บทบาทของครอบครัวกับการดูแลแบบประคับประคอง เพื่อสุขภาวะระยะท้ายของชีวิต

Main Article Content

ปรารถนา ลังการ์พินธุ์

บทคัดย่อ

เป้าหมายของครอบครัว คือ การให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่กับครอบครัวได้นานที่สุด ส่วนเป้าหมายของทีมสหวิชาชีพ คือ การรักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บโดยมุ่งประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ แต่การเจ็บป่วยบางประเภทไม่สามารถรักษาให้หายได้และต้องเข้าสู่ระยะท้ายของชีวิตในที่สุด นอกจากผู้ป่วยแล้ว ครอบครัวและญาติของผู้ป่วยได้รับผลกระทบจากการเจ็บป่วยของผู้ที่เป็นที่รัก เมื่อมีการเสียชีวิตก็จะมีความเศร้าโศกจากการจากพราก การดูแลผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด นอกจากจะมุ่งให้ผู้ป่วยมีความไม่สุขสบายน้อยที่สุด ควบคุมอาการทุกข์ทรมาน และได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์แล้ว การดูแลเพื่อให้เข้าสู่ระยะท้ายของชีวิตมีความสำคัญยิ่ง เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี ครอบครัวของผู้ป่วยจึงต้องมีความรู้ด้านการดูแลแบบประคับประคองและการดูแลผู้ป่วยในระยะท้าย ซึ่งรวมไปถึงการดูแลสมาชิกครอบครัวของผู้ป่วยที่กำลังเผชิญกับความสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ทั้งนี้ การดูแลแบบประคับประคองเพื่อให้ผู้ป่วยมีความสุขในระยะท้ายของชีวิต ควรเริ่มต้นตั้งแต่ผู้ป่วยได้รับแจ้งข่าวร้ายว่าป่วยด้วยโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ตามแนวคิดใหม่การดูแลแบบประคับประคอง ครอบครัวจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ จิตสังคม จิตวิญญาณ และด้านกฎหมาย

Article Details

How to Cite
ลังการ์พินธุ์ ป. (2016). บทบาทของครอบครัวกับการดูแลแบบประคับประคอง เพื่อสุขภาวะระยะท้ายของชีวิต. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 26(1), 15–34. https://doi.org/10.14456/pyuj.2016.8
บท
บทความวิชาการ

References

ฉัตรวิไล วิบูลย์วิภา, แสงจันทร์ เกณทวี, พูนศรี แดนดี, ธฤตา ไพรทวีพงศ์. (2556). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองในโครงการพุทธรักษา งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี : โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์.

ทัศนีย์ เทศประสิทธิ์, พิมลรัตน์ พิมพ์ดี, ศศิพินท์ มงคลไชย, พวงพยอม จุลพันธ์ และยุพยงค์ พุฒธรรม. (2556). การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคอง ในผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรงพยาบาลประจำจังหวัดอุดรธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(1), 80-90.

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ .(2550). มาตรา 12

พรรณทิพา แก้วมาตย์, สอาด มุ่งสิน, จรูญศรี มีหนองหว้า, อุดมวรรณ,วันศรี, เยาวเรศ ประภาษานนท์, ญาณี แสงสาย, เพชรัตน์ เอิบบุญ. (2555). การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองของชุมชนในสังคมวัฒนธรรมอีสาน. อุบลราชธานี. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์.

มุกดา ยิ้มย่อง . (2556). การพัฒนาการจัดการหน่วยดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี. พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ลัดดาวัลย์ สิงห์คำฟู. (2556). เอกสารประกอบการบรรยาย “มิติคุณภาพเพื่อสู่ความเป็นเลิศในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง”. เชียงใหม่: โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่.

สมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย. (2555). ความเป็นมาของสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย, สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2558. http://www.thaps.or.th/

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ .(2557). แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต พ.ศ.2557-2559. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: สามดีพริ้นติ้งอีควิปเมนท์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานผลเบื้องต้น สำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพ : สำนักสถิติพยากรณ์

รัตนา พันธ์พานิช. (2557). เอกสารประกอบการบรรยาย “รู้และเข้าใจ Palliative Care. เชียงใหม่: โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่.

Kubler Ross, E. Five Stages of grief. (2012). November, 25. http://www.ekrfoundation.org/

World Health Organization. (1998). WHO Definition of Palliative Care. October 12. http://www.who.int/cancer/palliative/definition/en/