การพัฒนาลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ประกอบการ: กรณีศึกษาบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Main Article Content

ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์
ภัทราจิตร แสงสว่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ประกอบการที่มีต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชี รวมทั้งศึกษาความแตกต่างเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกบัณฑิตของสถานประกอบการ โดยจำแนกตามปัจจัยในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการในเขตจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด นครพนมและศรีสะเกษ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 95 หน่วยงาน โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน


ผลการศึกษา พบว่า ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจเอกชนประเภทซื้อมาขายไปและหน่วยงานของรัฐ จะให้ความสำคัญมากที่สุดกับบัณฑิตที่มีคุณวุฒิด้านคุณธรรมจริยธรรม  หากพิจารณาจำนวนทุนจดทะเบียนจะพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 15 ล้านบาท จะให้ความสำคัญมากที่สุดกับบัณฑิตที่มีคุณวุฒิด้านทักษะทางปัญญา เพราะต้องการทีมงานที่มีอยู่จำนวนไม่มากนักแต่ต้องมีคุณภาพเพื่อมาช่วยกันพัฒนาองค์กร นอกจากนี้ผู้ประกอบการขององค์กรขนาดเล็กที่มีจำนวนพนักงานน้อยกว่า 100 คนจะให้ความสำคัญมากที่สุดกับบัณฑิตที่มีคุณวุฒิด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ โดยมุ่งเน้นความสำเร็จของงานและใช้ทั้งทักษะการทำงาน ความสามารถเฉพาะตัวและความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน ในขณะที่ผู้ประกอบการขององค์กรขนาดใหญ่ที่มีจำนวนพนักงานมากกว่า 200 คนขึ้นไป จะให้ความสำคัญมากที่สุดกับบัณฑิตที่มีคุณวุฒิด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อย่างไรก็ตาม สำหรับองค์กรขนาดกลางที่มีจำนวนพนักงานอยู่ระหว่าง 100 – 200 คน จะให้ความสำคัญมากที่สุดกับบัณฑิตที่มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีมและมีความสัมพันธ์ที่ดีในการปฏิบัติงานในองค์กร เช่น การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

Article Details

How to Cite
เจนศิริศักดิ์ ศ., & แสงสว่าง ภ. (2018). การพัฒนาลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ประกอบการ: กรณีศึกษาบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 25(2), 17–36. https://doi.org/10.14456/pyuj.2015.10
บท
บทความวิจัย

References

กฤติยา ฐานุวรภัทร์. (2555). ศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สำหรับสถานประกอบการ กรณีศึกษาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร คณะสังคมศาสตร์และศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.

จอมขวัญ สุวรรณรักษ์, วรรณภา หวังนิพานโต และณนนท์ แดงสังวาล ฉวีวรรณ แจ้งเกิด. (2554). คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

นัฐชา วัฒนวิล และจุทามน สิทธิผลวนิชกุล. (2555). การพัฒนาศักยภาพวิชาชีพบัญชีไทยเมื่อเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ. วารสารนักบริหาร 32 (ต.ค. - ก.ย. 2555), 16-25.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2532). สถิติวิจัย I. กรุงเทพมหานคร: พิชาญเพรส.

ประจักษ์ สุวรรณภักดี. (2532). แรงจูงใจในการทำงานของข้าราชการไทยศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการกรมการปกครองในส่วนกลาง. กรุงเทพมหานคร: กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย.

พรนพ พุกกะพันธ์. (2546). จริยธรรมธุรกิจยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.

ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์และภัทราจิตร แสงสว่าง. (2557). ความต้องการของผู้ประกอบการที่มีต่อ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต และคุณลักษณะบัฑิตที่พึงประสงค์ กรณีศึกษา ผู้ประกอบการ ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด นครพนมและศรีสะเกษ. การประชุมวิชาการระดับชาติหาดใหญ่ครั้งที่ 6. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์ และวริญญา ชูราษี. (2552). ความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2550. การประชุมวิชาการระดับชาติ ศาสตร์ด้านการบริหารและการจัดการทรัพยากร. อุบลราชธานี: คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สมชาติ กิจยรรยง. (2548). พัฒนาคน พัฒนางาน การบริหารบุคคลสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดอกหญ้ากรุ๊ป.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา มปป. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. (10 December 2012). เข้าถึงได้จาก http://bolg.spu.ac.th/quality/2009/09/26/entry-1

สุวะณา ศิลปารัตน์. (2551). การศึกษาความต้องการของผู้ประกอบการในสถานประกอบการที่มีต่อนักศึกษาฝึกงาน สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.

B. Cushway. (2011). An Essential Guide to Employment. New York : The Management of Human Resources .