Discourse Patterns in Lord Randall, a Traditional English Ballad: Storyline and Information Structure
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์แบบแผนสัมพันธสารคัดสรรในลำนำนิทานบัลลาดภาษาอังกฤษเรื่อง ลอร์ด เรนดัล จากแง่มุมด้านสัมพันธสารวิเคราะห์ ลำนำเรื่องนี้ใช้คำจำนวนมาก แต่มีเนื้อหาในการเล่าเรื่องค่อนข้างน้อย ดังนั้นจึงมีคำถามว่า “ผู้ฟังจะติดตามการดำเนินเรื่องได้อย่างไร” บทความนี้ ตั้งคำถามว่า สาระของเรื่องมีรูปแบบที่สอดคล้องกับการดำเนินเรื่องอย่างไรในบทสนทนาแบบปิดในลำนำนิทานบัลลาดที่มีอยู่แปดบท หลังจากสำรวจโครงสร้างลำนำอย่างรวดเร็ว ผู้วิจัยได้วิเคราะห์เชิงบรรยายในด้านการดำเนินเรื่อง โครงสร้างสาระ การอ้างอิงผู้ร่วมเหตุการณ์ และจุดเด่นของลำนำ และพบว่าโครงสร้างเหตุการณ์ของลำนำนิทานดังกล่าว ไม่ได้เป็นไปตามผังภูมิการดำเนินเรื่องแบบลำนำภาษาอังกฤษทั่วไปตามแนวคิดของลองเอเคอร์ (Longacre1996: 24-26) ในลำนำเรื่องนี้ ผู้ฟังต้องอนุมานและลำดับเหตุการณ์เอาเองจากบทสนทนาถามตอบระหว่างลอร์ด เรนดัลกับแม่ การใช้อดีตกาลในภาษาอังกฤษแบบดั้งเดิมเป็นเครื่องช่วยในการดำเนินเรื่อง บทลำนำ และโครงสร้างสาระที่ซ้ำไปซ้ำมาเป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้ฟังต้องหาตัวชี้แนะไปสู่สาระใหม่เพื่อสร้างการลำดับเรื่องจากที่ใด การแบ่งแบบแผนสาระที่จุดเด่นของเรื่องทำหน้าที่เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าสาระสำคัญในการสร้างสัมพันธสารเรื่องเล่าที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันรวมอยู่ที่ตอนท้ายของลำนำบทที่เจ็ด ลำนำเพลงนี้เป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่านักสัมพันธสารวิเคราะห์ต้องพิจารณาโครงเรื่องมากกว่าที่เป็นแบบฉบับดั้งเดิม เพื่อลำดับเหตุการณ์ในสัมพันธสารเรื่องเล่าชิ้นนี้
Article Details
References
Bequette, Rebecca Lee Elaine. (2008). Participant reference, deixis, and anaphora in Bunong narrative discourse. MA thesis. Dallas: Graduate Institute of Applied Linguistics.
Glossary of linguistic terms, by Eugene E. Loos (general editor), Susan Anderson (editor), Dwight H., Day, Jr. (editor), Paul C. Jordan (editor), and J. Douglas Wingate (editor). Dallas: SIL International. http://www-01.sil.org/linguistics/GlossaryOflinguisticTerms/ accessed 11 November 2015.
Hwang, Shin Ja Joo. (2010). The development of textlinguistics in the writings of Robert Longacre. Dallas: SIL International.
Johnstone, Barbara. (2002). Discourse Analysis. Oxford, UK: Blackwell Publishers, Ltd. 2nd edition 2008.
Longacre, Robert E. (1981). A spectrum and profile approach to discourse analysis. Text 1.4. 337-359. [reprinted in Hwang 2010].
Longacre, Robert E. (1989). Joseph, as story of divine providence: A text theoretical and textlinguistic analysis of Genesis 37 and 39-48. Winona Lake, IN: Eisenbrauns.
Longacre, Robert E. (1996). The grammar of discourse. 2nd Edition. Texas: SIL.
Longacre, Robert E. (2000). Some hermeneutic observations on textlinguistics and text theory in the humanities. In David G. Lockwood, Peter H. Fries and James E. Copeland (eds.), Functional approaches to language, culture and cognition, 169-83. Current Issues in Linguistic Theory, 163. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company. [can be found in Hwang, Shin Ja Joo. 2010. The development of textlinguistics in the writings of Robert Longacre. Dallas: SIL International.]
Merriam, Alan P. (1964). Chapter X: The study of song texts. The anthropology of music. Evanston, IL: Northwestern University Press.
Nattiez, Jean-Jacques. (1990). Music and Discourse: Toward a Semiology of Music. Princeton: Princeton University Press. Carolyn Abbate, trans.
Somsonge Burusphat. (1991). The structure of Thai narrative. Dallas, TX: SIL-UTA.