ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัย กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติชี้มูลความผิดทางวินัย

Main Article Content

เศรษฐพงศ์ แหล่งสท้าน

บทคัดย่อ

การที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในฐานะเป็นกฎหมายเฉพาะ สำหรับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการพลเรือน และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในฐานะเป็นกฎหมายพิเศษได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยไว้แตกต่างกัน กล่าวคือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 บัญญัติให้ผู้ถูกลงโทษทางวินัยอุทธรณ์ได้ทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและดุลพินิจในการกำหนดโทษทางวินัย และคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมในฐานะเป็นองศ์กรที่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือนมีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ได้อย่างรอบด้าน สอดคล้องกับหลักการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ซึ่งเป็นกฎหมายกลางในการพิจารณาทางปกครอง ส่วนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 96 บัญญัติให้ผู้ถูกลงโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติ มีสิทธิอุทธรณ์ได้เฉพาะดุลพินิจในการกำหนดโทษทางวินัยชองผู้บังคับบัญชา และคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมได้ถูกจำกัดอำนาจที่มีตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนให้ทำการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ได้เฉพาะดุลพินิจการกำหนดโทษทางวินัยของผู้บังคับบัญชาเท่านั้น


กรณีกฎหมายที่เกี่ยวข้องข้างต้น ได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยไว้แตกต่างกันนั้น ย่อมก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นเอกภาพของระบบกฎหมายเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย ปัญหาการนำระบบอุทธรณ์มาใช้บังคับทั้งที่ไม่สามารถอำนวยความเป็นธรรมแก่ผู้อุทธรณ์ได้อย่างแน่แท้ แต่กลับเป็นการกำหนดเงื่อนไขทางกฎหมายที่ไม่จำเป็น ก่อนนำคดีไปฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัย และปัญหาความไม่เสมอภาคและล่าช้าในการอำนวยความยุติธรรมให้ผู้ถูกลงโทษทางวินัย


เมื่อทำการศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่ากรณีกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยไว้แตกต่างกันนั้น ก่อให้เกิดประเด็นปัญหาดังที่กล่าว ข้างต้นจริง ผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการแกไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 บางมาตราที่เกี่ยวข้อง บนหลักการที่ว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ใช้อำนาจในการไต่สวนและชี้มูลความผิดทางวินัย และมีฐานะเป็นองค์กรตรวจสอบภายนอกฝ่ายปกครอง เมื่อผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาโทษทางวินัยและได้มีการออก คำสั่งลงโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติแล้ว ต้องให้คำสั่งลงโทษทางวินัยนั้นมีผลเป็นที่สุดในทางปกครอง และควรให้สิทธิผู้ถูกลงโทษทางวินัยนำคดีไปฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดได้โดยตรง ซึ่งในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครองสูงสุดนั้นควรมีคำสั่งเรียกหรือกำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเข้ามาเป็นคู่กรณีในทุกคดี ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน ควรมีการเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเพื่อพิจารณาออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติ หรือเสนอต่อประธานศาลปกครองสูงสุดพิจารณากำหนดคำแนะนำในการดำเนินคดี กรณีที่มีการฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติแล้วแต่กรณี ซึ่งหากได้มีการดำเนินการตามที่ผู้วิจัยเสนอนั้น จะเป็นการสร้างกลไกในการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและจะสามารถแก้ไขประเด็นปัญหาดังที่กล่าวแล้วข้างต้นจริงได้จริง

Article Details

How to Cite
แหล่งสท้าน เ. (2017). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัย กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติชี้มูลความผิดทางวินัย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27(1), 195–213. https://doi.org/10.14456/pyuj.2017.10
บท
บทความวิจัย

References

กมลชัย รัตนสกาววงศ์. (2544). หลักกฎหมายปกครองเยอรมัน. ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม สำนักงาน ก.พ. (2554). ก.พ.ค.ผู้พิทักษ์ระบบคุณธรรม เล่ม 1. ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกบล๊อก. กรุงเทพฯ.

ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์. (2540). กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง. จิรรัชการพิมพ์. กรุงเทพฯ.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2551). หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมยัายปกครอง. กรุงเทพฯ: วิญณูชน.

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

มานิตย์ จุมปา. (2549). คำอริบายกฎหมายปกครองว่าด้วยการกระทำทางปกครอง และการควบคุมการกระทำทางปกครอง เล่ม 1. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2549). วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน. วิญณูชน. กรุงเทพฯ.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์.(2554). กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง. สถาบันพระปกเกล้า.กรุงเทพฯ.

สุทธาทิพย์ นาคาบดี. (2536). การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษของข้าราชการพลเรือน. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรพล นิติไกรพจน์ และคณะ. (2546). คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกับการ ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญ. รายงานการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งซาติ

สำนักกฎหมาย. (2555). พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542. สำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช.. นนทบุรี.

สำนักงาน ก.พ.. (2531). คู่มือการคำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช 2518. โรงพิมพ์ไทยพิมพ์. กรุงเทพฯ.

สำนักพัฒนาระบบงานคดีปกครอง. (2551). แนวคำวินิจฉัยคดีปกครองเกี่ยวกับวินัยข้าราชการ. สำนักงาน ศาลปกครอง. กรุงเทพฯ.

อุดม รัฐอมฤต และคณะ. (2545). การปฏิรูประบบวินัย อุทธรณ์ และร้องทุกข์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ. รายงานวิจัย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โภคิน พลกุล และชาญชัย แสวงสักด. (2557). หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น. นิติธรรม. กรุงเทพฯ.

Epaminondas Spiltopoulos.(1991). Droit administratif hellenique. Paris: L.G.D.J.

Hamut MAURER (1991). Droit administratif allemand. Traduit par Michel FROMONT. Paris. L.G.D.J.

T.C.H.EHartlay and JAC.Griffith. (1981).Government and Law 2nd ed. London: Weidenfeld and Nichoson.