ศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เมื่อสังคมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาตามลักษณะพื้นฐาน ได้แก่ เพศ หลักสูตรการศึกษา การประกอบกิจการของครอบครัว รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน และประสบการณ์การทำงานระหว่างกำลังศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2558 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 200 คน โดยใช้สถิติเชิงปริมาณในการวิจัย (Quantitative Research) และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการเมื่อสังคมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยของศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการ พบว่า นักศึกษามีคุณลักษณะ ทัศนคติ บรรทัดฐานทางสังคม และการรับรู้ความเป็นไปได้ในการเป็นผู้ประกอบการอยู่ในระดับสูง แต่มีความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการอยู่ในระดับปานกลาง 2) นักศึกษาที่มีเพศ หลักสูตรการศึกษา และการประกอบกิจการของครอบครัวแตกต่างกันมีศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนนักศึกษาที่มีรายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือนและประสบการณ์การทำงานระหว่างกำลังศึกษาแตกต่างกันมีศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการไม่แตกต่างกัน และ 3) ตัวแปรหลักสูตรการศึกษาและตัวแปรการประกอบกิจการของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
กระทรวงพาณิชย์. (2554). ยุทธศาสตร์แผนแม่บทกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2555-2564. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม, 2558, จาก www2.moc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5990
กฤษติญา มูลศรี และ ดอกอ้อ ขวัญนิน. (2549). งานวิจัยเรื่องรูปแบบการพัฒนานักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ สู่การเป็นผู้ประกอบการ. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.
กัลยา วานิชย์บัญชา.(2555). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. โรงพิมพ์ธรรมสาร. กรุงเทพมหานคร.
เกศินี จุฑาวิจิตร. (2552). ศักยภาพและความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ 2551. รายงานการวิจัย คณะวิทยาการจัดการและกองพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2547). ศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย. รายงานการวิจัย ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิศรา จันทร์เจริญสุข. (2542). ทัศนคติที่มีต่อการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาคณะวิชาบริหารธุรกิจสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญชุม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีรสาส์น จำกัด.
บุณฑวรรณ วิงวอน. (2556). การเป็นผู้ประกอบการยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประจักษ์ ปฏิทัศน์ นิพา ศรีวะรมย์ และ วรกมล วิเศษศรี. (2556). สมรรถนะความเป็นผู้ประกอบการกับการเตรียมความพร้อมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
พีธะกัญญ์ สุขโพธารมณ์. (2555). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและนักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม, 2558, จาก file:///C:/Users/asuspn73-cm/Downloads/1040%20(4).pdf
มนทกานต์ เมฆรา. (2546). ปัจจัยที่พยากรณ์ความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมพร ปานยินดีและ โสภิดา ทะสังขา. (2551). ลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11.สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม, 2558, จาก http://www.nesdb.go.th/Portals/0/ news/plan/p11/plan11.pdf.
สุรเชษฐ์ เกตุขาว.(2550). ลักษณะความเป็นผู้ประกอบการของนิสิตโครงการปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจภาคค่ำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. การค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
องค์ความรู้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (2555). ประวัติความเป็นมาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม, 2558, จาก http://www.thaiaec.com
อัฏฐพล เขื่อนคำ .(2548). คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการและความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Ajzen, I. (1988). Attitudes, Personality, and Behavior. Chicago: The Dorsey Press.