นิติศาสตร์ไทย: บทวิเคราะห์จากรากฐานในคัมภีร์มานวธรรมศาสตร์ และคัมภีร์พระธรรมศาสตร์

Main Article Content

ดิเรก ควรสมาคม

บทคัดย่อ

การศึกษาประวัติศาสตร์ของกฎหมายไทยในอดีต ทำให้ทราบว่า ที่มาของกฎหมาย ได้แก่ คัมภีร์มานวธรรมศาสตร์กับคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ถือเป็นกฎหมายแม่บทที่ให้อำนาจกษัตริย์ในการปกครอง ในการออกกฎหมาย การตัดสินคดี กระบวนการยุติธรรม ตลอดจนระบบชนชั้นของสังคม เหล่านี้คือผลของแนวคิดที่มาจากคัมภีร์ทั้งสอง อย่างไรก็ตาม ในรายละเอียดของแนวคิดและหลักการตลอดจนความแตกต่างของคัมภีร์ทั้งสองดังกล่าว ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ คือ ต้นกำเนิดที่ทำให้เกิดแนวคิดต่าง ๆ ดังกล่าวนี้มีที่มาจากแนวคิดหรือหลักการใดของคัมภีร์ทั้งสองดังกล่าว การศึกษารายละเอียดของแนวคิดและหลักการตลอดจนความแตกต่างของคัมภีร์มานวธรรมศาสตร์กับคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ รวมทั้งการทำความเข้าใจถึงเนื้อหาสาระของคัมภีร์ทั้งสอง จะทำให้เกิดความเข้าใจต่อระบบกฎหมายไทยในอดีตจนถึงปัจจุบันได้ชัดเจนมากขึ้น  ในบทความนี้มุ่งนำเสนอผลการค้นคว้าและวิเคราะห์ถึงสาระและความแตกต่างของคัมภีร์ทั้งสองผ่านศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา โดยมีการโยงมายังตัวบทกฎหมายในอดีตจนถึงปัจจุบันของไทย เพื่อเสริมสร้างและขยายพรมแดนของความคิดทางนิติศาสตร์ไทยในอีกทางหนึ่ง

Article Details

How to Cite
ควรสมาคม ด. (2018). นิติศาสตร์ไทย: บทวิเคราะห์จากรากฐานในคัมภีร์มานวธรรมศาสตร์ และคัมภีร์พระธรรมศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 25(2), 1–16. https://doi.org/10.14456/pyuj.2015.12
บท
บทความวิชาการ

References

ชาคริต อนันทราวัน. (2556). ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญณรงค์ บุญหนุน. (2548). พระธรรมศาสตร์ใน นีติปรัชญาไทย. มปท.

ดิเรก ควรสมาคม. (2557). กฎหมายมหาชนแนวประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ทวีศักดิ์ ญาณประทีป. (2518). วรรณกรรมศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประยงค์ แสนบุราณ. (2547). ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ร แลงกานต์. (2553). ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และวิกัลย์ พงษ์พนิตานนท์ บรรณาธิการ) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2528). เล่าเรื่องให้โยมฟัง ชุด 1 ตอนที่ 10 (เทปบันทึกเสียง). นครปฐม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). พัฒนาสังคมไทยด้วยความรู้เข้าใจไตรภูมิ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

ฟื้น ดอกบัว. (2545). ปวงปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.

วินัย พงษ์ศรีเพียร. (2547). ความสำคัญของกฎหมายตราสามดวง: แว่นส่องสังคมไทย.สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) กรุงเทพฯ: เฟื้องฟ้า.

แสวง บุญเฉลิมวิภาส .(2554). ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.