การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาสุภาพของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย

Main Article Content

ธนิส พูนวงศ์ประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบข้อผิดพลาดและศึกษาความเข้าใจวิธีการใช้ภาษาสุภาพผิดในกลุ่มผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยที่เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นวิชาเอกชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 จำนวน 85 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบชนิดเติมคำลงในช่องว่างให้สอดคล้องกับบทสนทนาจำนวน 10 ข้อ และการสัมภาษณ์ติดตามผล ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบและความถี่ของข้อผิดพลาดแตกต่างกันตามประเภทของภาษาสุภาพ กล่าวคือ (1) คำยกย่องและคำถ่อมตนแสดงการยกย่อง ข้อผิดพลาดที่ปรากฏความถี่มากที่สุด คือ การผันคำกริยาผิดไวยากรณ์โครงสร้าง「お+คำกริยา」(2)คำยกย่องรูปเฉพาะของกริยา「する」และคำถ่อมตนแสดงความสุภาพของกริยา「ある」ข้อผิดพลาดที่ปรากฏความถี่มากที่สุดคือ การใช้ภาษาสุภาพไม่เหมาะสมกับบริบท (3)คำถ่อมตนแสดงการยกย่องรูปเฉพาะของกริยา「行く」ข้อผิดพลาดที่ปรากฏความถี่มากที่สุดคือ การใช้ภาษาสุภาพสลับกันระหว่าง「まいります」กับ「伺います」(4) คำถ่อมตนแสดงความสุภาพของกริยา「来る」ข้อผิดพลาดที่ปรากฏความถี่มากที่สุดคือ การใช้คำกริยาผิด เช่น การใช้คำกริยา「おります」แทน「まいります」(5) คำสุภาพ ข้อผิดพลาดที่ปรากฏความถี่มากที่สุดคือ การใช้ภาษาสุภาพสลับกัน โดยผู้เรียนมีแนวโน้มสูงในการใช้คำถ่อมตนแสดงการยกย่องต่อการกระทำที่ฝ่ายตรงข้ามไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำของประธาน ความเข้าใจวิธีการใช้ภาษาสุภาพผิดมีดังนี้ (1) การใช้คำยกย่องต่อการกระทำของผู้พูดและคนในของฝ่ายผู้พูด (2) การไม่ใช้คำถ่อมตนแสดงความสุภาพต่อประธานซึ่งเป็นสิ่งไม่มีชีวิต (3) การไม่ใช้คำยกย่อง คำถ่อมตนเมื่อสนทนากับคนนอก (4) การไม่ใช้คำยกย่องต่อการกระทำของคนใน เมื่อสนทนากับบุคคลในองค์กรเดียวกัน

Article Details

How to Cite
พูนวงศ์ประเสริฐ ธ. (2017). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาสุภาพของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 26(2), 33–54. https://doi.org/10.14456/pyuj.2016.21
บท
บทความวิจัย

References

ตรรกวิทย์ มิ่งขวัญ. (2552). ความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับภาษาสุภาพรูปยกย่องและรูปถ่อมตนของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยหลังการเรียนรู้ระดับชั้นต้น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(ญี่ปุ่นศึกษา) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุษบา บรรจงมณี, วันชัย สีลพันธ์กุล และ ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ. (2552). ภาษาญี่ปุ่น อะกิโกะโตะโทะโมะดะจิ 6. กรุงเทพมหานคร: คิโนะคูนิยะ บุ๊คสโตร์.

ยูตากะ คูซานางิ. (2552). ภาษาสุภาพเพื่อเข้าสังคมญี่ปุ่น. แปลโดยเสาวรีย์ นากางาว่า. กรุงเทพมหานคร: ภาษาและวัฒนธรรม.

庵功雄[Iori]. (2012).『新しい日本語学入門』第2版. スリーエーネットワーク.

岡野喜美子[Okano]. (2000). 「留学生の待遇表現使用 : 発話調査の結果から」『早稲田大学日本語研究教育センター紀要』13, 1-13.

魏春娥[Gi]. (2014). 「日本人と外国人日本語学習者の敬語使用に関する考察―敬語表現調査の結果の分析を中心に」『山口大学文学会誌』37, 52-64.

スリーエーネットワーク[3A Corporation]. (1998).『みんなの日本語初級II』スリーエーネットワーク.

戸田和子・小柳津智子[Toda & Oyaizu]. (2013).「外国語として日本語の敬意表現学習における問題点-大学留学生別科日本語教育課程の事例から-」『湘南工科大学紀要』47 (1), 85-90.

文化庁[Agency for Cultural Affairs]. (2007).『敬語の指針』(http://www.bunka.go.jp/bunkashingikai/soukai/pdf/keigo_tousin.pdf) (2015年1月13日参照)

文化庁[Agency for Cultural Affairs]. (2013).『平成24年度「国語に関する世論調査」の結果の概要』国立印刷局.

宮田剛章[Miyata]. (2005). 「中国人・韓国人学習者と日本語母語話者に見られる敬語動詞の誤用訂正能力」『ジャーナルCAJLE』 7, 59-74.