ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของบุคลากรสายวิชาการระดับอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม เพื่อทำการสอบถามความความคิดเห็นของสภาพความสมดุลของปัจจัยในงานและปัจจัยในชีวิตที่ส่งผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของบุคลากรสายวิชาการระดับอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือการหาค่าความถี่ การหาค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ระยะเวลาในการศึกษาวันที่ 2 มกราคม 2557 ถึง วันที่ 2 มกราคม 2558 ระยะเวลา 12 เดือน ผลการสำรวจระดับภาวะความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของบุคลากรสายวิชาการระดับอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่พบว่า ระดับภาวะสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานมีระดับความคิดเห็นระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.76 ระดับค่าเฉลี่ยภาวะสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน พบว่าเพศ สถานภาพสมรส การมีบุตรและบุคคลที่อยู่ในอุปการะ การมีบุตรที่กำลังศึกษา รูปแบบของคู่สมรส/หรือคู่ครอง ระดับ/ตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่งบริหาร ประเภทสถาบัน กลุ่มสายงานวิชาการ อายุการทำงาน การปฏิบัติงานนอกเวลาทำงานที่แตกต่างกัน ไม่มีส่งผลต่อระดับค่าเฉลี่ยสภาพความสมดุลของปัจจัยทรัพยากรในการทำงานและชีวิต นอกจากนั้น พบว่า อายุ และประเภทสายงานวิชาการที่แตกต่างกัน มีระดับค่าเฉลี่ยภาวะสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05
Article Details
References
คณาจารย์สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ. (2556). องค์การและการจัดการ.เชียงใหม่: สารภีการพิมพ์.
นงนุช อบสุวรรณ. (ม.ป.ป.). เฮย์กรุ๊ป เผยผลสำรวจล่าสุด “Work-Life Balance” ส่งผลต่ออัตราการลาออกของพนักงานทั่วโลก, สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2556. http://www.haygroup.com/th/press/Details.aspx?ID=37518
จุฑามาศ หนูบุตร. (2553). ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน กรณีศึกษาโรงพยาบาลวิภาวดี. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบันฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิศรุตา ทองแกมแก้ว. (ม.ป.ป.). Work-Life Balance: สมดุลชีวิตการทำงานภายใต้แนวคิดการจัดการความรู้, สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 255. http://human.skru.ac.th/vichkan.php
ศิรภัสสร วงศ์ทองดี. (2552). การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน (Work-Life balance/Work-life Effectiveness), สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2556. http://www.dla.go.th/work/kpinow/7ebook/pdf/2554/worklife.pdf
ศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). มหาวิทยาลัยของไทยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน, สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2556. http://www.nic.go.th/gsic/uploadfile/university-asean.pdf
สภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2552). การวิจัยคุณภาพชีวิตของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สุวิมล บัวผัน .(2554). สมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สารนิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัดิการมหาบันฑิต ภาควิชาสังคมสงเคราะห์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อมรรัตน์ แก้วทวี และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. (ม.ป.ป.). ความสัมพันธ์ระหว่างสมดุลชีวิตกับการทำงาน ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชนภาคใต้, สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2556. http://www.tcithaijo.org/index.php/CUNS/article/view/9731/8775
Mukhtar F. (2012). Work life balance and job satisfaction among faculty at Iowa State University, 2013, October 30. http://lib.dr.iastate.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=3798&context=etd
Noor M. K. (2011). Work-Life Balance and Intention to Leave among Academics in Malaysian Public Higher Education Institutions, 2013, November 30. http://ijbssnet.com/journals/Vol._2_No._11_[Special_Issue-June_2011]/34.pdf