กระบวนการปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมดนตรีของชาวกะเหรี่ยงแบพติสต์ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ นำเสนอ 1) บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงแบพติสต์ ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) กระบวนการปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมดนตรีของชาวกะเหรี่ยงแบพติสต์ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวทางดนตรีวิทยา (Musicology) และดนตรีชาติพันธุ์วิทยา (Ethnomusicology) ศึกษาข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์จากเอกสาร และเก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ จากบุคคล 3 กลุ่ม จำนวน 5 คน ได้แก่ นักวิชาการจำนวน 1 คน ผู้นำคริสตจักร 2 คน และนักดนตรี 2 คน โดยมีพื้นที่ในการศึกษา ได้แก่ คริสตจักรธารน้ำทิพย์ คริสตจักรแสงประทีป และสหพันธ์กะเหรี่ยงแบพติสต์ในประเทศไทย
ผลการศึกษาพบว่า 1) ชาวกะเหรี่ยงแบพติสต์เริ่มมีการนับถือศาสนาคริสต์ นิยายโปรแตสแตนท์ คณะอเมริกัน แบพติสต์ โดยได้รับอิทธิพลจากการเผยแพร่ศาสนาจากประเทศพม่า และการเข้ามาของมิชชันนารีชาวอเมริกันในจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 2411 เป็นผลทำให้เกิดชุมชนของชาวกะเหรี่ยงแบพติสต์ ในภาคเหนือราวปี พ.ศ. 2424 ชาวกะเหรี่ยงแบพติสต์กลุ่มนี้ ได้ผสมผสานวิธีปฏิบัติของศาสนาคริสต์ นิกายโปแตสแตนท์กับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน 2) กระบวนการปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมดนตรี พบว่า ดนตรีในศาสนาคริสต์ ส่งผลต่อวัฒนธรรมดนตรีของชาวกะเหรี่ยง โดยมีปัจจัยสำคัญ คือ การปลูกฝังและการโน้มน้าวจิตใจ ปัจจัยดังกล่าวแทรกอยู่ภายในชั้นเรียน ประเพณี เทศกาล วัฒนธรรม วิถีชีวิต และกิจกรรมทางดนตรีอื่นๆ ชาวกะเหรี่ยงแบพติสต์มีพัฒนาการทางวัฒนธรรมดนตรีสอดคล้องกับพัฒนาการทางสังคมในพื้นที่ พิจารณาจากรูปแบบทางดนตรี รูปแบบการใช้ดนตรี และการได้รับการสนับสนุน อีกทั้งยังมีการสืบทอด และดำรงความเป็นชาวกะเหรี่ยงภายใต้วิถีชีวิตแบบชาวกะเหรี่ยงแบพติสต์
Article Details
References
ขวัญชีวัน บัวแดง. (2549). กะเหรี่ยง หลากหลายชีวิตจากขุนเขาสู่เมือง. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.
เจริญ วรรธนะสิน. (2521). อนุสรณ์ครบรอบ 150 ปี แห่งศาสนาคริสเตียน นิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศ ไทย. กรุงเทพมหานคร : เจริญธรรม.
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์ ปราโมทย์ ด่านประดิษฐ์ และศรีจันทร์ น้อยสะอาด. (2542). แกวของชนเผ่าปากาเกอญออำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์ นิรันดร์ ภัคดี และเอกราช แพรม่วง. (2542). ดนตรีของชนเผ่ากะเหรี่ยงสะกอในพื้นที่ มูเส่คี (รายงานการวิจัย). นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประสิทธิ์ พงศ์อุดม. (2542). เกธเซมาเน ประวัติศาสตร์คริสตจักรภาคที่ 16 สภาคริสตจักรในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : ชวนพิมพ์
สมศักดิ์, พระมหา สุทฺธิญาณเมธี. (2552). พระธรรมจาริก: อัตลักษณ์ 6 กลุ่มชาติพันธุ์ บนพื้นที่สูง.กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพระธรรมจาริก ส่วนกลาง วัดเบญจมบพิตรฯ.
ซันนี่ แดนพงพี. สัมภาษณ์. 11 มีนาคม. 2558 ศาสนาจารย์ นักวิชาการ และนักดนตรีชาวกะเหรี่ยงแบพติสต์
ประสิทธิ์ พงศ์อุดม. สัมภาษณ์. 3 มีนาคม 2558 นักประวัติศาสตร์คริสเตียน
วิเนตร มธุรสวรรค์ .สัมภาษณ์. 11 มีนาคม 2558 ศาสนาจารย์ชาวกะเหรี่ยงแบพติสต์
สิงขร รักสกุลใหม่. สัมภาษณ์. 18 กันยายน 2558 ศาสนาจารย์ชาวกะเหรี่ยงแบพติสต์
แกแรต อินทร. สัมภาษณ์. 11 มีนาคม 2558 ศาสนาจารย์ และนักดนตรีชาวกะเหรี่ยงแบพติสต์