ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุคนไทย

Main Article Content

ปรเมษฐ์ สิริพิพัฒน์
ฐติกุล ไชยวรรณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุคนไทย ประชากรคือ ผู้สูงอายุคนไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เคยซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ t-test


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 60 - 65 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท มีความถี่ในการซื้อสินค้าเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี และมีค่าใช้จ่ายในการซื้อเฉลี่ยน้อยกว่า 1,000 บาทต่อครั้ง


จากการศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุคนไทย พบว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญมากในด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (  = 4.13) รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมการตลาด (  = 4.06) ด้านกระบวนการ (  = 4.05) ด้านผลิตภัณฑ์/บริการ (  = 3.99) และด้านราคา (  = 3.98) ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยย่อยของช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่า ระบบติดตามสถานะของสินค้ามีความสำคัญมากที่สุด รองลงมา คือการตรงต่อเวลาในการจัดส่งสินค้า สำหรับปัจจัยย่อยในการส่งเสริมการตลาดที่มีระดับความสำคัญสูงสุด พบว่าการได้รับข้อคิดเห็นเกี่ยวกับผู้ใช้สินค้ารายอื่นเพื่อช่วยในการตัดสินใจ รองลงมา คือการให้ส่วนลดพิเศษ การสะสมแต้มและกิจกรรมร่วมสนุกให้ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ ในด้านกระบวนการ กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญ มีระบบป้องกันข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลเป็นความลับ รองลงมา คือมีการแนะนำสินค้าที่เหมาะสมแก่ลูกค้า ปัจจัยย่อยในผลิตภัณฑ์/บริการ พบว่า รูปแบบของเว็บไซต์ใช้งาน/เข้าใจง่าย รองลงมา คือ เว็บไซต์มีสินค้าหลากหลาย ปัจจัยย่อยที่สูงที่สุดในราคา พบว่า ราคาสินค้าต่ำ/ถูกกว่าสินค้าในท้องตลาดรองลงมา คือ มีช่องทางการชำระเงินหลากหลาย


ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจจะทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าออนไลน์ผู้สูงอายุนั้น ต้องให้ความสำคัญกับทุกด้านในระดับมาก เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในการทำธุรกรรมผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น

Article Details

How to Cite
สิริพิพัฒน์ ป., & ไชยวรรณ์ ฐ. (2017). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุคนไทย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 26(2), 135–149. https://doi.org/10.14456/pyuj.2016.26
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมสาร จำกัด.

เดลินิวส์. (2558). ฉลาดใช้:คนไทยเล่นเน็ต-ช้อปออนไลน์ทุกวัน. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม, 2558, จาก http://www.annisaa.com/forum/index.php?topic=1293.0;wap2.

นีลสัน มีเดีย อินเด็กซ์. (2556). อัตราเติบโตผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2558, จากhttp://www.thanonline.com.

ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2548). การตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (2557). ข้อมูลข่าวสารแบบสมบูรณ์แบบ. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม, 2558, จาก http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge.

สุชาดา บัวทองสุข. (2553). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมใช้บริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ตของลูกค้าธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุรัชดา เชิดบุญเมือง, จิรวุฒิ หลอมประโคน, และวิสุทธิ์ กล้าหาญ. (2557). ปัจจัยการตลาดและพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5 (ฉบับพิเศษ), 76-91.

ASTVผู้จัดการออนไลน์. (2558). จับเทรนด์ผู้บริโภคของโลก. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม, 2558, จาก http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000039278&Html=1&TabID=3&.

Kotler, Phillip. (1997). Marketing Management Analysis, Planning, Implementation and Control. 7th ed. Englewood Cliffs: Prentice Hall.

Kotler, Phillip. (2000). Marketing Management: analysis, planning, implementation and control. Englewood Cliffs: Prentice Hall