้ใช้สิทธิได้กระทำลงไปเป็นรายปีหรือเงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้ทรงสิทธิ หรือตัวแทนที่ชอบด้วยกฎหมาย จนถึงเวลาที่สิทธินั้นควรจะสิ้นสุดลง” ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันไม่ได้บัญญัติการสิ้นสุดของสิทธิอาศัยไวโดยตรงเช่นกัน แต่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1093 ที่กำหนดให้นำบทบัญญัติเรื่องสิทธิเก็บกินมาใช้ในกรณีมีเหตุจำเป็น ซึ่งเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับการระงับสิ้นไปของสิทธิเก็บกินที่อาจเกี่ยวข้องกับการเพิกถอนสิทธิอาศัย เห็นว่าบทบัญญัติในมาตรา 1054 ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันน่าจะเป็นบทบัญญัติที่น่ามาใช้บังคับได้ ซึ่งบทบัญญัติมาตรา 1054 บัญญัติว่า ถ้าผู้ทรงสิทธิเก็บกินปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์กับสิทธิของเจ้าของทรัพย์ในระดับที่ร้ายแรงและแม้ว่าเจ้าของทรัพย์จะได้แจ้งเตือนการเป็นปฏิปักษ์นั้นแล้ว แต่ผู้ทรงสิทธิยังคงปฏิบัติตนในทางที่เป็นปฏิปักษ์ และทำความเสียหายแก่สิทธิของเจ้าของทรัพย์ ในกรณีเช่นว่านี้ เจ้าของทรัพย์อาจร้องขอต่อศาลให้สิทธิเก็บกินนั้นสิ้นสุดลง บทบัญญัติดังกล่าว ให้อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1052


ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายในประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ลักษณะ 5 ว่าด้วยอาศัย ให้ครอบคลุมถึงกรณีผู้อาศัยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ให้อาศัยหรือให้สิทธิผู้ให้อาศัยในการพิจารณาถึงตัวบุคคลที่จะเข้ามาใช้สิทธิอาศัยในโรงเรือน หรือให้สิทธิแก่ผู้ให้อาศัยในการที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้การอาศัยสิ้นสุดลงเมื่อเกิดกรณีร้ายแรงไม่ว่าจะเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ให้อาศัย หรือความต้องการที่จะต้องใช้ประโยชน์ในโรงเรือนนั้นเช่นเดียวกันกับประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศส และเยอรมันต่อไป

Article Details

How to Cite
แหลมคม น. (2017). การเพิกถอนสิทธิอาศัย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27(1), 163–175. https://doi.org/10.14456/pyuj.2017.5
บท
บทความวิจัย

References

ดิเรก ควรสมาคม. (2553). นิติปรัชญาเรื่อง :ทบทวนจริยธรรม ในแง่ “ความหมาย ที่มา หลักการและ

ความสัมพันธ์กับกฎหมาย”วารสารกระบวนการยุติธรรม.ปีที่ 3 เล่มที่ 4. 1 ตุลาคม-ธันวาคม

บัญญัติ สุชีวะ. (2545). คำอธิบายกฎหมายลักษณะทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ 7), กรุงเทพฯ: จิรรัชการพิมพ์

บัญญัติ สุชีวะ. (2553). คำอธิบายกฎหมายลักษณะทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ 13), กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พลสยาม พริ้นติ้ง (ประเทศไทย)

ประมูล สุวรรณศร. (2550). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติบรรณการ

มานิตย์ จุมปา. (2542). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์สิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47 18 มีนาคม 2473

วิริยะ นามคิริพงศ์พันธ์. (2555). คำอธิบายประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา

เสนิย์ ปราโมช. (2521). คำอริบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กฎหมายลักษณะทรัพย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด

โสภณ รัตนากร. (2531). ทรัพยสิทธิ – บุคคลสิทธิ์. วารสารนิติศาสตร์. ปีที่ 16 (ฉบับที่ 3), หน้า 5-13

สัก กอแสงเรืองและบุญทรง พฤกษาพงษ์. (2551). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-6

ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา แก้ไขล่าสุด. กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ

อุกฤษ มงคลนาวิน. (2525). กรรมสิทธตามกฎหมายฝรั่งเศส. บทบัณฑิตย์.ปีที่ 29 (ตอนที่ 3), หน้า 573 - 593

Burgerliches Gesetzbuch (BGB).

Henry Cachard, “The French Civil Code” Revised Edition, Le Cram Press, Paris, 1930