ความกังวลใจของประชาชนในจังหวัดปทุมธานีที่มีต่อร้านยา

Main Article Content

ภวรี ภู่นรินทร์
ศันสนีย์ ศรีปรางค์
กณภัทร ศรีทอง
ไกรสร ชัยโรจน์กาญจนา

บทคัดย่อ

ร้านยาเป็นด่านแรกที่ประชาชนสามารถเข้าถึงเมื่อเกิดความเจ็บป่วย แต่ร้านยาแต่ละร้านก็มี มาตรฐานต่างกันมาก งานวิจัยซิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสิ่งที่ประชาชนวิตกกังวลและกลัวเมื่อจะมาร้าน ยาของประซาซนในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามเขต อำเภอต่างๆ ทุกอำเภอ ในจังหวัดปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test และ One way ANOVA


ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีจำนวนทั้งสิ้น 1,050 คน ส่วนมากเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 61.33) เป็นคนในกลุ่ม generation Y (ร้อยละ 51.05) ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 49.62) และส่วนมากมีอาซีพเป็นพนักงานบริษัท (ร้อยละ 24.38) ความวิตกกังวลและกลัวที่พบมากที่สุด คือ “วิตกกังวล และกลัวคนขายยาไม่ใช่เภสัชกร” (ร้อยละ 88.1) ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องของเพศ (P-value > 0.05) แต่พบว่าคนในกลุ่ม baby boom มีความวิตกกังวลมากกว่าคนในกลุ่ม generation X และ generation Y อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value =0.0001 และ 0.002 ตามสำดับ) ความวิตกกังวล รองลงมาคือ “วิตกกังวล และกลัวในเรื่องเภสัชกรจ่ายยาผิด” (ร้อยละ 85.5) ซึ่งผู้ที่จบสูงกว่าปริญญาตรีมี วิตกกังวล และกลัวน้อยกว่าผู้ที่มีการศึกษาปริญญาตรี และผู้ที่มีการศึกษาตํ่ากว่าปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value =0.008และ 0.003 ตามสำดับ) นอกจากนี้ประชาชนยังมีวิตกกังวล และกลัว เรื่อง “กลัวเภลัชกรวินิจฉัยโรคผิด” (ร้อยละ 82.7) พบว่ากลุ่มคนในทุกช่วงอายุ มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ คือกลุ่ม baby boom มีความวิตกกังวลมากกว่าคนในกลุ่ม generation X, Y และ Z (P-value = 0.005, 0.044 และ 0.035 ตามสำดับ) ส่วนผู้ที่มีระดับการศึกษาตํ่ากว่าปริญญาตรีมีความวิตก กังวลมากกว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (P-value = 0.011) ท้ายที่สุดประชาชนกังวลใจในเรื่อง “เภสัชกรจ่ายยาแล้วมีผลต่อทารกในครรภ์” ซึ่งไม่มีความแตกต่างในเพศ การศึกษา และช่วงอายุ (P-value > 0.05 )


การศึกษาวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ประชาชนกังวลใจมากในเรื่อง “คนขายไม่ใซ่เภสัชกร” “เภสัช กรจ่ายยาผิด” “เภสัชกรวินิจฉัยโรคผิด” และ “เภสัชกรจ่ายยาที่มีผลต่อทารกในครรภ์” ดังนั้นเภสัชกร สมควรอยู่ร้านตลอดเวลาที่เปิดทำการและควรแสดงตนให้ประชาชนรู้ว่าเป็นเภสัชกร และควรหมั่นทบทวน ความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ตลอดจนมีการสื่อสารที่ดี ที่ให้ประชาชนมั่นใจในการบริการของตน เพื่อสร้าง ภาพลักษณ์ของร้านยาในประเทศไทยให้ดีฃึ้น

Article Details

How to Cite
ภู่นรินทร์ ภ., ศรีปรางค์ ศ., ศรีทอง ก., & ชัยโรจน์กาญจนา ไ. (2017). ความกังวลใจของประชาชนในจังหวัดปทุมธานีที่มีต่อร้านยา. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27(1), 215–231. https://doi.org/10.14456/pyuj.2017.7
บท
บทความวิจัย

References

กฤตยา อาชวนิจกุล. (2541). จำนวนโสเภณีเด็กในประเทศไทยมีเท่าไรกันแน่? เอกสารประกอบการประชุม เพื่อรับฟังความคิดเห็น เกี่ยวกับจำนวนโสเภณีเด็กในประเทศไทย จัดโดยกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. ณ ห้องประชุมชั้น 6 โรงพยาบาลบำราศนราดูร, นนทบุรี, วันที่ 27 กรกฎาคม 2541.

กัยจน์ญาดา นิลวาศ, นภาลัย นิรมิตกุศล และ สุทัศวรรณ จิตรสุขสม. (2549). ความพีงพอใจของผู้รับบริการ ต่อบริการของร้านยาคุณภาพและร้านยาทั่วไป. วารสารวิชาการสารารณสุข.

นวลจันทร์ พันธุเมธามาตย์ และอภิรักษ์ วงศ์รัตนชัย. (2557). การศึกษาคดีจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมประเทศไทย. วารสารนเรศวรพะเยา ปีที่ 6 ฉบับที่ 2. (เข้าถึงได้จาก http://www.tci- thaijo.org/index.php/ journalup/article/view/43262)

ปริญดา ไอศูรย์พิศาลกุล และ ฉัตรวดี กฤษณพันธุ. (2557). การสำรวจความรู้ด้านยาและการปฏิบัติตัวในการใช้ยารักษาตนเองของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารเภสัชอีสาน ปีที่ 10 ฉบับ ที่ 1

ปริณดา โตสิตารัตน์. (2552). กระบวนการพัฒนร้านยาคุณภาพของโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพร้านยาในอำเภอเมืองเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ปาริชาติ แก้วอ่อน และคณะ. (2555). ร้านยาที่ได้รับรองจากสภาเภสัชกรรมและร้านยาแผนปัจจุบันทั่วไป มีคุณภาพแตกต่างกันหรือไม่. วารสารเภสัชกรรมไทย ปีที่ 4 เล่มที่ 2.

พรรณทิพย์ เศรษฐสุนทรี. (2555) ปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการเข้าร่วมพัฒนา ร้านยาคุณภาพ ของร้านยาที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เล่มที่ 32

พิมพร ทองเมือง และ ยุทธนา สุดเจริญ. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง ร้านยากับการจ่ายยาชุดแก้ปวดเมื่อยที่มีสเดียรอยด์. กรณีศึกษาในเขตราซวิถึ กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราซภัฎสวนสุนันทา.

ภาณุโชติ ทองยัง. (2555). อย่าให้ สเดียรอยด์ลอยนวล [อีกต่อไป]. ยาวิพากษ์ จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา. กทม ปีที่ 5 ฉบับที่ 15

ยุพดี คิริสินสุข. (2555). ยาวิพากษ์ จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา. กทม: แผนพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัฐนันทิ เบิกนา. (2553). พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้ใช้บริการสถานบันเทิงในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พิมพ์ครั้งที่ 1 พุทธศักราช 2556 บริษัท คิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาซน)

วีรวิชญ์ พรวัฒนไกรเลิศ. (2558). Update in Sexual Transmitted Diseases. เข้าถึงได้จาก http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=a rtide&id=llll:update-in-sexually-transmitted-diseases&catid=45<emid=561

คิริรัตน์ ตันปิชาติ และ วิรา ปราการพิลาศ. (2549). เปิดร้านยาคุณภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัทซีเอ็ด ยูเคซั่น จำกัด (มหาซน).

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2558). รายงาน ธุรกิจร้านยา (Pharmacy หรือ Drug Stores). ธนาคารกสิกรไทย.

โศภิต สุฃสุพันธ์ และ สงวน ลือเกียรติบัณฑิต. (2558). ผลกระทบชองสถานะการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคและการปรับตัวของเภสัชกร. วารสารเภสัชกรรม ไทย ปีที่ 7 เล่มที่ 2.

สภาเภสัชกรรม. (2557). มาตรฐานร้านยา. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; [เข้าถึงเมื่อ 17 ก.ค. 2557], เข้าถึงได้จาก http://www.pharmacycouncilorg/index.php?option=content&menuid=39.

สภาเภสัชกรรม. (2558). รวมกฎหมายยา สำนักงานเลขาธิการสภาเภสัชกรรม ตึกสำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี.

สภาเภสัชกรรม. (2559) รายชื่อร้านยาคุณภาพ [เช้าถึงเมื่อ 1 ต.ค. 2559]. เช้าถึงได้จาก : http://www.pharmacycouncilorg/index.php?option=content_detail&menuid=39&itemi d=633&catid=0

สมาคมอนามัยแห่งประเทศไทย. (2557). ปฏิทินสาธารณสุข พ.ศ.2557 โรงพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์ กทม.

สุพัตรา ศรีวนิชชากรและคณะ. (2540). พฤติกรรม ประสบการณ์และค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพระนครศรีอยุรยาและความคิดเห็นต่อบริการศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง พระนครศรีอยุธยา. ทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สุรซัย อัญเชิญ. (2552). ยากับชีวิตประจำวัน. เข้าถึงได้จาก http://www.pharm.chula.ac.th/surachai/Academic/CNS-Drgs/radio08.htm สืบค้นเมือ 30 เม.ย. 2552

อำนวย พิรุณสาร. (2553). พฤติกรรมการนอกใจคู่สมรส กรณีศึกษาชายไทยในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ เข้าถึงได้จาก http://www.sodalnu.ac.th/th/paper/IS/2553/2553_23.pdf.

Yamanae, Taro (1973). Statistics: An Introductory Analysis. London: John Weather Hill, Inc.