ความพึงพอใจของลูกค้าที่มาท่องเที่ยวและใช้บริการที่ ภูโคลน คันทรีคลับ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าในการมาท่องเที่ยวและใช้บริการที่ ภูโคลน คันทรีคลับ จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้แนวคิดส่วนประสมการตลาดบริการของ Philip Kotler (1997) เป็นกรอบในการศึกษา โดยเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาใช้บริการสปาของภูโคลน คันทรีคลับ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย (Convenience Sampling) และใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือใช้การวัดความเที่ยงตรง และค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคเท่ากับ 0.764 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test และ F-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) กำหนดระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.05 และการจับคู่แบบพหุคูณ (Multiple Comparison test) ด้วยค่าสถิติของ Scheffe
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับมากในทุกๆ ด้าน เรียงลำดับคือ ด้านสินค้าและบริการ ( = 4.08) ด้านกระบวนการให้บริการ ( = 4.02) ด้านบุคลากรในการให้บริการ ( = 4.00) ด้านราคา ( = 3.78) ด้านสถานที่ ( = 3.77) ด้านการส่งเสริมการตลาด = 3.76) และ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ( = 3.45) ซึ่งเมื่อ ทำการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลในด้านระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน และพฤติกรรมการเลือกใช้สปาในด้านวัตถุประสงค์ในการเดินทางมาท่องเที่ยวที่ภูโคลน คันทรีคลับ และพฤติกรรมในการกลับมาใช้บริการ สปาของภูโคลน คันทรีคลับ ที่แตกต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Article Details
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว. สถิติการท่องเที่ยวภายในประเทศ.สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2558 จาก http://marketingdatabase.tat.or.th/main.php?filename=index
กุณฑลี เวชสาร. (2546). การวิจัยตลาด. พิมพครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ฉลองศรี พิมลสมพงษ์. (2548). อุปสงค์การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: คณะมนุษย์ศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัยรัตน์ จันทร์หอม. (2547). การศึกษาทัศนคติ พฤติกรรม และปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้บริการสปาในเขตกรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ธนิตศักดิ์ ประโลมรัมย์. (2550). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสปาเพื่อสุขภาพของบริษัทลำปางรักษ์สมุนไพร จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธีรกิติ นวรัตน์ ณ อยุธยา. (2549). การตลาดบริการแนวคิดและกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเรียง ขจรศิลป์. (2529). วิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เบญจวรรณ ทองสิงห์. (2554). การรับรู้คุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภคผ่านอัตลักษณ์ตราสินค้าบนถุงช็อปปิ้ง.การค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประพันธ์ แต่งกุลสุวรรณ. (2553). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อคุณภาพบริการขนส่งสินค้าของ บริษัท ชัยพัฒนา ขนส่งเชียงใหม่ จำกัด. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สำนักงานสถิติจังหวัดแม่ฮ่องสอน. รายงานสถิติจังหวัด รายได้จากการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม, จาก http://123.242.182.10/kpi2013/index.php/growth-kpi-6
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2545). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรุณี ปัญญามูลวงษา. (2542). ความต้องการของนักท่องเที่ยวในการใช้บริการที่พักตากอากาศในอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Kotler Philip and Gary Armstrong. (2003). Principles of Marketing. 9thed. Boston: McGraw-Hill, Inc.
Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice–Hall.
Oliver, R.L. (1997). Satisfaction : A Behavioral Perspective on the Consumer, McGrawHill.
Yamane, Taro.(1970).Statistics : An Introductory Analysis. 2d ed. ToKyo : John Weatherhill, Inc.