แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการที่ใช้รถเข็นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

วิชุพรรณ ทินนบุตรา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการที่ใช้รถเข็นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนพิการที่ใช้รถเข็นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการที่ใช้รถเข็นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างคือคนพิการที่ใช้รถเข็น สัญชาติไทยอายุระหว่าง 18-50 ปี ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 400 คน


การวิจัยแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ


          1.    การวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและความต้องการความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นของคนพิการที่ใช้รถเข็นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล


          2.    การวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการสังเกตและบันทึกภาพที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการที่ใช้รถเข็นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการที่ใช้รถเข็น


เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วยแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการสังเกตและบันทึกภาพที่เกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการที่ใช้รถเข็นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 


ผลการวิจัยพบดังนี้


          1.    คุณภาพชีวิตของคนพิการที่ใช้รถเข็นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (n=400) ด้านร่างกาย = 2.98 ด้านจิตใจ  = 2.71 และด้านการสนับสนุนทางสังคมทุกด้าน ซึ่งประกอบด้วยด้านอารมณ์ = 2.95 ด้านข้อมูลข่าวสาร = 2.72 ด้านการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม  = 2.79 ด้านการยอมรับ = 2.71 และ ด้านสิ่งของและบริการ = 2.59 โดยภาพรวมมีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจ โดยภาพรวมมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับไม่ดี  = 2.49


          2.    ความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนพิการที่ใช้รถเข็นมีหลากหลาย ความต้องการที่สำคัญ 5 อันดับแรกคือ 1) ต้องการเบี้ยเลี้ยง – เบี้ยยังชีพเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.75 2) ต้องการให้รัฐสนับสนุนอาชีพ มีอาชีพเสริม และมีช่องทางทำมาหากินเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.75 3) ต้องการทางลาด ร้อยละ 10.75  4) ต้องการห้องสุขาสำหรับคนพิการเพิ่มมากขึ้นและมีความสะอาด ร้อยละ 8.5 และ 5) ต้องการผู้ดูแล, เจ้าหน้าที่ศูนย์, พี่เลี้ยง สำหรับคนพิการ ร้อยละ 7.5


          3.    แนวทางการพัฒนาเพื่อให้คุณภาพชีวิตของคนพิการที่ใช้รถเข็นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลดีขึ้นดังนี้: หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนควรให้ความสำคัญในเรื่องการรับรู้การมีโรคประจำตัว การมีอาชีพ การมีผู้ดูแล ความต้องการความช่วยเหลือของคนพิการ และการปรับปรุงข้อบกพร่องของสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการที่ใช้รถเข็นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลคือ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้เหมาะสมสำหรับคนพิการที่ใช้รถเข็น 1) ทางลาดมีการออกแบบที่ยังไม่เหมาะสำหรับคนพิการที่ใช้รถเข็น 2) พื้นถนนทางเดินเท้ามีความต่างระดับกันและไม่เรียบเป็นอุปสรรคต่อคนพิการที่ใช้รถเข็นเดินทาง 3) ป้ายรอรถประจำทางกับบันไดขึ้นลงของตัวรถประจำทางไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรถเข็นคนพิการ 4) อาคารเรียน ทางเดินเท้า สถานที่ต่างๆภายมหาวิทยาลัยยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอสำหรับคนพิการที่ใช้รถเข็น 5) ที่จอดรถสำหรับคนพิการที่ใช้รถเข็นยังมีข้อบกพร่องที่อาจเป็นอันตรายต่อคนพิการ 6) สถานีรถไฟฟ้า บางสถานีย่อยไม่มีลิฟต์สำหรับคนพิการเพื่อขึ้นรถไฟฟ้า จะมีลิฟต์ให้บริการเฉพาะสถานีหลักๆ เท่านั้น 7) สถานที่ราชการส่วนมากยังไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้คนพิการที่ใช้รถเข็นสามารถเข้าไปใช้บริการได้

Article Details

How to Cite
ทินนบุตรา ว. (2016). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการที่ใช้รถเข็นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 26(1), 207–232. https://doi.org/10.14456/pyuj.2016.14
บท
บทความวิจัย

References

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ครองช่าง.

คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 2. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2558. http://www.m-society.go.th/

คณะรัฐมนตรี. แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคคลพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2555 – 2559. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2558.http://www.thaigov.go.th/

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม. (2557). การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2555 - 2559 (ระยะครึ่งแผนแรก).เสนอสำนักงานส่งเสริม

และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2558.

โครงการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติฉบับที่ 4 พ.ศ. 2555- 2559. จำนวนและร้อยละของบุคคลพิการ จำแนกตามเพศ เขตการปกครองและภาค พ.ศ.2550, สืบค้น เมื่อ 3 ธันวาคม 2557. http://www.openbase.in.th /node/

นิตยสารสร้างสุข.(2558). ฉบับที่ 163. พฤษภาคม, สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2558.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์.

ปกรณ์ วชิรัคกุล. (2541). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการในจังหวัดพิษณุโลก. ขอนแก่น: วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ยศพล เหลืองโสมนภา และคณะ .(2554). คุณภาพชีวิต ปัญหา และความต้องการของผู้พิการ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า .ปีที่ 28 ฉบับที่ 2 เม.ย. - มิ.ย.

สิทธิ รัตนราษี. (2547). ความสัมพัธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนทาง สังคมกับวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาระดับอาชีวะเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Curran, A. L., Sharples, P. M., White, C., and Knapp, M. (2001). “Time cost of caring for children with severe disabilities compared with caring for children without disabilities.” Developmental Medicine & Child Neurology. Mac Keith Press.

Maslow, A. H. ทฤษฏีความต้องการพื้นฐาน, November 20. http://www.slideshare.net/ siririnnoiphang/ss-38536634