การศึกษาศักยภาพของมัคคุเทศก์ในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อัจฉรา นิยม
พิชาภพ พันธุ์แพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของมัคคุเทศก์ 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาและผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นมัคคุเทศก์ไทยจำนวน 360 คน ที่ทำงานในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเชียงใหม่โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน คือสถิติ T-test และ  F-test  ผลการวิจัยพบว่า  มัคคุเทศก์ให้ความสำคัญของศักยภาพด้านคุณลักษณะในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด กล่าวคือการมีความตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ของตนตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความรับผิดชอบและคำนึงถึงประโยชน์ของนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ มีทัศนคติที่ดีต่อนักท่องเที่ยว พัฒนาตนเองให้มีคุณธรรม จริยธรรม  ส่วนด้านปัญหาและผลกระทบต่อการปฏิบัติงานพบว่าอยู่ในระดับมาก กล่าวคือ ปัญหาเกี่ยวกับพาหนะในการเดินทาง ปัญหานักท่องเที่ยวไม่พอใจการบริการและสถานที่พัก รวมถึงปัญหาไกด์เถื่อน  และมัคคุเทศก์ให้ความสำคัญของศักยภาพด้านความรู้อยู่ในระดับมาก กล่าวคือ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลป์วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และวิถีชีวิตของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี  มัคคุเทศก์ให้ความสำคัญของศักยภาพด้านทักษะอยู่ในระดับมาก กล่าวคือ ทักษะด้านการพูด และปฏิบัติงานที่มีมาตรฐานเป็นมืออาชีพ ทักษะด้านการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้กับนักท่องเที่ยว ทักษะที่มีความสำคัญในระดับปานกลางได้แก่ ทักษะด้านภาษาในการเขียนสื่อสารเพราะเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องเขียนเพื่อการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวมากเท่ากับการพูด

Article Details

How to Cite
นิยม อ., & พันธุ์แพ พ. (2018). การศึกษาศักยภาพของมัคคุเทศก์ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 26(1), 255–276. https://doi.org/10.14456/pyuj.2016.5
บท
บทความวิจัย

References

ชนิดา เอี่ยมอมรนิพิจ.(2553). “พฤติกรรมการท่องเที่ยวเกาะช้างจังหวัดตราดของนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพมหานคร” คณะศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชวิศร์ อรรถสาสน์, สิทธิโชค เลิศธีรดา และกรองแก้ว พู่พิทยาสถาพร. (2553). “แนวทางการพัฒนามัคคุเทศก์เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” สาขาวิชาการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชัยยุทธ กุลตังวัฒนา และคณะ. (2547). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมจริยธรรมในการบริการของมัคคุเทศก์ไทย ทุนอุดหนุนการวิจัยประเภทการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิติ ฐิติจำเริญพร. (2550). มัคคุเทศก์ Tourist guide .สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ.

ธารพรรษ สัตยารักษ์. (2548). หลักการและมุมมองจากมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: งาน ดี.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2549). หลักการมัคคุเทศก์ Principle of tourist guide กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือท่องเที่ยวไทย.

บุษบา สุธีธร, และภัสวลี นิติเกษตรสุนทร. (2541).“เจตคติและความประทับใจของชาวต่างประเทศที่ได้มาเยี่ยมประเทศไทย” สาขาวิชานิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

พรนิภา บรรจงมณี. (2533). “การใช้ภาษาอังกฤษของมัคคุเทศก์ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย” มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพครั้งที่7). กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิทยะ ศรีวัฒนสาร. (2553). วิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

พิมพิมล พลเวียง. (2543). ศักยภาพและผลในการดำเนินงานพัฒนาระบบการบริหารงานของสถานสงเคราะห์เด็กในสังกัดกรมประชาสงเคราะห์ คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์

วรรณา ศิลปอาชา. (2545). การจัดการทรัยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

สมพันธ์ เตชะอธิก และคณะ. (2540). “การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์ชาวบ้าน” สถาบันวิจัยและพัฒนา. ขอนแก่น : เจริญวิทย์การพิมพ์.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย COMPETENCY BASED LEARNING. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

สุจิตรา ธนานันท์. (2552). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : ทีพีเอ็นเพรส.

สุภาพร สุกสีเหลือง, ไสว รักษาชาติ และชวิศร์ อรรถสาสน์. (2552). แนวทางการพัฒนาศักยภาพ มัคคุเทศก์ทั่วไปอิสระเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.บริษัท ดีทแฮล์ม แทรเวิล ประเทศไทย

อรจนา จันทรประยูร และคณะ. (2554). “การพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ในพื้นที่ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่” คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัย แม่โจ้.

อรรยา สิงห์สงบ, สุชาดา เจริญพันธุ์ศิริกุล และใจรัก เอื้อชูเกียรติ. (2556). (หน่วยที่ 7). กฎหมายและจรรยาบรรณเกี่ยวกับการท่องเที่ยว/ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (หน้า7-67,68). (พิมพ์ครั้งที่ 6/2556).เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์และการจัดการธุรกิจตัวแทนท่องเที่ยว สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อัญชุลี นิลสนธิ, ชัยโรจน์ สายพันธ์ และเทเวศร์ พิริยะพฤนท์. (2549). “คุณลักษณะที่เป็นจริงและที่คาดหวังของมัคคุเทศก์ในความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ กรณีศึกษาวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง” บัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการนันทนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Alister Mathieson and Geoffrey Wall. (1982). Tourism: economic, physical, and social impacts. London ; New York : Longman, 1982.

Haiyan Kong, Catherine Cheung & Tom Baum. (2009). “Are Tour Guides in China Ready for the Booming Tourism Industry?” Hong Kong Polytechnic University and University of Strathclyde, Scotland UK.

Holloway, C., & Taylor, N. (2009). The business of tourism. Harlow: FT Prentice Hall.