ความคาดหวังของผู้ประกอบการต่อการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับ อนุญาตแห่งประเทศไทย: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียน ในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทักษะการปฏิบัติงานกับผลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ผู้ประกอบการคาดหวัง ในจังหวัดอุบลราชธานีและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังของผู้ประกอบการในจังหวัดอุบลราชธานีต่อทักษะการปฏิบัติงานกับผลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการ บริษัทจดทะเบียน ในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 145 บริษัท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression)
ผลการวิจัยพบว่า ทักษะในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ด้านวิชาการ มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงสุดในเรื่องความสามารถใช้เทคนิควิธีการในการปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างถูกต้อง (X̅ = 4.26, SD = 0.741) ด้านมนุษยสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงสุดในเรื่องการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคนในองค์กร (X̅ = 4.06, SD = 0.906) ด้านกระบวนการคิด มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงสุดในเรื่องมีความรู้ความสามารถวินิจฉัยและประเมินปัญหาเพื่อให้กิจการบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (X̅ = 4.09, SD = 0.857) และผลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตด้านผลการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงสุดในเรื่องแสดงความคิดเห็นต่อรายงานทางบัญชีได้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (X̅ = 4.31, SD = 0.583) และเรื่องการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างถูกต้อง (X̅ = 4.31, SD = 0.718) ด้านวิธีที่ใช้ปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงสุดในเรื่องการนำเสนอและจัดส่งงบการเงินได้ตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด (X̅ = 4.31, SD = 0.758) ทักษะในการปฏิบัติงาน ด้านกระบวนการคิด มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานโดยรวม ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ทักษะการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานตามความคาดหวังของผู้ประกอบการในจังหวัดอุบลราชธานี ผลลัพธ์ ที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาศักยภาพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เพื่อให้เกิดทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ผลการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
บุญช่วง ศรีธรราษฎร์, ไพรัช พรพันธ์เดชวิทยา และศรีรุ่งรัตน์ สุดสมบูรณ์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชี่ยวชาญการสอบบัญชีกับคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการฉบับพิเศษ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เปรมกมล เศรษฐีกุล. (2554). การวัดทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชีในกลุ่มสหกรณ์การเกษตรในเขตสำนักงานตรวจสอบบัญชีที่7. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต เชียงใหม่: หาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศศิธร ภูสีฤทธิ์, ญาณินท์ ตั้งภิญโญพุฒิคุณและศุทธินี ปราชญ์ศรีภูมิ.(2556). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สงกรานต์ ไกยวงษ์. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะความเป็นมืออาชีพของนักวิชาชีพบัญชีไทยในบริบทของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้สอบภาษีอากร. วารสารการบัญชี, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อลงกรณ์ มีสุทธา และสมิต สัชฌุกร. (2542). การประเมินผลการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญีปุ่น).
อันธิกา สังข์เกื้อ. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการสำนักงานสอบบัญชีของบริษัทจำกัดในเขตกรุงเทพมหานคร. งานวิจัยตามหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Katz, R.L. (1955). Skills of and effective administrator. Harvard Business Review. (January-February).