การประเมินโครงการศึกษาดูงานภาคฤดูร้อนด้านภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมจีน ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินความเหมาะสมในด้านบริบทได้แก่ วัตถุประสงค์ของหลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและวัตถุประสงค์ของโครงการศึกษาดูงานภาคฤดูร้อน ด้านภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมจีน ของสาขาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านปัจจัยเบื้องต้นได้แก่ ด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการของโครงการ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านกระบวนการ ได้แก่ การติดตามผล การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมเผยแพร่วัฒนธรรม 4) เพื่อประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านผลผลิต ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ด้านภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมจีน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนและครู เจตคติต่อวิชาชีพของผู้ร่วมโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า การประเมินโครงการศึกษาดูงานภาคฤดูร้อน ด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สรุปเป็นรายด้าน ตามรูปแบบการประเมินโครงการของCIPP Model ได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการศึกษาดูงานภาคฤดูร้อน ด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ด้านบริบท โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก ( = 3.76, S.D.=0.08)
2. ผลการประเมินโครงการศึกษาดูงานภาคฤดูร้อน ด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก ( = 3.67, S.D.= 0.06)
3. ผลการประเมินโครงการศึกษาดูงานภาคฤดูร้อน ด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก ( = 3.73, S.D.=0.05)
4. ผลการประเมินโครงการศึกษาดูงานภาคฤดูร้อน ด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ด้านผลผลิต โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก ( = 3.87, S.D.=0.04)
Article Details
References
ธีรศักดิ์ เลื่อยไธสง. (2549). การบริหารวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลเรื่องที่ 7: การนิเทศการศึกษา (Educational Supervision). สาสนนิเทศการศึกษา (Educational Supervision Message: ESM), 3 (7) กรกฎาคม.
สมคิด พรมจุ้ย. (2542). เทคนิคการประเมินกิจกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมคิด พรมจุ้ย. (2552). เทคนิคการประเมินโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: จตุพรดีไซน์.
สมชาย ธัญธนกุล.(2548). การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย นเรศวร.
สมพร แสงชัยและสุนทร เกิดแก้ว. (2520). การประเมินโครงการในประเทศไทย. เอกสารการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุนทร โคตรบรรเทา.(2553). การพัฒนาหลักสูตรและการนำไปใช้. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน
เอมอร แซ่จิวและคณะ. (2548). รายงานการวิจัยเรื่อง การวิจัยประเมินผลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2546.
Oliva . (2005). Developing the curriculum. New York: Pearson Education.
Stufflebeam, Gulickson and Wingate. (2002). The Spirit of Consuelo: An Evaluation of Ke Aka Hòòna.The Evaluation Center, Western Michigan University.
Stufflebeam, D. L. and Shinkfield, A.J.(2007). Evaluation theory model & Applications CA: Jossey-Bass.
Vivien Stewart. (2010). Curriculum 21st Essential Education for a Changing World. ASCD, Alexandria, Virginia USA.
Asia Society College Board. (2008). [online].http://askasia.org/Chinese